“จุ๊ จุ๊ จุ๊ … ที่นี่ห้องสมุดนะ อย่าทำเสียงดังรบกวนคนอื่นสิครับ”
“ชู่ส์… เงียบๆ กันหน่อย ที่นี่ห้องสมุดนะ”
ประโยคยอดฮิตของเหล่าบรรณารักษ์ที่คอยพิทักษ์ความเงียบกริบในห้องสมุด
จากประโยคข้างต้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาพลักษณ์ของห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่เงียบกริบเท่านั้น ซึ่งหากเราทำความเข้าใจถึงอดีต เราจะทราบว่า ภายในห้องสมุดจะแต่งไปด้วยหนังสือวิชาการ และผู้คนที่เข้าไปใช้ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องอ่านหนังสือในสถานที่แห่งนี้ และต้องการสมาธิสูงมากๆ เพื่อจะเรียนรู้ให้แตกฉาน และห้องสมุดก็เป็นสถานที่แบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน
กฎระเบียบมากมายถูกกำหนดในห้องสมุด เช่น
- ห้ามส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
- ห้ามนำเครื่องดื่มหรือขนมเข้ามาทาน
…
พอโลกเปลี่ยนไป ผู้คนก็เปลี่ยนไป การมาใช้บริการห้องสมุดในปัจจุบันสิ่งที่ผมเห็นในห้องสมุดหลายๆ แห่ง คือ
ผู้ใช้บริการมาใช้พื้นที่ของเราในฐานะ “สถานที่ทำงาน” “สถานที่อ่านหนังสือ” “สถานที่เตรียมสอบ” และ ไม่ได้หยิบหนังสือของห้องสมุดเรามานั่งอ่านในพื้นที่ (คนส่วนใหญ่นะครับ)
บริบทของห้องสมุดหลายแห่งก็หันไปเน้นคำว่า “พื้นที่เรียนรู้” หรือ “Learning Common” มากขึ้น
ผู้ใช้บริการบางส่วนต้องการ “ทำงานกลุ่ม” และ “ใช้เสียงภายในพื้นที่เรียนรู้”
พอเสียงดัง กลุ่มผู้ใช้บริการอีกกลุ่มที่ต้องการ “สมาธิ” และ “พื้นที่เงียบ” ก็เริ่มโวยวาย
การแก้ไขเบื้องต้นของห้องสมุดหลายแห่ง คือ
“การแบ่งพื้นที่ให้มีทั้ง พื้นที่ที่ใช้เสียงได้ และ พื้นที่เงียบกริบ”
(หากห้องสมุดมีพื้นที่ขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้)
แล้วถ้าเป็นห้องสมุดขนาดเล็กหล่ะครับ จะจัดการกับความต้องการเสียงและความเงียบอย่างไร
Just ideas
- Silent Time แบ่งตามเวลาได้หรือไม่ครับ เช่น ช่วงเช้าขอให้เงียบ ช่วงบ่ายขอให้ใช้เสียงได้
- Silent Date แบ่งตามวัน เช่น วันคู่ให้ใช้เสียงได้ วันคี่ให้เงียบ …. วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ให้เงียบ วันอังคารและพฤหัสให้ใช้เสียง
- Silent Space หน้าห้องสมุดใช้เสียง ภายในห้องสมุดห้ามใช้เสียง
…
เพื่อนๆ ว่ายังมีวิธีการจัดการเรื่องนี้ได้อีกหรือไม่ครับ ลองเสนอไอเดียโดนๆ มาให้ผมอ่านกันบ้างนะครับ