มีน้องคนนึงอยากให้ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสำหรับผู้พิการแบบต่างๆ และให้ยกตัวอย่างในต่างประเทศ
วันนี้ผมขอแนะนำ ห้องสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตา ก่อนนะครับ
จริงๆ มีหลายประเทศที่ยกระดับเป็น “หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ” หรือ National Library for Blind
บางประเทศก็เพิ่มฟังค์ชั่นนี้ใน “หอสมุดแห่งชาติ” บางแห่งก็มีการแยกสถานที่การให้บริการออกจากกัน
ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำที่แรกที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2011 นะครับ นั่นคือ “หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน”
หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ China’s national library for blind
เพิ่งจะมีการย้ายสถานที่อย่างเป็นทางการในปี 2011 โดยตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง บนเนื้อที่กว่า 28,000 ตารางเมตร
ภายในห้องสมุดแห่งนี้ประกอบด้วยสื่อมากมายสำหรับผู้พิการทางสายตา เช่น
– หนังสืออักษรเบรลล์ (Braille) 50,000 เล่ม
– หนังสือที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าปกติ
– หนังสือเสียง (Audio-books)
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบสภาพแวดล้อมและเฟอร์นิเจอร์ให้เอื้อต่อผู้พิการทางสายตา
เช่นการออกแบบป้ายติดชั้นหนังสือด้วยอักษรเบรลล์ เส้นนำทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา
เราไปชมบรรยากาศภายในห้องสมุดแห่งนี้กันครับ
– หญิงสาวคนนี้กำลังเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เฉพาะทางอยู่
– ชายหนุ่มคนนี้กำลังทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญ ผ่านการสัมผัสหุ่นรูปปั้นและฟังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านนี้อยู่
– การสัมผัสจะทำให้เกิดจินตนาการและสามารถสื่อสารกับผู้พิการทางสายตาได้ดี
– ทางเดินภายในห้องสมุดแห่งนี้ อำนวยความสะดวกและช่วยได้มาก
เอาเป็นว่านี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างห้องสมุดแห่งนึงที่ผมรู้สึกว่า
นี่แหละครับที่เรียกว่าการออกแบบห้องสมุดเฉพาะทาง ห้องสมุดที่มีความพิเศษ
ซึ่งหากผู้ศึกษาเกี่ยวกับวงการห้องสมุดในเมืองไทยได้ทำความเข้าใจ
ผมเองก็อยากเห็นห้องสมุดดีๆ แบบนี้มีในสังคมไทยเช่นกัน
ที่มาของข้อมูลและภาพจาก xinhuanet.com