Checklist สำหรับการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง หลังสถานการณ์ COVID-19

หลังจากที่ติดตามสถานการณ์ COVID-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม ตอนนี้ถามว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร คงตอบว่าดูผิวเผินแล้วสถานการณ์เริ่มดีขึ้น อย่างในหลายๆ ประเทศตัวเลขการติดเชื้อก็ลดลง (อย่างในประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน) แต่ก็ไม่อยากให้พวกเราใช้ชีวิตกันแบบประมาทนะครับ

วันนี้ผมขอนำกรณีศึกษาของประเทศออสเตรเลียมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านครับ เบื้องต้นภาครัฐจะอนุญาตให้ห้องสมุดประชาชนในประเทศออสเตรเลียกลับมาเปิดได้อีกครั้งในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ หน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของวงการห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย คือ Australian Library and Information Association (ALIA) หรือ สมาคมห้องสมุดประเทศออสเตรเลีย ได้ออกเครื่องมือหนึ่งเพื่อให้ห้องสมุดสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานหลังการกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง คือ “Checklist for reopening libraries

ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดมาดูฉบับเต็มได้ที่ https://read.alia.org.au/file/1355/download?token=b4AAAz6q

ก่อนจะกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้งหลังสถานการณ์ COVID-19 อยากให้ใช้เครื่องมือนี้เพื่อความไม่ประมาทในการดำเนินงาน หากเพื่อนๆ ยังไม่มีเวลาอ่านรายงานฉบับเต็ม ผมขอสรุปสาระสำคัญของ “Checklist for reopening libraries” ฉบับนี้ให้เพื่อนๆ อ่าน

ภายใต้ “Checklist for reopening libraries” นี้แบ่งออกเป็นเรื่องที่ต้องดู 7 ส่วน คือ

1) Planning

  • ประเมินความเสี่ยงที่น่าจะเกิดขึ้น
  • จัดทำแผนในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
  • กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการก่อนการเปิดห้องสมุดอีกครั้ง

2) Communications

  • จัดทำคู่มือและสื่อสารให้เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ทราบถึงมาตรการต่างๆ
  • ภาษาที่ใช้สื่อสารให้ครอบคลุมผู้ใช้บริการ (ภาษาอังกฤษ และ ภาษาอื่นๆ)
  • ใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์และอีเมล์มากขึ้น

3) Social distancing

  • จัดทำป้ายเพื่อให้ความรู้เรื่องระยะห่างทางสังคม
  • จัดโต๊ะที่นั่งอ่านใหม่
  • จำกัดระยะเวลาในการเปิดปิด (ให้ลดระยะเวลาลง)
  • จำกัดจำนวนการใช้บริการห้องสมุด (limit จำนวนผู้เข้าใช้บริการพร้อมกันในสถานที่)
  • ติดสติ๊กเกอร์หรือสัญลักษณ์ในการรอคิวต่างๆ ให้ชัด

4) Safety precautions

  • จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
  • การกำหนดระยะเวลาในการทำความสะอาดพื้นผิวหรือวัสดุที่ต้องใช้ร่วมกัน
  • จัดหาเครื่องฆ่าอบเชื้อ
  • ขอให้ผู้ใช้บริการที่สุขภาพไม่ดี ไม่ควรเดินทางมาที่ห้องสมุด

5) Staff support

  • เปลี่ยนเวลาทำงานของบรรณารักษ์เป็นกะ เพื่อลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานพร้อมกัน
  • สนับสนุนให้ผู้ใช้บริการใช้ Self Check แทน
  • จัดการความคาดหวังในกรณีที่ผู้ใช้บริการต้องการรับบริการโดยตรงจากเจ้าหน้าที่

6) Community support

  • ขยายระยะเวลาการยืม
  • ต่ออายุการยืมหนังสืออัตโนมัติ
  • ยกเว้นค่าปรับ

7) Operations

  • การนำพนักงานกลับมาทำงาน
  • การกลับมาเปิดห้องสมุดอีกครั้ง พร้อมทบทวนบริการห้องสมุดเคลื่อนที่
  • พิจารณาเรื่องการจัดส่งหนังสือถึงบ้าน
  • ทบทวนเรื่องการจัดกิจกรรมในห้องสมุดว่าสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบที่เหมาะสมได้หรือไม่
  • ทบทวนเรื่องการตั้งงบประมาณในปีหน้า (เรื่องการซื้อหนังสือแบบตัวเล่มกับทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์) ดูสัดส่วนการจัดซื้อให้ดี
สรุปภาพรวมของ Checklist

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยของทั้งบรรณารักษ์ ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้ใช้บริการ ได้แก่

1) ระยะห่างทางสังคม (Physical distancing)

  • Maintain at least 1.5 metres distance between people. ระยะห่างของแต่ละคนอย่างน้อย 1.5 เมตร
  • Limit the usage of the space to one person per 4 square metres. ในพื้นที่ 4 ตารางเมตรควรมีผู้ใช้แค่ 1 คน

2) ความปลอดภัยจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ (Safe handling of physical materials)

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมถุงมือเมื่อจะสัมผัสกับทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุด
  • ขอให้ผู้ใช้บริการใช้เครื่อง Self Check (งดรับการยืมคืนโดยตรงกับบรรณารักษ์)
  • หลีกเลี่ยงการรับเงินสดหรือสัมผัสกับบัตรเครดิต

3) การทำความสะอาดวัตถุและพื้นผิว (Sanitising objects and surfaces)

  • จัดเตรียมสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์บางชนิที่ต้องใช้งานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เช่น หูฟัง หรือ แว่น VR
  • ทำความสะอาดจุดที่มีการสัมผัสจำนวนมาก เช่น คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
  • หนังสือให้ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย UV

เอาเป็นว่ารายละเอียดอื่นๆ ก็น่าสนใจนะครับ ผมอยากให้เพื่อนๆ อ่านฉบับเต็มประกอบด้วย ลองเข้าไปดูที่ https://read.alia.org.au/file/1355/download?token=b4AAAz6q

ข้อมูลความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ COVID-19 กับเรื่องห้องสมุดในประเทศออสเตรเลีย โดยสมาคมห้องสมุดประเทศออสเตรเลีย ดูได้ที่ http://www.alia.org.au/australian-libraries-responding-covid-19

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*