มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่”
คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ
1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น
การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ
2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น
การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ
เอาเป็นว่าไม่ว่าหุ่นยนต์จะมาทำงานแทนเรา หรือ เราจะนำหุ่นยนต์มาช่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ
ผมว่า “เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดก่อน อย่าไปกลัวสิ่งที่ยังมาไม่ถึง”
บทความวันนี้ผมขอนำเสนอเรื่อง “10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต”
ต้นฉบับจาก “10 skills librarians need for the future”
ที่มาของเรื่องนี้จริงๆ แล้วมาจากบทความใน Journal โดยชื่อเรื่องต้นฉบับ
“Identifying and Exploring Future Trends Impacting on Academic Libraries: A Mixed Methodology Using Journal Content Analysis, Focus Groups, and Trend Reports”
ได้กล่าวถึง “10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต” ซึ่งได้แก่
1. การจัดการกับความเปลี่ยนแปลง (Change management)
2. การพิสูจน์คุณค่า (Proving value)
3. การเป็นผู้ชี้นำและการเจรจาต่อรอง (Influencing and negotiation)
4. การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and innovation)
5. การสนับสนุนงานวิจัยในโลกดิจิทัล (Supporting research in a digital world)
6. การเรียนรู้ด้านดิจิทัล (Digital literacy)
7. การตลาด (Marketing)
8. การจัดการสารสนเทศดิจิทัล (Digital Information management)
9. การพัฒนาและจัดการพื้นที่ (Developing and managing space)
10. การร่วมมือ (Collaboration)
ทั้ง 10 ทักษะ เป็นเรื่องที่สำคัญต่อโลกในอนาคตอย่างมาก เพราะโลกในอนาคตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วกว่าที่เคย และสิ่งที่บรรณารักษ์ต้องเรียนรู้ให้รอบด้านขึ้นยังมีอีกมาก เก่งบรรณารักษ์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องเก่งการทำงานในเรื่องอื่นๆ อีก
หัวข้อทั้งหมดนี้นอกจากคนทำงานที่ต้องรู้แล้ว ผมว่าถ้าภาควิชาในมหาวิทยาลัยจับประเด็นเหล่านี้ถูก ก็จะสามารถพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์การทำงานในอนาคตได้ไม่ยาก
สิ่งที่สำคัญที่อยากเน้นก่อนจบ บทความนี้ คือ “เราไม่สามารถหยุดเรียนรู้ได้แม้เพียงเสี้ยววินาที“
Leave a Reply