แนวทางในการออกแบบห้องสมุดเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ
ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึงที่มาของหัวข้อนี้ก่อนเพราะว่า ความตั้งใจที่แท้จริงของการเขียนบล็อกวันนี้มาจาก หลายคนถามถึงแนวทางในการออกแบบห้องสมุดสำหรับเด็ก แต่ เอ๊ะ หัวข้อพูดถึงการออกแบบห้องสมุดทั่วๆ ไป ใช่ครับ ขอย้ำอีกครั้งว่าวันนี้ขอนำเสนอเรื่องการออกแบบห้องสมุดในภาพกว้างๆ ก่อน แล้วเดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะเขียนเฉพาะของห้องสมุดเด็กอีกที
หลายคนคิดว่า “ห้องสมุดที่น่าเข้าใช้” = “ห้องสมุดที่ติดแอร์” ซึ่งจากการคุยและเคยทำงานออกแบบห้องสมุดมาจึงทราบว่า ความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้บริการ ไม่ได้อยู่ที่ การติดแอร์ในห้องสมุด เพียงแต่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อน ไม่เย็น จนเกินไปหรือ ห้องสมุดบางแห่งจัดหาโซฟาอย่างดีเพื่อนำมาให้ผู้ใช้บริการนั่ง
แต่หารู้ไม่ บ่อยครั้งเราจะเห็นผู้ใช้บริการนั่งกับพื้นและใช้โซฟาเป็นที่วางของเท่านั้น
เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอหยิบเรื่อง “Top 5 Library Design Trends” มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
แนวโน้ม 5 อย่างที่กำลังเป็นที่นิยม และเป็นแนวคิดที่น่าสนใจต่อการออกแบบห้องสมุด คือ
1. มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทเพียงพอหรือไม่
– กระจกสามารถเปิดเพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้หรือไม่
– แสงสว่างจากธรรมชาติก็พอช่วยสร้างบรรยากาศได้
– การใช้โทนสีสว่างภายในห้องสมุดก็น่าสนใจนะ
2. พื้นที่ที่ยืดหยุ่น ขยับไปไหนก็ทำได้
– ชั้นหนังสือที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Mobile Bookshelves)
– เฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่ง
– Build-In ยังพอมีได้เล็กน้อย แต่ไม่เน้น
3. ปลั๊กไฟ ที่ชาร์จอยู่ในทุกๆ จุด
– โต๊ะอ่านหนังสือก็ต้องมี
– จุดชาร์จแบบเป็นทางการ
– รูปแบบในการชาร์จไร้สายก็ต้องคิด
– รวมไปถึงการเดินสายไฟภายในห้องสมุด
4. พื้นที่ศึกษาและเรียนรู้ร่วมกัน
– ห้องศึกษาแบบกลุ่ม
– โต๊ะทำงานกลุ่ม
– Makerspaces
– Co-working space
5. เฟอร์นิเจอร์แบบใหม่ๆ
– จุดให้บริการที่สามารถนั่งหรือยืนทำงานได้
– โต๊ะแบบพับสามารถนำมาเสริมในช่วงเวลาที่ต้องการได้
– Partitions ที่สามารถนำมากั้นโซนได้
– ป้ายประชาสัมพันธ์แบบ Digital (Digital Signage)
เป็นยังไงกันบ้างครั้งกับ แนวทางในการออกแบบห้องสมุดโฉมใหม่ ขอหยิบหัวข้อภาษาอังกฤษมาให้เพื่อนๆ อ่านเพื่อสรุปอีกครั้ง
1. LIGHT & AIRY OPEN SPACES
2. UNFIXED FLEXIBLE SPACES
3. POWER … EVERYWHERE
4. COLLABORATION AND STUDY SPACES
5. FURNITURE TRENDS
เมื่อสภาพทางกายภาพของห้องสมุดดีแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ พัฒนาสื่อทรัพยากรให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ รวมถึงการจัดกิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือปรับเปลี่ยนบริการให้สอดคล้องกับ Lifestyles ของผู้ใช้บริการด้วย เพียงเท่านี้ชีวิตชีวาก็จะกลับมาที่ห้องสมุด และเราก็จะเรียก “ห้องสมุดมีชีวิต” ได้เต็มปากมากขึ้น
หากต้องการอ่านรายละเอียดแบบเพิ่มเติม ขอแนะนำต้นฉบับ ด้านล่างนี้เลย