8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่าน บล็อก mentalfloss แล้วเจอบทความนึงที่น่าสนใจมาก ซึ่งผมเองก็หาเรื่องแบบนี้มานานแล้ว ปกติพอพูดถึงห้องสมุดสุดอลังการ หลายคนจะนึกถึงห้องสมุดแถบยุโรปหรือไม่ก็แถบอเมริกาไปเลย ซึ่งจริงๆ แล้วในเอเซียเองก็มีห้องสมุดที่น่าสนใจมากมายนะครับ เอาเป็นว่าลองไปดูกันดีกว่าครับ

8 incredible libraries asia

8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย มีที่ไหนบ้างน้า…
1) David Sassoon Library, India
2) Raza Library, India
3) The National Library of China
4) The Tianyi Pavilion Library, China
5) National Library of Bhutan
6) Grand People’s Study House, North Korea
7) Nakanoshima Library, Japan
8) Beitou Library, Taiwan

ห้องสมุดทั้งแปดแห่งนี้มาจาก 6 ประเทศด้วยกัน คือ อินเดีย, จีน, ภูฎาน, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น และไต้หวัน
ห้องสมุดที่อยู่ใน list ที่ผมอยากไปมีอยู่ 3 แห่งครับ คือ
– National Library of Bhutan (ความอลังการที่น่าดึงดูดใจ)
– Grand People’s Study House, North Korea (เข้าประเทศนี้ได้ยากมาก แต่ก็อยากเห็น)
– Beitou Library, Taiwan (ห้องสมุดสีเขียวที่ผมอยากเห็นมานานแล้ว)

เอาหล่ะครับไปชมภาพของห้องสมุดทั้ง 8 แห่งดีกว่าครับ

1) David Sassoon Library, India
lib1

Images courtesy of Flickr users bookchen

2) Raza Library, India
lib2
3) The National Library of China
lib3

Image courtesy of  Flickr user Dennis Deng.

4) The Tianyi Pavilion Library, China
lib4

Images courtesy of What’s On Ningbo.

5) National Library of Bhutan
lib5

Image courtesy of Wikipedia user Christopher J. Flynn

6) Grand People’s Study House, North Korea
lib6

Images courtesy of Flickr users John Pavelka

7) Nakanoshima Library, Japan
lib7

Image courtesy Flickr users hetgallery

8) Beitou Library, Taiwan
lib8

Images courtesy of Flickr user JAQ’s PhotoStorage

เอาเป็นว่าน่าสนใจทั้งแปดแห่งเลยมั้ยครับ ถ้ามีโอกาสในชีวิตนี้ผมจะต้องไปเยี่ยมเยียนห้องสมุดเหล่านี้ให้ได้
และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมสัญญาว่าจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เห็นและรู้จักห้องสมุดเหล่านี้มากขึ้นแน่

ที่มาของข้อมูลและภาพจาก http://mentalfloss.com/article/30982/8-incredible-libraries-asia
สรุป แปลและเรียบเรียงโดย Ylibraryhub

การอบรม สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย

วันนี้มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอบรมที่น่าสนใจมาบอกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน การอบรมนี้มีชื่อว่า “สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย” วิทยากรมาจากประเทศญี่ปุ่นเลยด้วยครับ การอบรมนี้ จัดโดย กลุ่มเมล็ดฝัน

storyteller

รายละเอียดการอบรมเบื้องต้น
ชื่อการอบรม : สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย
วิทยากร : MS. Keiko Kato
สถานที่จัดงาน : อาคารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ ซ.ทองหล่อ 25
วันที่จัด : วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00-16.00 น.
จัดโดย : ศูนย์แลกเปลี่ยนและอบรมเพื่อเด็ก “เมล็ดฝัน”

กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับหนังสือภาพ และการทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย โดยเฉพาะบรรณารักษ์ หรือคุณครูที่ทำงานในห้องสมุดโรงเรียน ผมว่าเป็ฯโอกาสที่ดีนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรที่มาจากเมืองนอกในการบรรยายเรื่องนี้ แถมวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือภาพจากประเทศญี่ปุ่นด้วย

เอางี้ดีกว่ามารู้จักวิทยากรกันก่อนนะครับ
MS. Keiko Kato – วิทยากรอิสระ ที่เป็นที่นิยมในการจัดอบรม ได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์หนังสือภาพ อนุบาล ศูนย์เด็ก ห้องสมุดในภาคคันไซ จัดอบรมหรือเสวนาให้กับหน่วยงานต่างๆ กว่า 100 ครั้ง / ปี

โห แค่ประวัติแบบย่อๆ ก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

งานนี้มีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ แค่ 650 บาท เท่านั้น (อาหารว่าง อาหารกลางวัน และอุปกรณ์ผลิตสื่อ)
แถมด้วยประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้ารับอบรมด้วย นอกจากนี้ยังมีล่ามแปลตลอดงานครับ

หากสนใจก็สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 นะครับ (รับไม่เกิน 50 คน)
สอบถามได้ที่ 087-8287686 นะครับ หรือที่ https://www.facebook.com/MaletFan นะครับ

สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฉบับคุณครูบรรณารักษ์

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค. 56) ผมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ให้มาบรรยายในหัวข้อบรรณารักษ์ยุคใหม่ หัวใจนักพัฒนา เรื่อง “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่รอขึ้นเครื่องกลับ กทม มีเวลาว่างพอสมควร จึงขอสรุปข้อมูลจากการบรรยายมาให้อ่านครับ

21st century skill for librarian

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักจัดการความรู้อาวุโส สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

สไลด์ที่ใช้บรรยายFuture skill for 21st century skill librarian version

[slideshare id=24173944&doc=futureskillfor21stcenturyskilllibrarianversion-130712072653-phpapp02]

หัวข้อที่ผมบรรยายในวันนี้ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
–  แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
–  หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้
–  รู้จักโลก – กระแสสังคม
– ไอซีทีเพื่อการศึกษา
– ความคิดสร้างสรรค์
– สื่อสังคมออนไลน์
– เครือข่ายสังคมออนไลน์

เนื้อหาโดยสรุป “สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”

1. แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่มาของทักษะแห่งอนาคต มาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21) (Partnership for 21st Century Skills) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่าง บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยกำหนดกรอบแนวความคิดออกมาดังนี้

– แกนวิชาหลัก และธีมหลักของศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุม
– ทักษะ 3 อย่างที่เด็กควรจะมี ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้แนวความคิดหลักอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ TEACH LESS, LEARN MORE คือ สอนน้อยๆ แต่ให้เด็กเรียนรู้มากๆ

นอกจากนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง PBL – Problem based Learning (กระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา)

การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หา ความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง (ที่มาจาก ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

2. หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้

3Rs มาจาก

Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic คณิตศาสตร์

และ 4Cs มาจาก

Critical Thinking การคิดวิเคราะห์
Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

3. รู้จักโลก – กระแสสังคม — โลกไม่ได้กลมเหมือนที่เราคิดแล้ว มันแบนลงจริงๆ ตามอ่านหนังสือเรื่อง The world is flat ต่อนะ

10 เหตุการณ์ที่ทำให้โลกแบน (ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/308285 (อ.แอมมี่))

1. วันที่ 9 พ.ย. 1989 กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มโลกไร้พรมแดน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน โปรแกรม Windows 3.0 เริ่มวางตลาด
2. บริษัท Netscape เข้าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งทำให้เกิดสิ่งสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1)browser 2)www 3)dot com
3. การที่มีมาตรฐานและการเชื่อมโยงให้เกิดการสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม
4. การเปิดให้ใช้โปรแกรม Linux ฟรีแก่คนทั่วไป ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์
5. รูปแบบใหม่ของการร่วมกันในกระบวนการทำงาน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท สามารถแยกออกไปทำนอกบริษัทในที่อื่นได้
6. การย้ายฐานการผลิต หรือแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทไปต่างประเทศ
7. การบริหารห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก บริษัท Wal-Mart ซื้อของจากประเทศจีนเป็นมูลค่าอันดับที่ 8
8. การที่บริษัทเข้าไปทำงานต่าง ๆ ในบริษัทอื่น เช่น UPS ซึ่งขณะนี้รับทำงาน logistics ให้กับหลายบริษัท
9. เราสามารถหาข้อมูลให้ตัวเองได้อย่างง่ายดายจาก Internet และ search engine เช่น Google
10. เราจะสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

นอกจากนี้ผมยังอธิบายถึง 10 เรื่องที่ต้องรีบทำความรู้จักเพื่อให้ทันต่อโลก คือ

1. The Long tail
2. The World is Flat
3. Critical Mass
4. Web 2.0
5. The Wealth of Networks
6. Free Economy
7. Crowdsourcing
8. Socialnomic
9. Wikinomic
10. Wisdom of Crowd

4.ไอซีทีเพื่อการศึกษา

การเรียนรู้มันเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…ลองมองผ่านห้องสมุดจากอดีตถึงปัจจุบัน ความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยนไป
หนังสือ –> สื่อมัลติมีเดีย –> คอมพิวเตอร์ –> Notebook/Netbook –> Tablet

คุณครูบรรณารักษ์ ต้อง [รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้] ไอทีบ้างไม่ต้องเก่งถึงขั้นโปรแกรมเมอร์ เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับไอที มีดังนี้

– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
– ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
– ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
– ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

นอกจากนี้ผมได้แนะนำวิธีการเลือก app สำหรับ tablet และ smart phone ด้วย

5. ความคิดสร้างสรรค์ – เป็นของทุกคนไม่ใช่เพียงแค่นักออกแบบเท่านั้น

– ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา บางครั้งแค่เพียงเราคิดจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว
– แผนที่ความคิด (Mind Map) = เครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

6. สื่อสังคมออนไลน์

– ทำความเข้าใจกับคำว่าเว็บ 2.0 ก่อน แล้วจะรู้ว่าเว็บในยุคนี้จะเน้นเรื่องการแชร์และการแบ่งปันข้อมูลเป็นหลัก
– เครื่องมือที่แนะนำให้ใช้มี 10 อย่าง ดังนี้

1) Blog
2) Wikipedia
3) Twitter
4) Facebook
5) Google+
6) LinkedIn
7) Youtube
8) Slideshare
9) Flickr
10) Pinterest

7. เครือข่ายสังคมออนไลน์

– ผมแนะนำแฟนเพจ “เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย” และข้อดีของการรวมกันเป็นกลุ่ม

เอาหล่ะครับนี้ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมบรรยายให้เพื่อนๆ ฟัง งานวันนี้ขอบอกว่าแอบตกใจเล็กน้อยว่า คนมาเยอะมากเกือบ 300 คนเลย และเป็นครั้งแรกที่สำนักพิมพ์เชิญผมบรรยาย เอาไว้มีโอกาสคงได้บรรยายให้ที่อื่นฟังในเรื่องดังกล่าวต่อนะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณครับ

งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด