ตาข่ายแห่งการเรียนรู้ : พื้นที่อ่านแนวใหม่สำหรับห้องสมุด

บริษัท PlayOffice (ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้) จากประเทศสเปน
ได้ออกแบบแนวคิดในการอ่านแบบไร้ขีดจำกัด ให้กับบรรดาห้องสมุดต่างๆ ในประเทศสเปน
โดยใช้แนวคิด Reading Net หรือ “โครงข่ายแห่งการอ่าน”

BZYfmb9CMAALYR6

Reading Net ความแปลกใหม่บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่แฝงไปด้วยความสนุก การใช้งานได้จริง เพิ่มพื้นที่ให้กับห้องสมุด

แนวคิดง่ายๆ คือ การนำตาข่ายมาขึงเพื่อให้สามารถนอนอ่าน นั่งอ่าน ….
จริงๆ แล้วตอนแรกผมนึกถึงเปลญวนที่มีไว้นอนเล่น ใต้เงาไม้แบบร่มๆ (นึกแล้วอยากนอนเลย)

reading-net-by-playoffice-designboom-10

ผมเห็นไอเดียนี้แล้วนึกถึงแบบแปลนของห้องสมุดประชาชนต่างๆ ในประเทศขึ้นมาเลย
โดยเฉพาะห้องสมุดที่มี 2 ชั้น แล้วช่วงกลางของอาคารเป็นพื้นที่โล่ง
ถ้ามี Reading net แบบนี้มาขึงคงสร้างบรรยากาศ ความแปลกใหม่ให้มากทีเดียว

reading-net-by-playoffice-designboom-01

แต่เรื่องนี้คงต้องศึกษากันอย่างละเอียดนะครับ
เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับ 1
เอาเป็นว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกันด้วยแล้วกันครับ

Credit photo : http://www.designboom.com/design/reading-net-turns-libraries-into-hanging-learning-labs-11-13-2013/

สูตรสำเร็จของการพัฒนาห้องสมุด บรรณารักษ์ ในมุมมองนายห้องสมุด

หลังจากที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้บริหารน้อยๆ ชีวิตผมก็เริ่มเปลี่ยนไป
เริ่มมีเวลาดูข้อมูล อ่านหนังสือ เยี่ยมชมเว็บไซต์ วันนี้ได้อ่านเจอประโยคนึงแล้วรู้สึกว่ามันโดนใจ
วันนี้จึงขอนำประโยคนี้มาวิเคระห์และเชื่อมโยงกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ดู

library success

ประโยคที่ว่านี้คือ Knowledge + Connection = Success
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ นอกจากมีความรู้แล้วยังต้อง “รู้จักคน” ด้วย

เริ่มจากการวิเคราะห์ว่า “ความสำเร็จในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์” คืออะไร

ห้องสมุดควรเป็นเช่นนี้
– สถานที่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
– สถานที่ที่คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เวลาต้องการความรู้หรือต้องการคำตอบ
– สถานที่ที่คนเข้ามาใช้แล้วไม่มีคำว่า “น่าเบื่อ” “ไม่น่าใช้”
– สถานที่ที่เข้ามาแล้วทุกคนจะต้องพูดว่า “ขอบคุณนะที่มีสถานที่แบบนี้”
ฯลฯ

บรรณารักษ์ควรเป็นคนแบบนี้
– ผู้ที่ผู้ใช้เข้ามาทักทาย พูดคุย และถามในสิ่งที่ตนเองต้องการจากห้องสมุด
– ผู้ที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาความรู้ หรือ ค้นหาคำตอบ
– ผู้ที่ทุกคนไม่นำไปพูดถึงในทางที่แย่ๆ
– ผู้ที่ไม่ได้เป็นเพียงคนนั่งเฝ้าในสายตาของผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ความสำเร็จที่ว่ามีความหมายมากมาย เอาเป็นว่าโดยรวมคือสิ่งที่ดี
และเพื่อนๆ เองก็พยายามจะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้

เอาหล่ะเมื่อสูตรความสำเร็จมาจาก “ความรู้” และ “การเชื่อมโยง”
Success = Knowledge + Connection

Knowledge ผมคงไม่เจาะจงหรอกนะครับว่าต้องมีความรู้อะไร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ “ฉลาดที่จะเรียนรู้” “รักในการเรียนรู้” “ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มี”
เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะมีความรู้ในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เอง

Connection ผมคงไม่เจาะจงอีกว่าจะต้องติดต่อกับใคร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ รู้ว่า “ใครที่จะต้องติดต่อ” “หน่วยงานไหนมีอะไรดี”
โลกนี้คนเก่งทำงานคนเดียวก็สู้คนที่ทำงานเป็นทีม หรือ ทำงานแบบเครือข่ายไม่ได้
นอกจากเรื่องติดต่อแล้ว ผมขอย้ำคำเดิมว่า “Sharing Knowledge is power
คนที่ชอบแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น

ดังนั้นจงเก่งที่จะเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับเรื่องที่ทำ
จะทำให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยพัฒนาไปได้อีกไกล