ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนคงใช้เวลาในช่วงนี้ทำงานจากที่บ้าน (Work form home) และผมเชื่อว่ามีบรรณารักษ์หลายท่านที่ใช้โอกาสนี้ในการอัพเดทความรู้ต่างๆ รอบตัว เผื่อว่าหลังสถานการณ์นี้ผ่านไปองค์กรของท่านหรือห้องสมุดของท่านจะเปลี่ยนแนวทางการทำงานและให้บริการผู้ใช้ที่ดีมากกว่าที่เราเคยทำ…
เพื่อให้เกิดการวางแผนและพัฒนาห้องสมุด วันนี้ผมขอนำผลสำรวจที่ Wiley จัดทำเป็นประจำทุกปีมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายงาน “Librarian Survey 2020 : Aspirations and Career Development Findings for Library Professionals” ได้ที่ https://www.wiley.com/network/librarians/library-impact/library-survey-report-2020
หรือ ถ้าไม่มีเวลามาก อ่านบทสรุปของผมได้ ด้านล่างนี้เลยครับ
ในการสำรวจครั้งนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 365 คน จาก 14 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแต่ละคนสามารถโหวต Aspirations ได้คนละ 3 หัวข้อ (ในแบบสำรวจมีให้เลือก 13 หัวข้อ) ซึ่งผลการสำรวจสูงสุด 3 อันดับแรก คือ
- Creating programs to educate and enhance information literacy (38.4%) โดยในหัวข้อนี้สะท้อนให้เห็นว่า บรรณารักษ์ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง Fake news หรือ ข่าวปลอมมากๆ — จะทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการของเราแยกแยะระหว่างข่าวจริง หรือ ข่าวปลอมได้
- Enhancing discovery and access of library’s digital resources (34.2%) หัวข้อนี้ผมว่าเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันได้ดีมากๆ จะทำอย่างไรให้ผู้ใช้บริการเข้าถึง Digital Resources ได้สะดวก — ในสภาวะที่เราไม่สามารถให้บริการห้องสมุดที่เป็นสถานที่ได้ เรื่องนี้กลับมาเป็นประเด็นให้คิดต่อได้
- Organising events to drive library engagement (29.3%) หัวข้อนี้เป็นเรื่องคุณค่าและตัวชี้วัดเชิงคุณภาพของห้องสมุดหลายแห่ง เราจะทำอย่างไรให้กิจกรรมของห้องสมุดมีผู้ใช้บริการเข้าร่วม และกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
แล้วอีก 10 หัวข้อที่เหลือเป็นอย่างไรไปดูกันต่อได้เลยครับ
- Bringing new technology into the library — ถ้าห้องสมุดอยากเป็นผู้นำ trends เรื่องนี้ต้องศึกษาต่อนะครับ
- Revamping parts of my current library space — ปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- Working more closely with faculty on research projects — ทำงานใกล้ชิดกับงานวิจัยของหน่วยงาน
- Building collection of library resources to support research — เน้นเรื่องการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อตอบโจทย์งานวิจัย
- Exploring gamification for student engagement in the library — เรื่องนี้ผมชอบมากเลย คือ การนำ Gamification มาต่อยอดทำให้เกิดความผูกพันของผู้ใช้บริการ
- Building resources to support classroom activities — ห้องสมุดอาจจะกลายเป็นห้องเรียนและสนับสนุนการเรียนการสอนได้
- Building the library’s special collection — ทรัพยากร Collection พิเศษ อาจมีไม่เหมือนใครก็ได้ เช่น มุมหนังสือ COVID-19
- Creating new programs for research data management — การสนับสนุนงานวิจัยด้วยข้อมูล อันนี้เป็นแนวโน้มที่ห้องสมุดหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจ
- Conducting studies to collect data on users’ behaviour — อันนี้ผมชอบใช้ห้องสมุดเป็นสถานที่ศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้บริการ
- Building an institutional repository for my library — แนวโน้มแหล่งรวบรวมสารสนเทศของหน่วยงาน
มีคำถามหนึ่งในแบบสำรวจที่วัดระดับความเชื่อมั่นของบรรณารักษ์ในการรับมือกับความท้าทายต่อการทำงานในห้องสมุดวันนี้และอนาคตอันใกล้ (3 ปี) ซึ่งผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ 65% ยังมีความเชื่อมั่น และมีบรรณารักษ์จำนวน 30% ที่รู้สึกไม่มั่นใจ
ทักษะและลักษณะเฉพาะตัวของบรรณารักษ์ที่จะประสบความสำเร็จในปี 2020
(Skills & Characteristics of a successful librarian in 2020) มีดังนี้
อันดับ 1 Library Data Management & Analytics
อันดับ 2 Research Support & Data Management
อันดับ 3 Change Management & Flexibility
อันดับ 4 Technological Literacy & Savviness
อันดับ 5 Customer Service
อันดับ 6 Marketing
อันดับ 7 Collaboration
อันดับ 8 Library Advocacy & Communication
อันดับ 9 Digital Archiving & Preservation
อันดับ 10 Collection Development
อันดับที่ 11 Space Development & Management
อันดับที่ 12 Cataloging
อันดับที่ 13 Project Management
ในรายงานฉบับนี้ Quote หนึ่งที่ผมชอบมาก นั่นคือ “Static change is over” มันหมายความว่าอย่างไร —> การเปลี่ยนแปลงแบบคนที่มันไม่มีอีกแล้ว หรือ การเปลี่ยนแปลงแบบเดิมๆ เราจะไม่พบเจอมันอีกแล้ว หรือ ในอนาคตจะมีแต่การเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง นั่นเอง
ถึงตอนนั้นวงการห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ขอเพียงเราอย่ากลัว จงยอมรับ และปรับเปลี่ยนตัวเอง
ที่สำคัญ!!!! อย่าหยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เด็ดขาด