สรุปการบรรยาย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”

หัวข้อที่สองของวันสุดท้าย “ความเสี่ยงในโลกออนไลน์”
โดยคุณชัยชนะ มิตรสัมพันธ์ (รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)

DSC00601

————————————————————————————————

ในชีวิตประจำวันของเราเขาใกล้โลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การซื้อของบนโลกออนไลน์ การใช้บัตรเครดิต การตัดบัญชีผ่านระบบออนไลน์ ฯลฯ

Online = State of Connectivity
Offline = Disconnected State

มีคนเข้าถึงโลกออนไลน์มากน้อยแค่ไหน
– ในประเทศไทย จำนวน 30 ล้านคน
– ในอาเซียน จำนวน 160 ล้านคน
– ในจีน จำนวน 600 ล้านคน
– ในโลก จำนวน 3,000 ล้านคน
::: จากจำนวนดังกล่าวจะเห็นว่าคนไทยเกือบ 50% ของประชากรในประเทศเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ดังนั้นภาครัฐจึงมีนโยบาย Digital Economy (ภายในปี 2020 เศรษฐกิจแบบดิจิทัลทั่วโลกจะมีบทบาทถึง 25%)

ทุกอย่างย่อมมีทั้งแง่ดีและแง่ลบ เมื่อโลกออนไลน์มีประโยชน์ ก็มักจะมีคนบางกลุ่มแสวงหาประโยชน์จากโลกออนไลน์ เช่นกัน นั่นจึงทำให้เกิด “ความเสี่ยง”

ทุกวันนี้เรามีความเสี่ยงอะไรบ้าง เช่น
– การค้นหาข้อมูลใน Google ก็มีความเสี่ยง เช่น 1) จะเจอ Link ที่ไม่ดี หรือ Link ไวรัส หรือ Link Malware 2) การดักจับการกรอกข้อมูลและนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี อันตรายกันมากๆ เลยนะครับ

ทำไมเวลาสมัครฟรีอีเมล์ หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ถึงไม่ต้องมีการ verify ตัวตนที่แท้จริง ไม่ต้องการข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ นั่นเพราะธุรกิจเหล่านี้ไม่สนใจว่ากำลังทำกับใคร เพียงแต่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้ที่ใช้เท่านั้น

Internet of Thing คืออีก Keyword ที่น่าสนใจอีกคำ
ยุคที่เครื่องจักรคุยกับอินเทอร์เน็ต ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ บ้าน จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ซึ่งที่น่ากลัวคือถ้ามีคน Hack ข้อมูลเราผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ก็ไม่ต่างจากการให้คนอื่นมาเดินอยู่ในบ้านของเรา และคนอื่นที่ว่าก็จะทำอะไรก็ได้ในบ้านของเราด้วยเช่นกัน วิธีป้องกันง่ายทำได้โดย
– สังเกตด้วยตนเอง ว่ามันทำงานผิดปกติบ้างหรือไม่
– ติดตามข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการ Hack
– อัพเดทอุปกรณ์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย
– วัยเกษียณ เฉลี่ยใช้วันละ 4.22 ชั่วโมง
– วัยเรียน เฉลี่ยใช้วันละ 7.71 ชั่วโมง
– วัยทำงาน เฉลี่ยใช้วันละ 7.9 ชั่วโมง
– กลุ่มเพศที่สาม เฉลี่ยใช้วันละ 8.8 ชั่วโมง (ใช้มากที่สุด)

คำแนะนำในการป้องกันความเสี่ยงในโลกออนไลน์ แบ่งเป็น
1 ป้องกันความเสี่ยงถูกขโมยข้อมูลสำคัญ
– ไม่เปิด URL ที่มีผู้อื่นส่งมา
– ระวังอีเมล์ที่มีการขอข้อมูลส่วนตัว
– ธนาคารหรือเว็บที่มีความปลอดภัยสูงจะใช้ https
– ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส

2 ป้องกันความเสี่ยงถูกโจมตีโดยมัลแวร์ 
– ไม่คลิก link หรือ เปิดไฟล์อีเมล์ที่น่าสงสัย
– อัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัส
– Backup ข้อมูลสำคัญไว้ตลอด
– ไม่เข้าเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยง

เว็บไซต์แนะนำทิ้งท้าย คือ www.thaicert.or.th

ภาพการบรรยายในหัวข้อนี้

DSC00603 DSC00605 DSC00607

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*