6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ (ห้องสมุดดิจิทัล)

ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี)

วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ
แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ)

เอาหล่ะครับ ผมจึงค้นหาวิธีใน Internet และได้เคล็บลับดีๆ มาแชร์

slide present social media

“6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์”
มาจากบทความ THE TOP 6 WAYS LIBRARIES ARE INCREASING THEIR DIGITAL CIRCULATION ของ OverDrive (ผู้ให้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่รายหนึ่งในโลก)

6 วิธีที่ช่วยเพิ่มยอดการยืมคืนทรัพยากรออนไลน์ มีดังนี้

1. ซื้อ – บอกรับสื่อที่มีเนื้อหาสำหรับเด็ก – ประเด็นนี้ง่ายๆ ครับเนื่องจากเราอยู่ในยุค Digital Native เด็กเหล่านี้นี่แหละที่ต้องการเข้าถึงสื่อแบบง่ายๆ ดังนั้นเป็นอะไรที่ต้องเก็บไว้พิจารณานิดนึงครับ

2. ซื้อ – บอกรับสื่อที่มีภาษาท้องถิ่น – ประเด็นนี้ยกเป็นเรื่องของสื่อภาษาไทยครับ เพราะถ้าเราบอกรับแต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว เข้าใจว่าเด็กไทย หรือแม้แต่เราเองก็อาจจะอ่านน้อยหน่อย แต่ถ้าเป็นสื่อภาษาไทยเราอาจจะเปิดใจรับมันมากขึ้น

3. จัดให้มี Digital Book Clubs – แน่นอนครับในห้องสมุดที่เป็นแบบ Physical เราก็มีการตั้งชมรมรักการอ่าน หรือ Book club อยู่แล้ว ถ้ามี Digital Book club ก็คงดี คนในกลุ่มสามารถพูดคุย sharing ได้โดยไม่ต้องมาที่ห้องสมุด

4. บอกผู้ใช้บริการที่มายืมคืนหนังสือในห้องสมุดเราว่าเรายังมีสื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เช่น ผู้ใช้ชอบยืมหนังสือ A ตอนเขานำหนังสือมาคืนเราก็ให้คำแนะนำว่าในห้องสมุดออนไลน์เราก็มีกลุ่มหนังสือ A ให้เลือกหลายๆ แบบ (ดังนั้นข้อนี้พูดง่ายๆ ว่าเวลาเราซื้อ-บอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรดูรูปแบบด้วย เช่น ebook, audiobook)

5. วิเคราะห์ข้อมูลการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เรื่อยๆ โดยดูจากรายงานที่ระบบจัดเก็บ จากนั้นนำมาวิเคราะห์กลุ่มการใช้งาน เนื้อหาที่ถูกใช้งาน เวลา…….

library analytics

6. ฟังเสียงหรือรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการเสมอ

ลองนำเคล็ดลับดีๆ แค่ 6 ข้อนี้ไปใช้ดูครับ เพียงเท่านี้การยืมคืนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบอาจสูงขึ้นได้นะครับ

_______________________________________________________

ส่งท้ายด้วยการแนะนำ Maruey eLibrary นิดนึงครับ

Maruey eLibrary

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*