วันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (8 พ.ย. 62) คอลัมน์ Think Marketing Weapon โดย รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ (Sasin) เรื่อง “จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม” พออ่านจบรู้สึกว่าเป็นประโยชน์มากๆ เลยขอนำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน
Keywork : จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม
เป็นคำที่ผมเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเข้าใจความหมาย แต่มันเชื่อมโยงกันอย่างไร เรามาดูกันทีละคำเลยครับ
“จินตนาการ” คำๆ นี้ทำให้นึกถึงประโยคเด็ดของ Albert Einstein คือ “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” ว่าแต่สงสัยกันมั้ยครับว่าทำไม จินตนาการ ถึงมีความสำคัญกว่า ความรู้
[ความรู้มักอยู่บนฐานการคิดบางอย่างซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์จึงทำให้อาจมองว่ามันอยู่ในกรอบที่จำกัด แต่ในขณะที่จินตนาการเป็นไปได้แบบอิสระ จึงช่วยปลดล็อกให้คนคิดเกิดวิวัฒนาการ (Evolution) และขยายจนใหญ่ขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (Disruption) ไล่ไปจนถึงการปฏิวัติ (Revolution)]
“ความคิดสร้างสรรค์” เป็นคำที่ช่วงหลังๆ มา ศาสตร์ทางด้านการบริหารธุรกิจหยิบมากล่าวถึงค่อนข้างบ่อย และเราอาจเคยได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”
[ซึ่งโดยทั่วไป “ความคิดสร้างสรรค์” มาจาก การสร้างความแปลกใหม่ (Newness) หรือ การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) โดยอาจเป็นการต่อยอดงานเดิมหรือสร้างสรรค์งานใหม่เพื่อขึ้นมาแทนงานเดิมก็ได้]
“นวัตกรรม” เป็นคำที่แสดงถึงรูปธรรมมากที่สุด กล่าวคือ กรรม = การกระทำ นวัต = สิ่งใหม่ ดังนั้น นวัตกรรม จึงต้องมี Action หรือการปฏิบัติมาเกี่ยวโยง
“จินตนาการ” = Dream
“ความคิดสร้างสรรค์” = Think
“นวัตกรรม” = Do
ย้อนกลับมาคิดกันสักนิดครับ บ่อยครั้งที่เราจะให้ความสำคัญกับคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” กับ “นวัตกรรม” เป็นหลักเท่านั้น เพราะในเชิงธุรกิจงานต้องการเน้นที่ผลลัพธ์และการประเมินความคุ้มค่า เราจึงตั้งตั้นจากการคิดแบบมีกรอบ หรือ คิดแบบมี Framework เท่านั้น
ผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า ถ้าเราเพียงแค่เติม “จินตนาการ” ลงไปในงานของเราบ้าง บางทีเราอาจได้ Albert Einstein ในวงการห้องสมุดก็ได้
ห้องสมุดแห่งอนาคต (The Future of Library) ของเราจะเป็นอย่างไร ผมคงตอบแทนเพื่อนๆ ไม่ได้ เพราะแต่ละคนผมว่ามี “จินตนาการ” ที่อาจไม่เหมือนของผม และการจะหา “ความคิดสร้างสรรค์” จากจินตนาการผมว่าแต่ละคนก็คงหาออกมาได้ไม่เหมือนกัน ยังไม่ต้องไปคิดถึงตอนลงมือทำนะครับ ข้อจำกัดของแต่ละองค์กรก็แตกต่างกัน
เอาเป็นว่าผมขอเริ่มจากการค้นหาคำว่า “The Future of Library” ใน Google เราจะพบบทความที่น่าสนใจมากมาย เช่น
- Future of the Library: Bibliography (รวบรวมบทความที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับ Future of the Library)
- Great Library Spaces
- After 40 years of resource sharing … what’s next?
- Collaborative Futures Library Services Platform
เอาหล่ะครับ ก่อนจากกันวันนี้ ก่อนจะมองไปถึงอนาคต เราลองมองย้อนกลับไปในอดีตกันสักนิดดีกว่า 10 ปี 20 ปี ที่แล้ว ห้องสมุดที่เราเคยใช้วันนี้เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน แค่หลับตานึกถึง 10 ปี 20 ปีข้างหน้า เราคิดว่าจะมองเห็นห้องสมุดในแบบเดิมอีกหรือไม่ — ถ้าไม่ ห้องสมุดในจินตนาการของคุณจะเป็นอย่างไร คอมเม้นต์มาคุยกันได้ครับ…
Leave a Reply