ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน

21st century skill for librarian

เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย

[slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02]

วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube]

เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป

เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป

21st Century Skills

วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject)
– ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา
– ภาษาที่สำคัญของโลก
– ศิลปะ
– คณิตศาสตร์
– เศรษฐศาสตร์
– วิทยาศาสตร์
– ภูมิศาสตร์
– ประวัติศาสตร์
– การปกครองและหน้าที่พลเมือง

แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES)
– จิตสำนึกต่อโลก
– ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง
– ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ
– ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม

ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่ 21 มีอยู่ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีดังนี้
– ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน

2. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี มีดังนี้
– ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ
– ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ
– ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ทักษะชีวิตและการทำงาน  มีดังนี้
– ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
– ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง
– ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม
– การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด
– ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ

ทุกสิ่งจะสำเร็จได้ด้วยระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย
– มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้ยังมีสูตรที่ถูกคิดออกมาเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกตัวคือ 3Rs 4Cs ซึ่งประกอบด้วย
3Rs มาจาก
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic การคำนวณ

4Cs มาจาก
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์ Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

เรื่องของแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ การตอบสนองความต้องการทางประสบการณ์ของผู้เรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนรู้ในยุคใหม่สนใจแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดสิ่งต่างๆได้

คำถามหลักของการนำเสนอของวงการต่างๆ “อะไรคือสิ่งที่เรากำลังนำเสนอ ?”
Starbucks นำเสนอ สถานที่ที่อยู่ระหว่างบ้านกับที่ทำงาน
Apple นำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ปลดปล่อยศักยภาพของมนุษย์
บริษัทเงินทุน นำเสนอ หนทางในการไปสู่อิสระภาพทางการเงิน
แล้วโรงเรียน – ห้องสมุด – แหล่งเรียนรู้ กำลังนำเสนออะไร…. ทิ้งไว้ให้คิดนะครับ

แนวคิดในโลกมีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ และแนวคิดที่ควรรู้ดังนี้
– Long Tail
– Free economy
– Critical Mass
– Wikinomic
– Socialnomic
– Crowdsourcing

คุณครูและบรรณารักษ์ยุคใหม่กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จริงๆ แล้วแนวคิดก็คล้ายๆ กัน คือ เน้นเรื่องเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ และการทำงานเป็นเครือข่าย

สุดท้ายแนะนำให้อ่านหนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21

Picture2

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปที่ผมบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” นะครับ ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*