สรุปการบรรยาย : หนังสือเล่มและหนังสือดิจิทัล ขุมปัญญาที่มีค่า

Session นี้เป็น Session ที่ผมเป็นผู้ดำเนินรายการบนเวที
วิทยากรหลักของการเสวนานี้ คือ คุณชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง และ คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
เสวนานี้จะมันส์แค่ไหน มาอ่านได้เลยครับ

physical and digital book seminar

————————————————————————————————

คุณชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง – ตัวแทนวรรณกรรมมุนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ – ตัวแทนวรรณกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

——————————————-

หัวข้อที่ผมใช้แลกเปลี่ยนกับวิทยากรทั้งสองบนเวที ประกอบด้วย
1. ความสำคัญของการอ่านที่มีต่อการเรียนรู้
2. การคัดเลือกหนังสือดีๆ มาอ่าน
3. กิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ อ่าน
4. ประเด็นอื่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน

หมายเหตุ ผมขอสรุปแบบภาพรวมของแต่ละคนนะครับ
ไม่เน้นการถอดบทสนทนาบนเวที เนื่องจากมีรายละเอียดค่อนข้างมาก

——————————————-

คุณชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง – ตัวแทนวรรณกรรมมุนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

กล่าวทักทายผู้เข้าฟังด้วยการแนะนำหนังสือเรื่อง “อ่านหนังสือเล่มนี้เถอะ.. ที่รัก” ที่คุณไพลิน รุ้งรัตน์ เป็นผู้เขียน ในเรื่องนางเอก (ลมเย็น) เป็นบรรณารักษ์และพระเอก (หมอจุล) เป็นหมอ

การอ่านหนังสือทำให้สร้างจินตนาการไม่รู้จบได้อย่างไร การอ่านมีหลายระดับเริ่มจาก
– อ่านเพื่อรับรู้
– อ่านเพื่อรับรส
– อ่านเพื่อรับโลก
– อ่านเพื่อทะลุโลก (อ่านเอาจักรวาล)

ประโยคเด็ดที่ผมชอบ “อ่านจนจมหายกลายเป็นอื่น”

ยิ่งอ่านมากยิ่งทำให้เราเข้าใจตัวเราได้ดีขึ้น เพราะเราจะสร้างจินตนาการให้เสมือนว่าเป็นหนึ่งในตัวละครในหนังสือ และเมื่อเราเข้าใจตัวเองได้แล้ว เราจะสามารถเข้าใจคนอื่นได้ง่ายขึ้นด้วย

การเลือกหนังสือดีๆ อ่านในปัจจุบัน ต้องพิจารณามากกว่าเมื่อก่อน
สมัยก่อนคนเขียนหนังสือน้อย มีเท่าไหร่ก็อ่านเท่าไหร่ เรื่องที่เขียนสะท้อนสังคมชัดเจน
สมัยนี้ใครๆ ก็เขียนได้ ทำให้มีตัวเลือกเยอะ แต่สาระมีหรือเปล่าอันนี้อีกเรื่อง

ก่อนจะแนะนำเด็กๆ ให้อ่านบรรณารักษ์ต้องทำกลุ่มหนังสือน่าอ่าน แล้วเลือกแนะนำหนังสือที่ดี
(บรรณารักษ์ต้องอ่านและพิจารณาด้วยตัวเองก่อน…จึงจะแนะนำคนอื่นได้)

หนังสือขายดีของร้านหนังสือ อาจไม่ดีจริง (เพราะมีเรื่องการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง)
เครื่องมือเบื้องต้นในการเลือก เช่น รายชื่อแนะนำหนังสือดี 100 เล่มที่ควรอ่าน หยังสือที่ได้รับรางวัลต่างๆ หนังสือจากกวีนิพนธ์ ฯลฯ

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีมากมาย แต่มีกิจกรรมที่แนะนำ คือ “อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน” นอกจากจะเป็นการวิเคราะห์หนังสือเล่มเดียวกันแล้ว ยังเปิดมุมมองทำให้เรารู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น รู้จักแบ่งปันความรู้ให้คนอื่น ชวนกันอ่านได้ด้วย —> ดึงคนที่อ่านน้อยให้สนใจอ่านมากขึ้น

ประเด็นทิ้งท้ายที่น่าสนใจ คือ หลายคนชอบเอาข้อจำกัดเรื่องเวลามาอ้างว่า “ไม่มีเวลา” อยากให้เปลี่ยนความคิดใหม่นะครับ หนังสือบางเล่มเมื่อเราหยิบอ่านแล้ว บางทีทำให้รู้สึก “อ่านจนลืมเวลา

——————————————-

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ – ตัวแทนวรรณกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หนังสือแต่ละเล่มหนามากๆ ดังนั้น ebook ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งเช่นกัน (ไม่ต้องแบกหนังสือหนักๆ) แต่สิ่งสำคัญของคนที่ทำงานในสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องการ คือ เนื้อหาที่ทันสมัยและอัพเดทตลอดเวลา ดังนั้นรูปแบบ ebook จึงได้รับความนิยมเยอะกว่า เพราะหากรอหนังสือฉบับเล่มจะต้องผ่านกระบวนการเขียน เรียบเรียง ออกแบบ จัดหน้า และผลิต (ขั้นตอนเยอะมาก กว่าจะได้อ่านก็ตกยุคไปแล้ว)

สิ่งสำคัญของการอ่าน ไม่ได้อยู่ที่ปริมาณของการอ่าน จะอ่านมาก จะอ่านน้อย สุดท้ายคือ จับสาระของการอ่านได้หรือไม่

“การอ่านแบบจับสาระ” ไม่เหมือน “การอ่านแบบแปลตรงตัว” บางเรื่องต้องอาศัยการตีความ

ในมุมมองของวิทยากรมองเรื่องการเลือกหนังสือว่า
ด้วยสื่อในปัจจุบันมีมากมายในโลกอินเทอร์เน็ต
เราไม่ควร “ปล่อยเด็กให้ค้นเรื่องอ่านด้วยตนเอง”
เพราะบางทีเด็กอาจเลือกอ่านสิ่งที่ไม่เหมาะสมก็ได้

บรรณารักษ์ – ครู ต้องคัดเลือกหนังสือหรือสื่อที่ดีก่อน
เช่น เห็นบทความที่น่าสนใจก็นำมา catalog แล้วให้บริการในระบบห้องสมุดสิ

กรณีศึกษา เพชรพระอุมา กับ การนำไปทำจนเพี้ยน
ไม่ได้ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ทางวรรณกรรมนะครับ
มันเป็นการทำร้ายจริยธรรมทางวรรณกรรมด้วย

เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมการอ่าน
สำหรับเด็กช่วงชั้น 1 – 2 = ยังไม่ควรใช้อุปกรณ์ไอทีมากนัก
สำหรับเด็กช่วงชั้น 3 – 4 = ใช้อุปกรณ์ไอทีได้ เน้นการตั้งกลุ่มเพื่อให้เกิดการแชร์ประสบการณ์ในการอ่าน ….

วิทยากรทิ้งท้ายด้วยคำว่า “อย่าแนะนำหนังสือโดยละเมิดสิทธิ์ของนักเขียนท่านอื่น”

——————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ มันส์กันไปเลยมั้ย
สำหรับ session นี้ไม่มีรูป เนื่องจากผมอยู่บนเวทีนะครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *