ความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก (ข้อมูล Survey)

วันนี้ขอโพสอะไรสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิกมาให้อ่าน ทั้งนี้ข้อมูลมาจากการสอบถามบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 336 คน

Wiley ได้นำมาจัดทำเป็น Infographic

Credit : https://www.wiley.com/network/librarians/librarians-infographics/infographic-insights-on-librarian-challenges-amp-success-metrics-in-asia-pacific

สรุปข้อมูลจากภาพ Infographic

1) ข้อมูลผู้ที่ตอบแบบสอบถาม
1.1 บรรณารักษ์ จำนวน 336 คน จาก 21 ประเทศ (มาจากโซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุด)
1.2 ทำงานในส่วนของห้องสมุดมหาวิทยาลัยมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้บริหาร และบรรณารักษ์ฝ่ายทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

2) ความท้าทายสำหรับบรรณารักษ์ (5 อันดับสูงสุด) มีดังนี้
อันดับที่ 1 การเรียนรู้เกี่ยวกับการให้บริการใหม่ๆ และการแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้บริการ
อันดับที่ 2 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหา (Content) ในเชิงลึกมากขึ้น
อันดับที่ 3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Trends ของงานวิจัยและการสนับสนุนวิชาการ
อันดับที่ 4 สร้างความเชื่อมโยงและสร้างความผูกพันระหว่างผู้ใช้บริการกับห้องสมุด
อันดับที่ 5 การจัดการงบประมาณ (ที่มีอยู่อย่างจำกัด)

3) ลักษณะงาน/หน้าที่ที่ถูกท้าทาย
3.1 บรรณารักษ์ที่ดูแลเรื่องการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด – งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
3.2 บรรณารักษ์ที่ให้บริการตอบคำถาม – ต้องเข้าใจเนื้อหาเชิงลึก และรู้จัก trends ด้านงานวิจัย
3.3 ห้องสมุดของหน่วยงานรัฐและห้องสมุดโรงพยาบาลมีความท้าทายคล้ายๆ กับห้องสมุดมหาวิทยาลัย

4) ปัจจัยและตัวชี้วัดความสำเร็จของห้องสมุด
4.1 ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
4.2 จำนวนการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทั้กายภาพและออนไลน์
4.3 ความสำเร็จของหน่วยงาน (ดูจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยหรือรางวัลที่องค์กรได้รับ)
4.4 ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
4.5 ได้รับงบประมาณมากขึ้น
4.6 ความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และการอยากทำงานต่อ (ไม่คิดลาออก)
4.7 อื่นๆ

นี่ก็เป็นข้อมูลสรุปโดยสังเขปนะครับ เพื่อให้เพื่อนๆ เห็นภาพมากขึ้นผมขอยกตัวอย่างเรื่องตัวชี้วัดความสำเร็จให้เพื่อนๆ เห็นภาพมากขึ้น โดยขอยกกรณีศึกษาของห้องสมุดมารวย (ห้องสมุดที่ผมดูแลอยู่มาเปรียบเทียบกับข้อมูลข้างต้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ – ห้องสมุดมารวย

  1. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ — เรามีมาตรวัดเรื่องนี้เป็นปกติอยู่แล้ว และค่าเฉลี่ยของการวัดอยู่ที่ 85%
  2. จำนวนการใช้งานทรัพยากร — นอกจากเราจะวัดจำนวนการเข้าใช้พื้นที่ห้องสมุดแล้ว เรายังวัดจำนวนการยืมคืน มูลค่าประหยัดให้สมาชิก และอัตราหมุนเฉลี่ยของการยืมหนังสือ (ทั้งในรูปแบบกายภาพและออนไลน์)
  3. ห้องสมุดมารวยได้รับรางวัล ห้องสมุดเฉพาะดีเด่น ภาคเอกชนในปี พ.ศ. 2559
  4. มีบริการเพื่อตอบโจทย์ Lifestyle ของผู้ใช้บริการแบบใหม่ๆ เช่น Maruey eLibrary ผู้ใช้ไม่ต้องมาที่ห้องสมุดก็สามารถอ่านหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา
  5. งบประมาณ — อันนี้ห้องสมุดวัดเรื่องรายได้ และการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ (เราไม่ใช่องค์กรที่แสวงหาผลกำไร)
  6. Engagement ของคนทำงาน เราให้พัฒนาทำ IDP (แผนพัฒนาส่วนบุคคล)

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับคิดว่าความท้าทายของบรรณารักษ์ในยุคนี้ คือ เรื่องใด และตัวชี้วัดความสำเร็จที่แตกต่างจากนี้มีอีกหรือไม่ แสดงความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยครับ

Credit ข้อมูลและภาพจาก
https://www.wiley.com/network/librarians/librarians-infographics/infographic-insights-on-librarian-challenges-amp-success-metrics-in-asia-pacific

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*