credit : Twitter @LibraryLantern

10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต

มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่
คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ

1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น
การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ

2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น
การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ

Bobbie from Temasek Polytechnic
credit : FB Temasek Polytechnic

Read more

แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ

ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึงที่มาของหัวข้อนี้ก่อนเพราะว่า ความตั้งใจที่แท้จริงของการเขียนบล็อกวันนี้มาจาก หลายคนถามถึงแนวทางในการออกแบบห้องสมุดสำหรับเด็ก แต่ เอ๊ะ หัวข้อพูดถึงการออกแบบห้องสมุดทั่วๆ ไป ใช่ครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องการออกแบบห้องสมุดในภาพกว้างๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะเขียนเฉพาะของห้องสมุดเด็กอีกที

Credit Photo : http://www.demcointeriors.com

Read more

"จัดการกับคน" ก่อน "จัดการความเปลี่ยนแปลง"

“จัดการกับคน” ก่อน “จัดการความเปลี่ยนแปลง”

วันนี้ได้มีโอกาสกลับมาอ่านบล็อกของบรรดาผู้บริหารห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ แล้วเจอเรื่องหนึ่งที่่น่าสนใจมาก คือ “การจัดการความเปลี่ยนแปลง” หรือ “Change Management” ซึ่งได้กล่าวถึงความท้าทายจริงๆ ของเรื่องนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงในเชิงเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน จริงๆ แล้วไม่ยาก แต่ความยากอยู่ที่ “คน” เพราะ จะเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง หรือ สิ้นสุดการเปลี่ยนแปลง “คน” คือ สิ่งแรกที่ต้องจัดการ

"จัดการกับคน" ก่อน "จัดการความเปลี่ยนแปลง" Read more

http://www.ala.org/tools/future/trends

ติดตามอนาคตห้องสมุดผ่านมุมมองของ ALA

อนาคตของห้องสมุดจะเป็นอย่างไร อะไรที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด
ในฐานะคนทำงานห้องสมุดเราต้องรู้อะไร แล้วเราต้องติดตามเรื่องไหนเป็นพิเศษ
วันนี้ผมขอแนะนำให้เราเข้าไปอ่าน “Library of the future” โดย ALA

Library Trends & Innovations

Library of the Future” ประกอบด้วยข้อมูล
– โครงการ “Center for the Future of Libraries”
– รายชื่อ Advisory Group
– Blog หรือ รวม feed บทความจาก ALA ที่น่าสนใจ
– Engage
– Trend

ซึ่งเนื้อหาที่ผมอยากเน้นให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก หลักๆ อยู่ที่หน้า Trend

ภายใต้หัวข้อ Trend ได้มีการแบ่งหมวดหมู่ของ Trend ออกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้

1) Society
2) Technology
3) Education
4) Environment
5) Politics (and Government)
6) Economics
7) Demographics

ซึ่งแต่ละกลุ่ม/หมวดหมู่จะแบ่งด้วยสีตามภาพที่ผมแนบมาด้วย

Trend Collection Color Key

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่ามี keyword อะไรที่น่าสนใจ ที่ทำให้เราต้องติดตามบ้าง

– Aging Advances
– Anonymity
– Badging
– Basic Income
– Blockchain
– Co-Working / Co-Living
– Collective Impact
– Connected Learning
– Connected Toys
– Corporate Influence
– Creative Placemaking
– Data Everywhere
– Design Thinking
– Digital Natives
– Drones
– Emerging Adulthood
– Experiential Retail
– Facial Recognition
– Fandom
– Fast Casual
– Flipped Learning
– Gamification
– Haptic Technology
– Income Inequality
– Internet of Things
– Maker Movement
– Privacy Shifting
– Resilience
– Robots
– Sharing Economy
– Short Reading
– Smart Cities
– Unplugged
– Urbanization
– Virtual Reality
– Voice Control

รวมทั้งหมด จำนวน 36 เรื่องที่น่าสนใจ
ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.ala.org/tools/future/trends

http://www.ala.org/tools/future/trends
http://www.ala.org/tools/future/trends

ตัวอย่างเมื่อเราเข้าไปแล้วจะมีเนื้อหา 3 ส่วนที่น่าสนใจ
1. เราจะนำไปใช้ยังไง
2. ทำไมมันถึงสำคัญ
3. link และเนื้อหาที่เอาไว้เรียนรู้เพิ่มเติม

Co-Working / Co-Living
Co-Working / Co-Living

เอาเป็นว่าอยากให้เข้าไปเรียนรู้กันเยอะๆ ครับ
ผมเองก็จะค่อยๆ อ่านและพยายามทำความเข้าใจทีละเรื่องเช่นกัน

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เครื่องยืมคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

เคยเห็นตู้กดน้ำแบบหยอดเหรียญ ตอนนี้มีขนม มาม่า ผลไม้ …
ขายได้ทุกอย่างผ่าน Vending machine
และเครื่อง Vending machine ในปัจจุบันก็ไม่ได้รับแค่เหรียญกับธนบัตรอีกแล้ว
เพราะตอนนี้สามารถเชื่อมต่อกับ e-wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) ได้แล้วด้วย

มานั่งคิดๆ ดู แล้วในวงการห้องสมุดสามารถทำอะไรกับเรื่องเหล่านี้บ้างได้มั้ย
หากใครไปงานหนังสือสองสามครั้งล่าสุด หรือเพิ่งไปเดินเล่นแถวสยาม
เราจะได้เห็นเครื่องจำหน่ายหนังสืออัตโนมัติของร้าน Zombie Book Read more

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

ในปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดหลายแห่งฟังเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้งผมจะพูดถึง Gartner เป็นหลัก แต่วันนี้ที่ผมจะเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน ผมขอหยิบแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาเล่าบ้าง ซึ่งคนที่ผมชอบกล่าวถึงบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น David Lee King (บรรณารักษ์ด้านไอที Idol ของผมเอง) ซึ่งเพื่อนๆ สามารถตามอ่านบล็อกของเขาได้ที่ https://www.davidleeking.com/

Read more

แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวโน้มเรื่องการก้าวเข้าสู่ ห้องสมุดสีเขียว กำลังได้รับการยอมรับในหลายประเทศ (ในประเทศไทยก็เช่นกัน)
วันนี้ผมจึงขอเริ่มเขียนบล็อกนำเสนอไอเดียต่างๆ (ที่เคยเห็น) เพื่อให้เพื่อนๆ นำไปต่อยอดกับห้องสมุดตัวเอง

Essex Libraries installed Kinetic bikes in their libraries.

เริ่มจาก “ปั่นเพื่อชาร์จแบต” ซึ่งผมได้ไอเดียจากห้องสมุดสองแห่งคือ Essex Libraries (ประเทศอังกฤษ) และ Warwick University (ประเทศอังกฤษ) ซึ่งทั้งคู่ได้ใช้แนวคิดนี้สร้างพลังงานสะอาด Read more