อยากนอนในห้องสมุดนักใช่มั้ย ไปนอนในโรงแรมห้องสมุดกันเถอะ

หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง

hotel Library

แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life

ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย

เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้

1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา – http://www.casapalopo.com/

Casa Palopo

2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย – http://www.thelibrary.co.th

The Library resort at Hat Chaweng.

3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ – http://www.gladstoneslibrary.org/

Gladstone's Library

4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา – http://www.kurahulanda.com/index.php

Sandton Kura Hulanda

5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย – http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx

The Royal Livingstone Hotel

6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา – http://www.longboatkeyclub.com/

Longboat Key Club

7.Taj Falaknuma Palace, ประเทศอินเดีย – http://www.tajhotels.com/Luxury/Grand-Palaces-And-Iconic-Hotels/Taj-Falaknuma-Palace-Hyderabad/Overview.html

DSC_0504

8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู – http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/

JW Marriott Cusco

9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก – http://www.libraryhotel.com/

The Library Hotel

เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]

ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html

QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology

ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย

TLA-PosterOnweb

ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology

ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ

รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย

หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library

แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ

สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท

รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

เรื่องชวนปวดหัวที่ว่านี้ ผมว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “เรื่องแค่นี้เอง” ไม่เห็นมันจะน่าปวดหัวตรงไหนเลเอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านแล้ว ลองดูนะครับว่าถ้าเพื่อนๆ อยุ่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง 17 เรื่องนี้ เพื่อนๆ จะทำอย่างไร

anigif_enhanced-buzz-6606-1376527348-7

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

1. เมื่อมีคนมาถามคุณว่า “หนังสืออะไรที่คุณชื่นชอบมาที่สุด” และขอให้หยิบมาให้เขาหน่อย
(บางทีหนังสือที่ผมชอบที่สุด ผมอาจจะไม่ได้ซื้อเก็บไว้ก็ได้จริงมั้ยครับ)

2. เมื่อใครบางคนมารบกวนคุณในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเพลินๆ
(บางครั้งอาจจะทำให้ต้องย้อนกลับมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น)

3. เมื่อหนังสือที่อ่าน ถูกำออกมาเป็นภาพยนตร์ แล้วไม่ตรงกับที่เคยอ่าน
(อันนี้เจอบ่อยมากครับ แอบเจ็บใจเล็กๆ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังแล้วออกมาไม่ตรงกับที่เล่า)

4. เมื่อตัวอักษรในหนังสือปะปนอยู่ในรูปภาพจนอ่านไม่รู้เรื่อง
(เรื่องนี้ก็จริงนะ บางครั้งเราเสียสมาธิกับการอ่านเพราะรูปภาพนี่แหละ)

5. เมื่อคุณจะเล่าเรื่องอะไรก็ตามให้กับคนที่เขาไม่ชอบอ่านเรื่องๆ นั้น
(เล่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องฟัง ประเด็นคือ จบ)

6. เมื่อคุณลืมกินหรือนอนเพราะมัวแต่ติดกับการอ่านหนังสือที่ชอบ
(หนังสือที่ชอบอ่านไปอ่านมารู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว….)

7. เมื่อตัวละครที่คุณชอบตาย…  เมื่อคุณคิดว่าเดี๋ยวตัวละคที่ชอบตัวนั้นจะฟื้น มันก็ไม่ฟื้น
(อันนี้ออกแนวเสียความรู้สึกเล็กๆ)

8. เมื่อหนังสือที่คุณชอบถูกวิจารณ์อย่างไม่เข้าท่า
(มาวิจารณ์อะไรนักหนา)

9. เมื่อผู้เขียนหยุดเขียนเรื่อง (ทั้งๆ ที่จะต้องมีภาคต่อ)
(อ่านแล้วค้างคา แบบเซ็งมาหลายเรื่องแล้ว)

10. บางมีคนมาสปอยตอนจบให้เราฟัง
(บ้านเราเยอะนะเรื่องนี้)

11. เมื่อคุณเดินเข้าร้านหนังสือ
(นักอ่านตัวจริงจะต้องเสียเงินมากมาย อิอิ)

12. เมื่อคุณให้คนอื่นยืมหนังสือไปแล้ว เขาคืนกลับมาด้วยสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
(บรรณารักษ์ชวนคิดนะ)

13. (ต่อจากข้อเมื่อกี้) ให้ยืมไปแล้ว ไม่ได้คืนกลับมา
(อันนี้เสียความรู้สึกอย่างหนัก)

14. เมื่อคุณอ่านเรื่องจบแล้ว ต้องรอภาคต่ออีกเป็นปี
(จะให้รอทำไมนานๆ)

15. เมื่อหนังสือทำให้คุณร้องไห้ในที่สาธารณะ แล้วคนรอบข้างคิดว่าคุณบ้าน
(แอบบว่าอินเนอร์มันออกมา คนอื่นไม่เข้าใจอ่ะ)

16. เมื่อเรื่องที่อ่านคลุมเครือไม่ชัดเจน หาที่อ้างอิงก็ไม่ได้
(ต้องรีบหาที่มาทั้งที)

17. เมื่อมีคนพูดว่าคุณอ่านเยอะเกินไป
(ก็เรื่องของฉัน….)

เอาเป็นว่าเรื่องน่าปวดหัวทั้ง 17 เรื่องนี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจได้ง่ายเลย
เพราะเพื่อนๆ คงเป็นนักอ่านกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ….

ที่มาของเรื่องนี้ 17 Problems Only Book Lovers Will Understand
 ปล. อยากให้ดูรูปประกอบมากๆ ตลกดี

วงจรการจัดซื้อ (Acquisitions Life Cycle) สำหรับงานห้องสมุด

ใกล้งานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยหลายคนกำลังรอที่จะมาซื้อหนังสือหรือสื่อต่างๆ เข้าห้องสมุด วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดซื้อจัดหามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกสักหน่อย อย่างน้อยก็ขอเตือนสติสำหรับบรรณารักษ์บางคนที่ต้องการนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาละลายในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้

Acquisitions Life Cycle

เริ่มต้นก่อนมางานสัปดาห์หนังสือ หรือ คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด มีดังนี้
1. What หนังสือเนื้อหาในกลุ่มใดที่คุณจะมาซื้อในงานนี้
2. Where หนังสือที่คุณจะซื้ออยู่ตรงไหน หรือสำนักพิมพ์อะไร
3. When หนังสือที่คุณจะซื้อเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่
4. Why ทำไมต้องมาซื้อหนังสือในงานนี้
ผมเริ่มจาก Question word นะครับ เพื่อนๆ ตอบตัวเองได้หรือเปล่า

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูอะไรทีเป็นวิชาการกันบ้าง
จากหนังสือของ Evans, G. Edward
ชื่อหนังสือ Developing Library and Information Center Collections

Presentation2

ได้กล่าวถึงวงจรในการจัดซื้อ – Acquisitions Life Cycle ไว้ว่า
1. Community Analysis วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
2. Selection Policies กำหนดนโยบายในการเลือกซื้อ
3. Selection เลือกและค้นหา
4. Acquisition จัดซื้อจัดหา
5. Weeding / Deselection จำหน่ายออก
6. Evaluation ประเมินคุณค่า

ดูวงจรได้ตามแผนภาพที่ผมจัดทำขึ้นได้เลยครับ สังเกตว่ามันเป็นวงจรที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นทุกครั้ง วงจรนี้เองเป็นวงจรที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองคิดและทบทวนขั้นตอนในการเลือกซื้อหนังสือให้ดี เช่น

1. ความต้องการของชุมชน — ผู้ใช้บริการเรามีความหลากหลายเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นห้องสมุดประชาชนคงจะตอบว่า ผู้ใช้ต้องการเกือบทุกสิ่งอย่าง เนื้อหาก็หลากหลาย รูปแบบก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนวนิยาย หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ วารสาร นิตยสาร และอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วจะใช้ข้อนี้ได้อย่างไร — แบบฟอร์มเสนอรายชื่อหนังสือเข้าห้องสมุด — เพื่อนๆ มีหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราเคยจัดซื้อเพื่อผู้ใช้บริการหรือไม่ สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ต้องทำ คือ รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเหล่านั้นแหละมาซื้อในงานนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อทั้งหมดนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปก่อน

2. ซื้อตามนโยบาย – วัตถุประสงค์ของห้องสมุด – งบประมาณ – ตรวจซ้ำในห้องสมุด
รายชื่อหนังสือที่รวบรวมมาแล้ว เรามาพิจารณากันต่อที่นโยบายของห้องสมุด ดูความเหมาะสมของเนื้อหาว่าสอดคล้องกับการให้บริการของห้องสมุดเราหรือไม่ หรือผู้ใช้บริการเสนอหนังสือที่มีราคาสูงมากๆ ยิ่งต้องคิดในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในงานสัปดาห์หนังสือ สมมติถ้าราคาในท้องตลาดมีราคาสูงมาก แต่ในงานสัปดาห์หนังสือมีราคาถูกลงมากก็พิจารณาเก็บรายชื่อดังกล่าวไว้ซื้อในงานสัปดาห์หนังสือดีกว่า

3. เลือกจาก list และค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อเราได้รายชื่อที่เราต้องการซื้อแล้ว เราควรดูหนังสือที่มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกันด้วย เช่น “Microsoft Office” เราสามารถดูและลองเปรียบเทียบจากสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเราซื้อจากสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จะได้ส่วนลดมากกว่า การซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เว้นแต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทย (หนังสือต่างประเทศ) เราต้องเปรียบเทียบและทำ list ไว้ได้เลย เวลาไปถึงงานสัปดาห์หนังสือแล้วจะได้มีทิศทางในการเลือกซื้อ เช่น เราต้องรู้แล้วว่าจะซื้อจากสำนักพิมพ์ไหนบ้าง

4. ไปซื้อได้แล้ว
กระบวนการนี้ไม่ยากมาก คือ การไปเดินซื้อในงานสัปดาห์หนังสือได้เลย ขอแผนที่ก่อนเข้างาน หรือ เราควรดูแผนที่จากเว็บไซต์ก่อนเดินทางไปที่งาน (แนะนำเพราะคนเยอะมาก) ได้ที่ http://thailandexhibition.com/TradeShow-2013/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-18-2475.html พอไปถึงก็เดินตามแผนที่ที่วงไว้ได้เลย เลือกหนังสือที่เรา list ไว้ก่อน ถ้าเหลือเวลาค่อยเดินชมงานและเลือกหนังสือเพิ่มเติม

5. จำหน่ายของเก่าออกบ้าง
ขอจำกัดของห้องสมุดเกือยทุกแห่ง คือ พื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ อย่างว่าแหละครับ คงไม่มีเพื่อนๆ ซื้อหนังสือใหม่เสร็จแล้วซื้อชั้นหนังสือใหม่ต่อเลยใช่ปล่าว ดังนั้นการหาพื้นที่ให้หนังสือใหม่จึงเป็นความจำเป็นเช่นกัน ยิ่งถ้าห้องสมุดไหนมีหนังสือเต็มชั้นจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ผมว่าการจำหน่ายหนังสือเก่าออกบ้างเป็นเรื่องที่ห้องสมุดต้องดำเนินการนะครับ ซึ่งเรื่อง “วงจรการจำหน่ายหนังสือออก (Weeding Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที

6. การประเมินคุณค่าของหนังสือ
เพื่อนๆ เคยเข้าไปดูสถิติการใช้งานของหนังสือบ้างหรือไม่ ว่าหนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาเข้ามาในห้องสมุด บางเล่มก็เป้นที่นิยมถูกหยิบยืมจำนวนมาก บางเล่มแทบจะไม่มีคนยืมเลย วิธีการสังเกตห้องสมุดที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถดูสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มได้อยู่แล้ว ส่วนบางห้องสมุดก็ใช้วิธีการประทับตราวันกำหนดส่งท้ายเล่ม นั่นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานของหนังสือได้เช่นกัน ซึ่ง “วงจรการประเมินคุณค่าของหนังสือ (Evaluation Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที เช่นกัน

เอาเป็นว่า ก่อนการไปซื้อหนังสือหรือสื่ออะไรก็ตามเข้าห้องสมุดในช่วงงานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคมนี้ เพื่อนๆ คงมีการคิดอย่างดีแล้ว และเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดกันถ้วนหน้านะครับ

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

วันนี้เจอเรื่องขำๆ ขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดูเป็นไอเดีย เผื่อที่บ้านใครมีของที่ไม่ได้ใช้แล้วอาจจะเอามาลองประดิษฐ์เป็นชั้นหนังสือเก๋ๆ กันบ้าง บางอย่างเราอาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ [ดูแล้วต้องบอกเลยว่าคิดได้ไงเนี้ย]

Presentation1

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

1. เอารถจากัวร์มาทำเป็นชั้นหนังสือ

jaguar-bookshelf-motart

2. เอาเรือมาทำเป็นชั้นหนังสือ

boat-bookcase

3. เอาเปียโนมาทำเป็นชั้นหนังสือ

21-brillant-objects-made-from-recycled-materials-16

 

4. เอาตัวต่อ Lego มาทำเป็นชั้นหนังสือ

lego-bookshelf

 

ชมภาพทั้งหมดได้ที่นี่เลยครับ

[nggallery id=66]

หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ไอเดียดีๆ ไปลองใช้ดูนะครับ

 

ที่มาของเรื่องนี้ : 11 Ingenious Bookshelves Made From Unusual Repurposed Items