รีวิวห้องสมุดโฉมใหม่ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มาของเรื่องวันนี้ : รับปากพี่ท่านหนึ่งใน facebook (Aon Rawiwan) มาสักระยะใหญ่ๆ แล้วนะครับ วันนี้พอจะมีเวลาเลยขอโปรโมทให้พี่เขาหน่อย

ห้องสมุดที่ผมจะแนะนำวันนี้ คือ ห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครับ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งได้รับการปรับโฉมใหม่ วันนี้ผมจึงขอนำข้อมูลที่มาที่ไปของการปรับปรุงในรูปแบบถามตอบ และภาพถ่ายสวยๆ ของห้องสมุดแห่งนี้มาฝากครับ

Q : ไอเดียเริ่มต้นของการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้คืออะไร

A : ห้องสมุดต้องการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดให้สอดคล้องกับความต้องการของนิสิต ที่ต้องการรูปแบบการใช้งาน co-working และ co-learning space

Q : การแบ่งพื้นที่การใช้สอยภายในแบ่งเป็นพื้นที่อะไรบ้าง

A : พื้นที่ใช้สอยภายใน แบ่งเป็น

  1. พื้นที่นั่งอ่านตามอัธยาศัย บริเวณด้านหน้าห้องสมุด ให้บริการแบบ refreshment ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องดื่ม อาหาร ขนม มารับประทานได้ เพื่อเพิ่มความสดชื่น ผ่อนคลายจากการอ่านหนังสือ
  2. พื้นที่มุมธรรมะ ออกแบบตามภูมิสถาปัตย์ของพิษณุโลก มีแม่น้ำ มีที่นั่งอ่านแบบห้อยขา ที่นั่งอ่านโซนี้ จะเป็นการนั่งการบนเบาะโฟม นั่งอ่านห้อยขา
  3. พื้นที่นั่งอ่านแบบโบกี้ รถไฟ บริเวณ ริมหน้าต่างห้องสมุดทั้งสองด้าน

Q : สิ่งที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในการออกแบบ

A : theme การออกแบบ เน้นความเป็นพิษณุโลก คือ

  1. บริเวณพื้นมุมธรรมะ เราออกแบบตามสายน้ำน่าน และมีที่นั่งอ่านแบบห้อยขา : เพราะพิษณุโลก มีก๋วยเตี๋ยวห้อยขา
  2. ที่นั่งอ่านแบบโบกี้รถไฟ : เพราะพิษณุโลก สามารถมาท่องเที่ยวและเดินทาง ทางรถไฟได้
  3. ที่นั่งอ่านแบบเรือนแพ จะสังเกตว่า ที่นั่งอ่านริมเสาในห้องสมุด จะไม่มีขาโต๊ะ (ใช้สลิงเป็นตัวรับน้ำหนักโต๊ะ) : เปรียบเสมือนเรือนแพของพิษณุโลก
  4. ห้อง smart room (co-learning room) เป็นห้องทำงานกลุ่ม ที่นิสิตจะมาทำงาน มาติว มาประชุม หรือเป็นห้องเรียน ซึ่งตอนนี้ นิสิตหลายคณะได้เชิญอาจารย์มาสอน มาพูดคุยที่ห้องสมุด
  5. ห้องคอมพิวเตอร์และฝึกอบรม
  6. ที่นั่งอ่านแบบที่ประชุมกึ่งโล่ง ใช้สีตามคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  7. ที่นั่งอ่านแบบเอกเขนก นั่งอ่านแบบโต๊ะญี่ปุ่น มีเบาะนั่งอ่าน นอนอ่าน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการอ่านหนังสือ

Q : สิ่งสำคัญในการออกแบบห้องสมุดแห่งนี้คืออะไร

A : ทุกโต๊ะนั่งอ่าน จะมีปลั๊กไฟ และ USB port เพื่อรองรับการใช้งาน smart device และสิ่งสำคัญในการออกแบบ คือ ลดพื้นที่ชั้นหนังสือ เพิ่มเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ เพิ่มหนังสือตำราในรูปแบบ e-book

Q : โทนสีที่เลือกใช้ พร้อมสาเหตุในการเลือกใช้โทนสีเหล่านี้

A : โทนสีที่เลือกใช้ คือสี ประจำคณะ ในกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ

  • สีเขียว หัวเป็ด คณะแพทย์
  • สีเขียวมะกอก คณะเภสัชศาสตร์
  • สีทอง คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สีส้ม คณะพยาบาลศาสตร์
  • สีม่วง คณะทนตแพทยศาสตร์
  • สีฟ้า/น้ำเงิน คณะสหเวชศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

Q : อะไรคือผลที่คาดหวังในการออกแบบห้องสมุดใหม่แห่งนี้

A : ความคาดหวังสูงสุดในการปรับปรุงห้องสมุดครั้งนี้ คือ การปรับพื้นที่ห้องสมุดให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เป็นพื้นที่ให้ชุมชนนิสิต มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ สร้างความคิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้

และนี่เป็นเพียงคำถามคำตอบเบื้องต้นในการปรับเปลี่ยนโฉมของห้องสมุดในครั้งนี้ เพื่อนๆ ลองชมภาพความเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดด้านล่างนี้ได้เลยครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจอยากเข้าใช้บริการ ลองดูวันและเวลาทำการของห้องสมุดแห่งนี้ครับ
ห้องสมุดเปิดบริการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 20.30 และ เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.30 – 17.30

ชมภาพห้องสมุดวิทย์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร โฉมใหม่ ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ชมภาพ Before & After สักนิดบ้างนะครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Aon Rawiwan

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*