ภาคต่อจากหัวข้อ
“บทบาทของห้องสมุดเด็กเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดหนังสือภาพแห่งแรก”
โดยคุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ – รองประธานมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
แต่ผมขอแบ่งออกมาเขียนเป็น 2 ตอนนะครับ
1. โครงการหนังสือเล่มแรก (Book Start)
2. ที่มาและแนะนำ “ห้องสมุดเด็กดรุณบรรณาลัย”
—————————————————————————-
ชื่อนี้ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ “ดรุณบรรณาลัย” หมายถึง ห้องสมุดสำหรับเด็ก
ประเทศญี่ปุ่นจะมีห้องสมุดเด็กเยอะมาก โดยใช้บ้านของตัวเองมาทำ เรียกว่า บุงโก๊ะ แล้วเจ้าของบ้านก็จะเปิดให้บริการอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง ทั้งประเทศญี่ปุ่นมี “บุงโก๊ะ” ประมาณ 5000 แห่ง ห้องสมุดเด็กนานาชาติเกิดจากการรวมบุงโกะ 5 แห่งในโตเกียว
หน่วยงานที่ร่วมจัด มีดังนี้
-มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
-มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (จัดเรื่องงบประมาณ)
-สถาบันราชานุกูล
-แปลน อาร์คิเทค (คนออกแบบ)
กลุ่มเป้าหมาย
-เด็กปฐมวัย (แรกเกิด-7ปี)
-เด็กปฐมวัยปกติและพิเศษ
-พ่อแม่
-คุณครู
-นักศึกษาและครูบรรณารักษ์
-ประชาชนทั่วไป
เพิ่งเปิดเมื่อเดือนมกราคม 2559
ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวมา คนในชุมชนยังไม่ค่อยมาเท่าไหร่
การออกแบบใช้สีสันเพื่อสร้างบรรยากาศให้ดูน่าสนใจและตื่นตาตื่นใจสำหรับเด็ก ชั้นหนังสือเตี้ยๆ ให้เด็กหยิบได้ ไม่ติดแอร์ ธีมเหมือนเป็นบ้านต้นไม้ ไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ใช้เพราะเด็กเล็กไม่ควรใช้อุปกรณ์ไอที เพราะอาจทำให้เด็กมีความผิดปกติทางสมอง มีที่นั่งแบบเบาะเพื่อให้นั่งอ่านและนอนอ่านได้ หนังสือไทยประมาณ 500 เล่ม หยังสือต่างประเทศ 100 กว่าเล่ม
การคัดหนังสือเข้าห้องสมุด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
0-1 ปี
1-3 ปี
3-5 ปี
ทุกวันอาทิตย์ บ่าย 2-3 โมงจะมีกิจกรรมเล่านิทานให้เด็กฟัง กิจกรรมแต่ละสัปดาห์จะมีหัวข้อที่น่าสนใจไม่เหมือนกัน เช่น เดือนมีนาคม: สีสันแสนสนุก ….
รายละเอียดอื่นๆ ดูได้ที่ www.facebook.com/darunbannalai
ภาพการบรรยายในหัวข้อนี้