บรรณารักษ์ขอบอก : การเดินทางของหนังสือ 1 เล่มในห้องสมุด

นานๆ ทีจะเอาเรื่องราวการทำงานส่วนตัวมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้เลยขอเอาเรื่องราวแบบเบาๆ ที่อ่านได้ทั้งคนที่ทำงานบรรณารักษ์ คนทำงานห้องสมุด คนที่สนใจด้านห้องสมุด และคนทั่วๆ ไปในฐานะคนใช้บริการห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าอ่านได้ทุกคน

กว่าหนังสือ 1 เล่มจะเข้ามาที่ห้องสมุด ขึ้นไปอยู่บนชั้นหนังสือ และถูกนำออกจากห้องสมุด เพื่อนๆ รู้หรือเปล่าว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง

ผู้บริหารบางคน ผู้ใช้บริการบางคน คิดง่ายๆ ว่า การทำห้องสมุดเป็นเรื่องง่าย แค่ซื้อหนังสือแล้วเอาไปวางไว้บนชั้นก็เป็นห้องสมุดได้แล้ว วันนี้เรามาลองคิดกันใหม่นะครับ

ก่อนอื่นผมต้องบอกก่อนว่าผมขอแยกหนังสือออกเป็น
1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่
2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ
3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ
4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ

หนังสือทั้ง 4 แบบมีเส้นทางการเดินทางต่างกัน เดี๋ยวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
(ผมขอเล่าเป็นภาพแล้วกันนะครับ)

1. หนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อมาใหม่


1.1 กระบวนการจัดซื้อจัดหา
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือที่ห้องสมุดต้องการ (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการจัดซื้อ + ตรวจสอบรายชื่อหนังสือซ้ำกับห้องสมุด
– ดำเนินการสั่งซื้อ กระบวนการส่งของ กระบวนการตรวจรับ
1.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
1.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
1.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
1.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

2. หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์ในโอกาสต่างๆ


2.1 กระบวนการจัดทำเนื้อหาและจัดพิมพ์
– กำหนดกรอบเนื้อหาของหนังสือ ตั้งโครงร่างของเนื้อหา (อาจทำร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ)
– เขียนเนื้อหา เรียบเรียงข้อมูล ใส่ภาพประกอบ
– ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
– ออกแบบและจัดหน้า วาง lay out ออกแบบกราฟิค
– พิสูจน์อักษร ตรวจเรื่องสี
– จัดพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ
2.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
2.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– นำเข้าภาพหน้าปกจากไฟล์อิเล็คทรอนิคส์
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
2.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
– นำเล่มที่สมบูรณ์มาเปลี่ยน (หนังสือที่ห้องสมุดจัดพิมพ์สามารถเก็บในชั้นปิดได้กรณีมีจำนวนมาก)
– ซ่อมแซม (กรณีที่หนังสือมีจำนวนจำกัด)
2.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

3. หนังสือที่ห้องสมุดขออภินันทนาการจากหน่วยงานอื่นๆ


3.1 กระบวนการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่ต้องการขอรับหนังสืออภินันทนาการ
– รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ต้องการขอรับอภินันทนาการ
– ทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานเจ้าของหนังสือ
– เมื่อได้รับหนังสืออภินันทนาการแล้วต้องทำหนังสือขอบคุณตอบกลับ
3.2 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
3.3 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
3.4 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
3.5 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

4. หนังสือที่ได้รับบริจาคจากคน/หน่วยงานอื่นๆ


4.1 กระบวนการลงทะเบียนหนังสือรับบริจาค
– กรอกข้อมูลผู้บริจาคหนังสือพร้อมรายชื่อหนังสือที่ได้รับบริจาค
4.2 กระบวนการคัดสรรหนังสือ
– คัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมกับห้องสมุดเพื่อดำเนินการต่อไป หนังสือที่ไม่เหมาะสมก็เก็บไว้เพื่อรอจำหน่ายออกภายหลัง
– คัดเลือกหนังสือที่ต้องซ่อมแซมเพื่อดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
4.3 กระบวนการลงรายการในฐานข้อมูลห้องสมุด
– คีย์ข้อมูลรายการบรรณานุกรมลงในฐานข้อมูลห้องสมุด
– กำหนดเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ให้หัวเรื่อง
– เพิ่มรายการตัวเล่ม (Add item)
4.4 กระบวนการเตรียมตัวเล่มเพื่อให้บริการ
– ประทับตรา ติดสัน ติดบาร์โค้ต ติดแถบแม่เหล็ก ห่อปก
– สแกนปกหน้า ปกหลัง ข้อมูลตัวเล่ม สารบัญ
– นำขึ้นชั้นหนังสือเพื่อให้บริการ
4.5 กระบวนการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
4.6 กระบวนการคัดออก (กรณีที่หนังสือชำรุดจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ หรือ เนื้อหาไม่ทันสมัย)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นภาพแบบกว้างๆ นะครับ ผมเชื่อว่าห้องสมุดบางแห่งก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ หรือบางห้องสมุดอาจจะมีวิธีการจัดการที่ดีกว่านี้ เอาเป็นว่าก็เอามาแชร์กันอ่านบ้างนะครับ และพร้อมรับฟังความเห็นและวิธีการของทุกท่านเช่นกัน ร่วมกันแชร์แนวทางเพื่อการพัฒนาห้องสมุดที่ยั่งยืนนะครับ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*