ห่างหายไปหลายวัน วันนี้พอจะมีเวลามาเขียนบล็อกให้อ่านเลยขอเลือกสิ่งที่ยังค้างคา คือ การรีวิวหนังสือในวงการห้องสมุด (วันก่อนที่ผมเปิดโหวตเล่มนี้มาเป็นอันดับสอง)
eBook เล่มนี้ “Special Libraries as Knowledge Management Centres” หรือแปลเป็นไทยว่า “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร” เป็นอีกเล่มที่ผมอ่านแล้วก็ทำให้ได้แง่คิดดีๆ หลายเรื่อง และที่สำคัญ คือ ใกล้ตัวผมมากๆ (ในฐานะของคนที่ทำงานในห้องสมุดเฉพาะเหมือนกัน) สาระสำคัญมีอะไรบ้างไปอ่านกันเลยครับ
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Special Libraries as Knowledge Management Centres
ผู้แต่ง : Eva Semertzaki
ISBN : 9781843346135
ปีพิมพ์ : 2011
จำนวนหน้า : 336 หน้า
Editorial Reviews ใน Amazon ได้กล่าวไว้ว่า
This timely and practical book is recommended for special librarians and those managing corporate information services.
ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 5 บทดังนี้
บทที่ 1 Special Libraries
บทที่ 2 Knowledge Management
บทที่ 3 Components of a knowledge management system at a special library
บทที่ 4 Implementation of a knowledge management centre at a special library
บทที่ 5 Lessons learned, evaluation, marketing, and the way forward : case studies
เนื้อหาสรุปของแต่ละบท
บทที่ 1 Special Libraries
กล่าวถึงภาพรวมของห้องสมุดเฉพาะ (นิยาม, ภารกิจ, ประวัติความเป็นมา, คนทำงานในห้องสมุดเฉพาะ) โดยในส่วนของนิยามห้องสมุดเฉพาะเพื่อให้ชัดเจน ลองอ่านประโยคนี้ดูครับ “The Library that serves business industry and government”
ห้องสมุดเฉพาะ = ศูนย์ข้อมูล (Information Centre), ศูนย์วิจัย (Research Centre), ห้องสมุดบริษัทหรือห้องสมุดองค์กร (Corporate/Company Library)
บรรณารักษ์ในห้องสมุดเฉพาะ = Information-resource experts, Information professionals
ลักษณะเด่นของห้องสมุดเฉพาะ ได้แก่ 1) มีหัวเรื่องที่สำคัญเพียง 2-3 เรื่องในห้องสมุดเท่านั้น 2) ให้บริการเฉพาะกลุ่ม 3) สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานต้นสังกัด 4) คนทำงานต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง — จากลักษณะเด่นที่กล่าวมาอาจใช้เป็น Checklist เบื้องต้นก็ได้ว่าห้องสมุดของคุณเข้าข่ายห้องสมุดเฉพาะหรือไม่ ???
นอกจากนี้ภายในบทนี้ยังกล่าวถึงภาพรวมของงานบริการต่างๆ ที่ห้องสมุดเฉพาะควรมี เช่น บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า (คล้ายๆ กับห้องสมุดสถาบันการศึกษา)
สมรรถนะของนักสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
- Managing information organization
- Managing information resources
- Managing information services
- Applying information tools and technologies
ทิ้งท้ายบทด้วยการวัดผลของห้องสมุดเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถวัดได้แบบง่ายๆ เหมือนห้องสมุดประเภทอื่นๆ เพราะหน่วยงานต้นสังกัดมักคาดหวังผลกระทบ(Impact) มากกว่าจำนวนการเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
บทที่ 2 Knowledge Management
เป็นบทที่กล่าวถึงเรื่องการจัดการความรู้แบบเบื้องต้น (นิยาม, แนวคิด, ความแตกต่างระหว่างความรู้ สารสนเทศ และข้อมูล, คุณลักษณะเด่นของการจัดการความรู้)
ลักษณะเด่นของการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) เป็นส่วนหนึ่งของการทำวิจัย/การศึกษา 2) เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ 3) เป็นส่วนหนึ่งของการสรุปผล 4) เป็นการเชื่อมโยงเรื่องต่างๆ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจของบทนี้ เช่น
- 10 basic principles of knowledge management
- Tacit and explicit knowledge
- Agents of knowledge
- Knowledge sharing
- Personal Knowledge Mangement (PKM)
บทที่ 3 Components of a knowledge management system at a special library
บทนี้เน้นถึงบทบาทของการจัดการความรู้ในห้องสมุดเฉพาะทาง ซึ่งเรื่องแรกๆ ที่ต้องทำ คือ การจัดการความรู้เพื่อตอบโจทย์หน่วยงานต้นสังกัด และบรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะจะต้องทำงานบทฐานของความรู้เท่านั้น (Working with knowledge) ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมขององค์กรแห่งการเรียนรู้
ประเภทของโครงการจัดการความรู้ (KM projects)
1) Create knowledge repositories
2) Improve knowledge access
3) Enhance knowledge environment
4) Manage knowledge as an asset
มาดูตัวอย่างการเชื่อมโยงระหว่างห้องสมุดเฉพาะกับการจัดการความรู้กัน เช่น knowledge repositories ใช้ Dspace ในการสร้างก็ได้, คำนึงถึงเรื่องการเข้าใช้ผ่าน Search Engine, Taxonomy, Intranet, Technology Embedded, OPAC, Record management, Selective Dissemination of Information (SDI), Ask a Librarian Service, สิ่งพิมพ์ที่จัดทำโดยห้องสมุด/หน่วยงาน ฯลฯ
บทที่ 4 Implementation of a knowledge management centre at a special library
บทนี้เน้นการนำมาใช้อย่างเดียว โดยเริ่มต้นจากบรรณารักษ์ในห้องสมุดเฉพาะจะต้องเข้าใจเรื่องการ Feed and Weed (นำสารสนเทศเข้าและคัดสารสนเทศออก) และตามด้วยความสามารถในการ Organising (จัดการสารสนเทศ) สิ่งที่สำคัญอีกเรื่องที่ถูกย้ำ คือ ต้องขอการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดด้วย (ห้องสมุดอยากจัดการอย่างหนึ่งแต่องค์กรแม่อยากทำอีกแบบคงไม่เวิร์ค)
บทนี้ถ้าเป็นไปได้อยากให้อ่านทุกหน้า เพราะไม่สามารถย่อได้เลย เพราะในหนังสืออธิบายได้ละเอียดมากและมีคำทีน่าสนใจเพียบ
บทที่ 5 Lessons learned, evaluation, marketing, and the way forward : case studies
บทสุดท้ายเป็นการเขียนสรุปจากบทที่ 1 – 4 ที่ผ่านมาแต่ได้แทรกเรื่องกรณีศึกษาต่างๆ เยอะมาก ซึ่งพออ่านแล้วจะเป็นการทวนซะมากกว่า เช่น สิ่งที่หน่วยงานต้นสังกัดจะได้จากการจัดการความรู้ สิ่งที่ห้องสมุดเฉพาะจะได้จากการจัดการความรู้
การวัดผล (evaluation) สามารถวัดผลได้จากเครื่องมือซึ่งได้แก่ Surveys, Interview, Satisfaction, ROI, Impact นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งมุมมองในการวัดผลได้เป็น 4 เรื่อง ได้แก่ Customer, Process, Innovation, Finance (จริงๆ อันนี้ผมเรียกว่า BSC หรือ Balanced Scorecard)
การตลาดและประชาสัมพันธ์ (marketing) —> เราอยู่ในยุคของเว็บ 2.0 หรือ ยุคที่ Social Media มีอิทธิพลต่อการรับข่าวสารหรือกระจายข่าวสาร ซึ่งในส่วนนี้จะแนะนำสิ่งที่ควรทำ และสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง
กรณีศึกษาที่น่าสนใจ
1) Central Bank and Financial Institution Librarians’ mailing list
2) Knowledge Sharing approaches in the United Nations (UN)
3) The Knowledge management strategy at the Financial Services Authority
เอาเป็นว่ากรณีศึกษาเน้นเรื่องห้องสมุดด้านการเงิน (เข้ากับของผมเลย)
เอาเป็นว่าก็เป็นหนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจดีครับ ปรับเปลี่ยน mindset ผมหลายอย่าง และถ้าคนอ่านเป็นหน่วยงานต้นสังกัด ผมเชื่อว่าเขาจะเข้าใจคนทำงานอย่างเรามากขึ้น และถ้าในมุมของคนอื่นที่ไม่ได้อยู้ในห้องสมุดเฉพาะ ผมเชื่อว่าบางเรื่องก็คงสะกิดให้เพื่อนๆ รู้สึกตัวว่า การวัดผลของห้องสมุดในโลกไม่ได้มีแค่การวัดในเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว
แต่เรื่องหนึ่งที่ผมไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มนี้ คือ ไม่มีภาพ หรือ กราฟอะไรใดๆ ทั้งสิ้น (เน้นตัวอักษรซะเยอะ แถมหังเรื่องที่เป็น Bullet ต่างๆ ก็ไม่ค่อยมีอีก ดังนั้นจับใจความค่อนข้างยากริดนึง ถ้าเพื่อนๆ มีเวลาผมว่าค่อยๆ อ่านก็น่าจะได้สาระมากกว่านี้ครับ
เอาเป็นว่าได้ไอเดียที่จะเขียนเรื่องการวัดผลของห้องสมุดต่อ เอาไว้ถ้ามีโอกาสคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างจริงจังอีกครั้งครับ
Leave a Reply