การนำข้อมูลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนห้องสมุด (Data Driven in Library work)

ช่วงนี้หลายห้องสมุดกำลังอยู่ในสภาวะที่งุนงงกับบรรดา Buzzword มากมาย และหนึ่งใน Buzzword ที่ได้ยินกันมากๆ คือ Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ ว่าแต่ข้อมูลในห้องสมุดมีอะไรที่เรียกว่า Big Data บ้าง — คำตอบ คือ ไม่มีข้อมูลที่ขนาดใหญ่แบบนั้นอยู่จริงในห้องสมุดเพียงแห่งเดียว (แต่ถ้าบอกว่าข้อมูลของการใช้ห้องสมุดทั้งประเทศ หรือ ถ้าห้องสมุดทุกแห่งในประเทศเชื่อมโยงกันแล้ว อาจจะมี Big Data จริงๆ ก็ได้)

ถ้าอย่างนั้นห้องสมุดไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่อง Data หรือครับ? คำตอบ คือ ไม่ครับ ยังไงก็ต้องสนใจอยู่ดี และปัจจุบัน Data Driven Business หรือ การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลกำลังเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ

แล้วในห้องสมุดที่เราทำงานหล่ะ มีข้อมูลอะไรบ้าง

  • ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ หนังสือ วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ …..
  • ข้อมูลสมาชิก ชื่อ นามสกุล ……
  • ข้อมูลการเข้าใช้ (ห้องสมุดที่มี security gates) ผู้เข้าใช้เป็ฯใคร เข้าออกกี่โมง
  • ข้อมูลการยืมคืน ชื่อผู้ยืม ชื่อหนังสือ วันที่ยืม วันกำหนดส่ง วันที่คืน ค่าปรับ
    และข้อมูลอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าว

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เราต้องใช้ข้อมูล คือ
1 ถ้าไม่มีข้อมูล การตัดสินใจทำอะไรบางอย่างอาจเป็นแค่การมโนไปเอง
2 ข้อมูลจะแสดงว่าอะไรที่คุณทำแล้วมันโอเค
3 ข้อมูลจะแสดงว่าอะไรที่คุณต้องปรับปรุง
4 ข้อมูลจะทำให้ห้องสมุดของคุณได้รับการยอมรับจากชุมชน
5 ข้อมูลจะทำให้ห้องสมุดของคุณดีขึ้น *** อันนี้สำคัญมาก

ข้อมูลช่วยให้เราตอบคำถามเหล่านี้ได้
1 คุณมีหนังสือเท่าไหร่ หนังสือถูกใช้แค่ไหน และใครเป็นคนใช้มัน
2 ระหว่างห้องสมุดของคุณกับห้องสมุดที่อื่นเปรียบเทียบจำนวนการใช้กันแล้วเป็นอย่างไร
3 ผลกระทบของห้องสมุดคืออะไร

ตัวอย่างจากด้านบน เราสามารถแบ่งระดับของการใช้ข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ คือ
1 ข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
2 ข้อมูลที่เกี่ยวกับการวางกลยุทธ์องค์กร
3 ข้อมูลที่เกี่ยวกับผลกระทบและคุณค่าของห้องสมุด

ในระดับที่ 1-2 ส่วนใหญ่จะเน้นข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น จำนวน ร้อยละ เป็นต้น
ในระดับที่ 3 จะเน้นข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น ผลสำรวจ ข้อมูลจากการพูดคุยกับลูกค้า feedback เป็นต้น

เมื่อเรามีข้อมูล ตอบคำถามต่างๆ ที่เราตั้งได้ เรื่องสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การนำเสนอข้อมูล Data Visualization ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาทำเป็นแผนภูมิ กราฟเส้น …. ไปจนถึงการทำ Infographic เพื่อนำเสนอข้อมูล

https://librariandesignshare.org/2017/02/10/sharing-your-results-libqualinfographic/

เอาเป็นว่าเรื่อง Data Driven กับงานห้องสมุดวันนี้ผมขอเล่าให้อ่านเพียงเท่านี้ก่อน จริงๆ มีหลายเว็บที่อยากแนะนำให้ไปอ่าน/ไปดูต่อ ได้แก่

ข้อแนะนำก่อนจะมาคิดเรื่อง Data Driven คือ ลองฝึกตั้งคำถามแล้วลองดูก่อนว่าในห้องสมุดของเรามีข้อมูลดังกล่าวหรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าเราต้องเริ่มหาข้อมูลมาสนับสนุนใหม่ (ข้อมูลไม่สามารถเก็บย้อนหลังได้ และ ข้อมูลอาจอย่างก็มีการหมดอายุได้เช่นกัน)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *