สรุปการบรรยาย อนาคตของสื่อการเรียนรู้

Session สุดท้ายของวันนี้ การบรรยาย หัวข้อ “อนาคตของสื่อการเรียนรู้”
โดยนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ และ นางสาววิมล จรุงจรส
ดำเนินรายการโดย ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล

12873536_10153566074693348_248956290_o

————————————————————

อนาคตของสื่อการเรียนรู้ by คุณวิมล จรุงจรส

สื่อดิจิตอลมาถึงแล้ว (ไม่ใช่แค่กำลังมา)
การใช้อินเทอร์เน็ตบ้านเราเป็นอันดับต้นๆ ในเอเซีย – โลก
เราได้รับข้อมูลมากถึง 34 GB ต่อวัน
เราจะจัดการข้อมูลที่เข้ามาในหัวเราได้อย่างไร

ทำอย่างไร “เรียนอย่างสนุกแล้วยังได้ความรู้ไปด้วย”
นานมีเชื่อว่า การอ่าน เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด

การเรียนรู้อย่างมีความหมาย
– เป็นเรื่องที่สนใจ
– สร้างแรงบันดาลใจ
– เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน
– ตอบโจทย์ว่าเรียนไปทำไม
– มีวิธีการหลากหลาย

คนเราล้วนแตกต่าง ถูกปลุกเร้าด้วยสิ่งที่ต่างกัน

เราเข้าถึงหนังสือจากช่องทางเหล่านี้ = ร้านหนังสือ ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เมื่อวิเคราะห์ช่องทางต่างๆ แล้วพบว่า
ร้านหนังสือ ค่าเช่าที่แพงขึ้น พื้นที่ร้านลดลง หนังสือไม่หลากหลาย เกิดร้านหนังสือเฉพาะทาง
ห้องสมุด งบประมาณลดลง ลงทุน Hardware มากขึ้น เกิดการหาแนวร่วมเพื่อผลักดันงบประมาณ
อินเทอร์เน็ต ตอบโจทย์หลากหลาย long tail ทุกกลุ่ม จะหาอย่างไรก็เจอ ใช้ Google book โครงการอ่านอะไร

ทำอย่างไรให้อยากอ่าน – กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
– นักเขียนสร้างแรงบันดาลใจ (เชิญนักเขียนไปพูด สร้าง Idol ด้านการอ่าน)
– เกมและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านจากหนังสือ (ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ – จัดให้ครูช่วยกันคิดเกมส์และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้มากขึ้น) เช่น ค่ายการอ่าน (คณิตศาสตร์เป็นยาขมของเด็ก นานมีจึงออกแคมเปญ ค่ายคณิตศาสตร์ กุ๊กๆ กู๋)
– ค่ายส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
– อ่านแล้วได้รางวัล
– อ่านแล้ว เรียนเข้าใจ เกรดดีขึ้น [นานมีเพิ่ม approach ใหม่ คือ STREAM = STEM + R(Read) + A(Art)]
– การทำ Book trailer
– ใช้สื่อออนไลน์ก็ทำให้อยากอ่านได้ เช่น Line Facebook

หนังสือเป็นหัวใจของการเรียนรู้เชิงบูรณาการ Phaenomenta ศูนย์การเรียนรู้ 360 องศา
ชักชวนเด็กๆ มาเล่นของเล่นโดยมีแค่ประโยคสั้นๆ เช่น “ลองเล่นดู ลองปีนดู” แล้วปล่อยให้เด็กเล่นเอง แล้วมาให้หาคำตอบเอง

ครูบรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างชาญฉลาด ใช้ทุกกลยุทธ์ที่คิดได้ ทั้ง Online และ Offline ใช้สื่อหลายๆ ช่องทาง
ทำงาน cross functional team (ห้องสมุด สำนักพิมพ์ ร้นหนังสือ) (บรรณารักษ์ ครูทุกวิชา นักเขียน)

ตัวอย่างกรณีศึกษาที่นำไปใช้แล้วสำเร็จ นานมี ร่วมกับ CCF จัดอบรมให้กับโรงเรียนที่ไม่มีงบ โดยสนับสนุนแค่หนังสือและวิธีการใช้หนังสือเพื่อการเรียนรู้

————————————————————

A New “New Normal” For TV Viewing โดยคุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ

Google Youtube หรือ Internet มันก็คือห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง
TV Analog to TV Digital การเปลี่ยนแปลงในรอบครึ่งศตวรรษของสังคมไทย

New Normal ของการดูโทรทัศน์
– โทรทัศน์สามารถดูได้ทุกที่ทุกเวลาแล้ว ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ดูได้บนหลายๆ อุปกรณ์ ทีวี คอมพิวเตอร์ tablet มือถือ (Smartphone จะครองโลก)
– คนรุ่นใหม่ (อายุ 14-24 ปี) ดูทีวีเน้นบันเทิง
– จำนวน smart phone มีมากกว่า TV
– การเสพข้อมูลข่าวสาร ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบ streaming แต่ content ไม่เหมือนกัน เช่น คนดูข่าวแค่ 1-2 ครั้ง แต่ถ้าเป็นเรื่องบันเทิงอาจเกิดการดูซ้ำได้นับครั้งไม่ถ้วน

คนไทยดูทีวี
– ดูตามตารางผังรายการของสถานีลดลง
– ดูผ่าน Internet เพิ่มขึ้น
– ดูย้อนหลังผ่าน Internet ก็เพิ่มขึ้น
– การดูผ่านอุปกรณ์ mobile เพิ่มขึ้น

คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านสาย LAN ในเมืองไม่มีปัญหา แต่นอกเขตเมืองมีอัตราการใช้ที่ค่อนข้างต่ำ
แต่กลับกันในเขตนอกเมืองมีการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบไร้สาย (3G/4G) ค่อนข้างมาก

พฤติกรรมของคนในยุคนี้ต่อการใช้งานสื่อผ่านช่องทางต่างๆ
อันดับ 1 = การดูทีวี
อันดับ 2 = การใช้ smart phone
อันดับ 3 = Online บนคอมพิวเตอร์
อันดับ 4 = การฟังวิทยุ
อันดับ 5 = การอ่าน

ดังนั้นเมื่อเราเห็นข้อมูลแบบนี้แล้วเราจะนำเรื่องนี้มาประยุกต์ใช้กับห้องสมุดของเราอย่างไร

—————————————————————————————————

ภาพการบรรยายในหัวข้อนี้

12325727_10153566074518348_502420861_o 12528711_10153566074618348_1349438173_o 12528568_10153566074563348_746342063_o 12499454_10153566074668348_2093534479_o 12499238_10153566074643348_583816103_o 12421976_10153566074723348_448953918_o 12722476_10153566074708348_1065505578_o 12873536_10153566074693348_248956290_o12722586_10153566076423348_637717364_o

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*