ห้องสมุดมุมมองใหม่ : เปลี่ยน “ห้องเก็บหนังสือ” เป็น “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ”

วันนี้ได้อ่านบทความ “What makes a successful informal learning space?” แล้วรู้สึกว่าเป็นบทความที่สั้นแต่ได้ใจความที่ลึกซึ้งพอสมควร แถมชี้คุณลักษณะของการทำ “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ” หรือ “Informal Learning Space” ได้อย่างดี

ที่มาของบทความนี้มาจากบทความที่ตีพิมพ์ใน “New Review of Academic Librarianship” ของ Taylor & Francis Online ซึ่งผู้เขียน Deborah Harrop และ Bea Turpin นำกรณีศึกษาจาก Sheffield Hallam University มาเป็นข้อมูลตั้งต้น

9 คุณลักษณะที่ทำให้ “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ” ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

  1. Destination : พื้นที่อยู่ที่ไหน ใกล้ผู้เรียนหรือไม่
  2. Identity : เอกลักษณ์ของพื้นที่แห่งนี้คืออะไร เช่น เข้าใช้ได้ง่าย และเป็นมิตรกับผู้เรียนหรือไม่
  3. Conversations : พื้นที่นี้พูดคุยกันได้หรือไม่ เน้นทำงานร่วมกันและมีการสื่อสารระหว่างกัน
  4. Community : พื้นที่แห่งนี้เป็นชุมชนและมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบชุมชนกันได้หรือไม่ ถ้าเรียนรู้ในเรื่องที่คล้ายๆ กันจะดีมาก
  5. Retreat : พื้นที่แห่งนี้มีความเป็นส่วนตัวหรือไม่ บางคนไม่ชอบความจอแจ มีห้องเงียบหรือไม่
  6. Timely : เป็นพื้นที่ที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาหรือไม่ อยากใช้เมื่อไหร่ต้องได้ใช้
  7. Ergonomics : เป็นพื้นที่เพื่อทำงานมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ เช่น โต๊ะขนาดใหญ่ ฯลฯ
  8. Resources : เน้นการเข้าถึงด้านเทคโนโลยี มีอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง
  9. Refreshment : พื้นที่พักผ่อน นำเครื่องดื่มหรืออาหารแบบเบาๆ เข้ามาได้หรือไม่ หรือมีการจัดมุมเครื่องดื่มในพื้นที่

เป็นยังไงกันบ้างครับกับ 9 คุณลักษณะที่จะทำให้ “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ” ประสบความสำเร็จ อ่านแล้วสามารถนำมาประยุกต์กับเรื่องของห้องสมุดได้อย่างดี (ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาน่าอ่านและปรับใช้มากที่สุด)

9 คุณลักษณะในแบบ Infographic (รายละเอียดที่น่าอ่านเหมือนกัน)

ห้องสมุดในปัจจุบันไม่ใช่แค่สถานที่ที่เก็บแต่หนังสือ และเป้าหมายของคนที่มาก็ไม่ใช่เรื่องการอ่านหนังสืออีกต่อไป แต่ห้องสมุดจะถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่พื้นสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการเกิดการเรียนรู้เข้ามาอ่านหนังสือร่วมกัน ทำงานร่วมกัน สร้างกิจกรรมร่วมกัน…

มาร่วมกันเปลี่ยนมุมมอง “ห้องสมุด” ให้กลายเป็น “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ” กันนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*