Change the Game โลกเปลี่ยน ห้องสมุดเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยน

วันนี้มาเปิดหูเปิดตาและอัพเดทความรู้ในแบบงานประชุมนานาชาติ (International Conference) ของวงการห้องสมุดในระดับนานาชาติอีกงานหนึ่งที่จัดในประเทศไทย งานนี้ชื่อเต็มๆ คือ “2018 OCLC Asia Pacific Regional Council Conference” ธีมของงานนี้ก็คือ “Change the game” เอาเป็นว่าในวันนี้มีอะไรมาอ่านได้เลยครับ

https://www.oclc.org/en/events/councils/2018-19/asia-pacific-regional-council-meetings-home.html

ทำไมผมถึงมางานนี้
ผมรู้จักงานนี้จากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดฯ “The OCLC Asia Pacific Regional Council Meeting 2018
http://tla.or.th/index.php/news-and-events/news-and-events/activities-2561/242-oclc2018
ซึ่งหากดูในเนื้อหาของข่าวมีระบุประโยคหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ “register to attend for free!” ใช่ครั้บ “มันฟรี” อีกจุดหนึ่งที่ทำให้ผมต้องรีบลงทะเบียน คือ งานนี้มี speaker ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจของผม นั่นคือ Skip Prichard นั่นเอง

เอาเป็นว่าเข้าสาระกันเลยดีกว่า วันนี้ผมฟัง session ไหนบ้าง

————————————————————————–

1. How can we change the game? โดย Skip Prichard

เริ่มจากที่ speaker นำเสนอเรื่องรอบๆ ตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น
แผนที่แบบกระดาษ กลายเป็น แผนที่ที่ดูจากคอมพิวเตอร์ จากโทรศัพท์มือถือ
ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ ที่ไม่มีใครใช้อีกแล้ว กลายเป็น ทุกคนมีโทรศัพท์ในมือของตนเอง
การเฝ้าบ้านที่เคยใช้สุนัข กลายเป็น เราดูแลบ้านผ่านโทรศัพท์มือถือ (Smart home)

จากนั้นก็เหล่าถึงคำว่า เกมส์ ให้เราเข้าใจมากขึ้น จากพัฒนาการแบบง่ายๆ
ตู้เกมส์จอดำ – เกมส์แบบตลับ – เกมส์คอมพิวเตอร์ – เกมส์ออนไลน์ – เกมส์ผ่านแว่น VR – เกมส์ที่รวมกับโลกจริงอย่าง AR
สิ่งเหล่านี้ใครเป็นคนเปลี่ยน คนหรือเทคโนโลยี

4 จุดเปลี่ยนที่ Speaker กล่าวถึง​ คือ
1) เปลี่ยนกรอบ/เปลี่ยนสิ่งที่ต้องเห็น
2) เปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานใหม่
3) เปลี่ยนความคิดของตัวเอง
4) เปลี่ยนวิธีการเล่าใหม่ๆ

บทสรุปของจุดเปลี่ยนทั้ง 4 ต้องเริ่มจากตัวเราเอง เปลี่ยนที่ตัวเราแล้วส่งต่อการเปลี่ยนแปลงให้คนอื่น
อย่าสั่งให้คนอื่นเปลี่ยนโดยที่ตัวเองทำแค่สั่ง เพราะสุดท้ายมันไม่มีประโยชน์

นอกจากเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแล้ว ขอให้ระวังเพราะมีบางเรื่องที่เราไม่ควรเปลี่ยนไปตามกระแส ซึ่งมี 4 อย่างเช่นกัน ได้แก่
1) คุณค่าของห้องสมุด
2) หลักการพื้นฐานของห้องสมุด
3) จุดประสงค์ของการทำงานห้องสมุด
4) ความหลงใหลที่คุณมีในงานห้องสมุด

———————————————————————-—-

2. Collaboration, Visibility and Data-driven decision making โดย Ellen Hartman

ถึงข้อมูลที่เอามาแสดงมันจะเยอะแค่ไหน​ก็ตาม แต่ Speaker ก็ไม่ได้กล่าวถึงคำว่า​ “Big Data”​ เลย​ แต่จะบอกถึง​ “power ของความร่วมมือ”​ และ “การนำแนวคิด​ data driven มาใช้”

จุดแรกของการได้มาซึ่งข้อมูล​ คือ​ WORLDSHARE และ​ WORLDCAT ซึ่งปัจจุบันทั้งสองระบบทำงานบน CLOUD BASE SYSTEM

ทำความรู้จักกับระบบ​ Worldshare ในแง่มุมต่างๆ
– Power of cooperative cataloging
– WORLDCAT knowledge based
– Freely available and open access content
– Shared license template
– Shared vendor information center

ในฐานะของการ​ shared content หรือ​ practical content หน่วยงาน OCLC มี​ Community center ที่​ active ตลอด​ และมากไปกว่านั้นยังมี​ Developer​ network ที่พัฒนาการเชื่อมต่อระบบกับข้อมูลด้านอื่นๆ​ ที่สำคัญอีกด้วย

เรื่องต่อมาที่สำคัญพอๆ กับระบบ Worldshare และ Worldcat คือ​
– แล้วห้องสมุดจะเอาข้อมูลไปใช้ได้ยังไง
– เราจะหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่ไหน
– การออกแบบ​ ux เกิดจากการวิเคราะห์​ web analytics และ​ การหา best practices ซึ่ง OCLC ก็พัฒนาเรื่องนี้มาตลอด

พฤติกรรมผู้ใช้ในการค้นข้อมูล​
– ใช้​ 5 คำในระบบห้องสมุด​ ใช้​ 3 คำใน​ google
– หน้าจอที่ใช้ง่ายมีผลต่อการค้นหาด้วย
– อัลกอริทึ่มในการแสดงผล​มีความถูกต้องเพียงใดก็มีผล
– ฟีเจอร์ใหม่ๆ​ ที่น่าสนใจ​ ช่วยเพิ่มจำนวนการใช้ได้

OCLC​ ให้ความสำคัญกับเชื่อมโยงข้อมูล​ ไม่ใช่​ CATALOG ให้ห้องสมุดตัวเองเพียงอย่างเดียว​ แต่ยังเชื่อมโยงและส่งต่อให้​ partner อย่าง​ google Amazon​ ด้วย เช่น​ หากเราค้นข้อมูลหนังสือใน​ google​book จะสามารถดูห้องสมุดที่มีหนังสือเล่มนั้นที่อยู่ใกล้เราที่สุดได้ด้วย

From​ data to insight นำข้อมูลไปให้ผู้บริหารดูได้อย่างไรบ้าง​ ข้อมูลสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้
– ใช้เพื่อวางแผนเรื่องงบประมาณ
– ใช้เพื่อคัดเลือกทรัพยากร​ เช่น​ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ถูกใช้​ เราควรต่ออายุการสมัครสมาชิกหรือไม่
– ใช้เพื่อบริหารจัดการห้องสมุดสาขา
– ใช้ในการนำเสนอคุณค่าของการมีห้องสมุด
– ใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดที่วัดผลได้

ที่สำคัญข้อมูลที่จะนำมาให้ผู้บริหารหรือผู้ใช้ดู​ อย่าลืมทำ visualized เพื่อให้เห็นภาพด้วยนะ​ ไม่งั้นดูไม่รู้เรื่อง

————————————————————————–

3. Evolving Scholarly Record โดย Aaron Tay และ Titia van der Werf

Speaker 1 Aaron Tay จาก SMU (Blogger : http://musingsaboutlibrarianship.blogspot.com/)

ตำแหน่งงานที่ทำอยู่ คือ Librarian Analytics ซึ่งทำอะไรบ้าง
– ศึกษานโยบายขององค์กร และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสให้กับองค์กร
– ศึกษาเรื่องใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับข้อมูล (Big data)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้งาน/เอกสารทางวิชาการเปลี่ยนไป มี 3 เรื่อง ดังนี้
1. ความหลากหลายในการจัดเก็บ
2. สารสนเทศแบบเปิด (Open Access)
3. เทคโนโลยีใหม่ๆ (New Technology)

จากทั้งสามเรื่องทำให้เรามีบทบาทใหม่ๆ เช่น
– รวบรวมและจัดเก็บตัวแปรใหม่ๆ ทั้งในเรื่องของ inputs, processes, outputs *** อันนี้คืองานเทคนิคแบบใหม่ๆ หรือเปล่า
– ค้นหาและอำนวยความสะดวก *** อันนี้คืองานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าหรือเปล่า
– การให้การศึกษาในเรื่องกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ *** งานสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสารสนเทศหรือเปล่า

จะเห็นได้ว่าไม่ได้ต่างจากงานเดิมนะ แต่แค่เราต้องรู้เรื่องใหม่

ตัวอย่างที่น่าสนใจ (Open Access + ML)
Scholarcy – auto summarization
Scite – semantic parsing of citations

สุดท้ายตัดจบแบบเบาๆ ว่า ข้อมูลใน scholar ไม่ใช่ของห้องสมุดแต่ห้องสมุดจะ take role ในเรื่องของการอำนวยความสะดวก และพัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้ใช้เข้าถึงเรื่องต่างๆ ได้ง่าย

Speaker 2 (Titia van der Werf) ได้กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ OCLC Research ว่าเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องใหม่ๆ ในวงการ เช่น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อใหม่ๆ อีกเรื่องที่ถูกพูดถึงเยอะ คือ Lifelong Learning (Trend ในวงการศึกษา) ซึ่ง OCLC ก็ได้จัดทำคอร์สศึกษาระยะสั้นเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนและออกใบประกาศนียบัตรได้

ทำไม Scholar ต้องเปลี่ยน : เพราะในยุคเดิมเราพูดแค่เรื่องเอกสารที่จับต้องได้เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน Landscape ของเรื่องนี้มันขยายตัวตามสื่อสังคมออนไลน์ยุคใหม่

Factor สำคัญที่ทำให้เกมส์เปลี่ยน
1. Competition (มหาวิทยาลัย, สถานศึกษา, สำนักพิมพ์)
2. Digital (เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว)
3. Library Stewardship (การดูแลห้องสมุด)

—————————————————————————————–

4. Transforming trend insights into innovations โดย Nathania Christy

ก่อนเข้าเรื่องก็ตามธรรมเนียมคือแนะนำ​ trend watching ว่าเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูล​ Trend​ หลายๆ​ อุตสาหกรรม​ แล้วมีสำนักงานกระจายอยู่หลายเมือง​ ซึ่งแถวนี้เองออฟฟิตก็อยู่ที่สิงคโปร์

ทุกอย่างเปลี่ยนไป​ และเปลี่ยนไปเร็วมาก​ ตัวอย่างหนึ่งที่เราเห็น​ คือ​ ห้องสมุดไม่ได้มีแค่หนังสือให้ยืมเพียงอย่างเดียว​ แต่สามารถให้ยืมเครื่องครัวได้แล้ว

การที่เราต้องรู้​ Trend​ สาเหตุหลักๆ​ มาจากการที่เราต้องการรู้ความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

Trend​ หลักๆ​ ที่น่าจะเกี่ยวกับเรา​ ขอยกมา​ 4 ตัว​ ดังนี้
1.Status Sandcastle
2.Fantastic IRL
3.Magic Touchpoint
4.Village Squares

Trend ต่างๆ​ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในแต่ละด้าน​ เช่น
ข้อที่​ 1 จะ​ link กับ​ Social​ status ทุกอย่างที่เราใช้​ ที่เราซื้อ​ ที่เราทำ​ เพราะหน้าตาของสังคม
ข้อที่​ 2 จะ​ link กับ​ Escapism การหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
ข้อที่ 3 จดไม่ทันครับ
ข้อที่​ 4 link กับเรื่อง​ connection ทุกคนต้องการเชื่อมต่อและติดต่อกับคนอื่น​ อยู่ด้วยตัวคนเดียวไม่ได้

โดยการบรรยายของ Speaker ได้ตั้งคำถามให้เราคิดด้วยทุกข้อ

ตัวอย่างที่วิทยากรนำมาพูดมันเยอะมากๆ​ ขอยกเป็นตัว​อย่างนะครับ​ เช่น
– The met การไปชมพิพิธภัณฑ์ในแบบที้ไม่เหมือนเดิม
– Ikea สอนทำอาหารอย่างง่าย
– Tabi kaeru เกมส์กบจากญี่ปุ่น
– พิพิธภัณฑ์​ louvre นำชมตามลองมิวสิควีดีโอของ​ beyonce
– man city and fantom นาฬิกาที่บอกตารางการแข่งขันฟุตบอลของทีม MAN​ city
– game minecraft ที่สอนให้เด็กรักการอ่าน
– instanovel ของ​ nypl
– wechat mini program
– Intime mall ที่มีบริการ​ magic mirror ในห้องน้ำหญิง
ฯลฯ

คลิปวีดีโอที่เปิดใน session นี้
1) Ikea​ easy recipes – https://youtu.be/uLCnabTJTIA
2) #airmaxline – https://youtu.be/v2_dxeq0LlQ
3) Heineken’s generation apart – https://youtu.be/82cPgU_D15s

ปิดท้ายด้วยการบอกว่า​ Trend​ ไม่ใช่ทุกอย่าง​ และถ้าอยากทำให้เห็นภาพชัด​ วิทยากรแนะนำเครื่องมือ​ the customer trend canvas

—————————————————————————————–

นี่ก็เป็นเพียงการสรุปตามความเข้าใจของผมนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้

ภาพบรรยายกาศโดยรวมในงานนี้

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

2 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*