การบรรยายหัวข้อสุดท้ายของงานประชุมวิชาการสมาคมห้องสมุดประจำปี 2558
หัวข้อ “สงครามข้อมูลในยุค Social Media” โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ
—————————————————
เราอยู่ในยุคที่ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ลอยอยู่บนอากาศ หรือโลกแห่งอินเทอร์เน็ต
วิธีการเข้าถึงความรู้ก็ง่ายมาก แค่เราเปิดโทรศัพท์มือถือและค้นข้อมูลใน Google
มนุษย์เราสามารถย่อโลกทั้งใบมาไว้ในมือได้แล้ว ถามอะไรมาก็ตอบได้หมด
ไม่มีใครหลุดรอดสายตาของ Internet ได้เลย เช่น คดีรถเบนซ์ ดีเจเก่ง หรือคุณหมอหนีทุน ….
สังคมสามารถเจาะข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ได้ง่าย ลิ้นชักข้อมูลก็อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ทฤษฎี Power law คือ คนเรามักจะสนใจเฉพาะส่วนหัว (ดูคล้ายๆ longtail)
เวลาค้นหาอะไรก็จะดูแค่ผลการสืบค้นต้นๆ เท่านั้น เช่น เราค้นข้อมูลใน Google และสนใจผลสืบค้นเพียงแค่ 2-3 หน้าแรกเท่านั้น ดังนั้นให้ทดลองค้นชื่อของตัวเองแล้วดูผลการสืบค้นดูว่าเรา มีตัวตนในโลกของอินเทอร์เน็ตแค่ไหน
การแสดงผลของเว็บไซต์ก็ต้องรองรับอุปกรณ์จำพวกมือถือด้วย หรือ responsive website
โทรศัพท์ที่เราซื้อเดี๋ยวนี้ต่ออินเทอร์เน็ตได้เกือบทั้งหมดแล้ว (โทรศัพท์ที่ต่อเน็ตไม่ได้ไม่มีคนซื้อ)
เดี๋ยวนี้คนเราไปห้องสมุดทำไม ??? ไปพักผ่อน??? หรือไปใช้เน็ตห้องสมุด ???
การเรียนรู้ของคนยุคใหม่เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เรามีข้อมูล ความรู้อยู่ในมือตลอดเวลา
คนในยุคนี้พิมพ์สัมผัสไม่เป็นแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้การสั่งงานด้วยเสียงก็ทำให้เราทำรายงานได้ ไม่ต้องกลัวสะกดคำผิดด้วย
คลิปที่อาจารย์ยืนให้ดูแล้วให้เราคิด คือคลิป “ครูแปลผิด”
เด็กเรียนรู้อะไร ครูปรับตัวอย่างไร แล้วห้องสมุดหล่ะต้องทำอย่างไร
Wikipedia คือ เครื่องจักรประมวลความรู้ ใครๆ ก็เขียนความรู้ได้
เว็บไซต์ที่คนยุคใหม่สนใจต้องมีลักษณะดังนี้
1. รองรับอุปกรณ์แบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ — Responsive web
2. เน้นความเรียบง่าย ไม่เน้นข้อมูลมากๆ
3. มีการนำ New media มาใช้
Digital Native มีลักษณะ ได้แก่ อายุยังน้อย มีความต้องการเพื่อตนเอง คิดอิสระ ไม่ชอบถูกบังคับ ฯลฯ
ภาพการบรรยายในหัวข้อนี้
Leave a Reply