รีวิวหนังสือ ห้องสมุดยุคใหม่ กับ การสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้

หนังสือที่ผมจะรีวิวเล่มแรกของปีนี้ (2021) คือ “The Experiential Library: Transforming Academic and Research Libraries through the Power of Experiential Learning” และที่ผมต้องเลือกหนังสือเล่มนี้มารีวิวก็เพราะ “พวกเรายังคงเผชิญกับสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งห้องสมุดเองตอนนี้ก็ไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เหมือนเดิม” จนผู้บริหารและคนทำงานเริ่มทักมาหาผมและถามว่า

“ห้องสมุดหลังจากสถานการณ์นี้จะเปลี่ยนไปแค่ไหน”
“ห้องสมุดจะถูก Disrupt หรือไม่”
“คุณค่าของห้องสมุดในอนาคตคืออะไร”
“จะทำอย่างไรให้ห้องสมุดยังคงอยู่รอดต่อไป”

คำตอบสั้นๆ ของผม คือ “ห้องสมุดของเราจะอยู่แบบเดิมไม่ได้แล้ว ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ผู้ใช้บริการของเราจะหายและจากไปตลอดกาล

ในยุคอินเทอร์เน็ตผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ได้จากทุกๆ ที่ แล้วทำไมเขาจะต้องมาที่ห้องสมุดหล่ะ
เช่นเดียวกับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย …… แหล่งเรียนรู้ประเภทอื่นๆ สิ่งที่เราทำได้มากกว่ารวบรวมองค์ความรู้ คือ “การสร้างประสบการณ์”

และ “การสร้างประสบการณ์” ในทางกายภาพ ย่อมมีความหมายมากกว่า “การสร้างประสบการณ์” ในโลกออนไลน์

มาถึงจุดนี้ผมเข้าเรื่องรีวิวหนังสือดีกว่า …

ข้อมูลหนังสือเบื้องต้น

ชื่อหนังสือ : The Experiential Library: Transforming Academic and Research Libraries through the Power of Experiential Learning
ISBN : 9780081007785 (eBook)
สำนักพิมพ์ : Elsevier Science
ปีที่พิมพ์ : 2016
จำนวนหน้า : 466 หน้า

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ที่จะอธิบายกลไกในการเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการของห้องสมุดให้กลายเป็นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในห้องสมุด

ส่วนที่ 1 : แนวทางใหม่สำหรับการเรียนรู้ด้านสารสนเทศ (New Paths for Information Literacy Instruction) (ประกอบด้วย 6 บท)

  • Integrating Experiential Learning Into Information Literacy Curriculum
  • Experiential Learning in a Faculty of Education Library
  • Beyond Object Lessons: Object-Based Learning in the Academic Library
  • Taking the Class Out of the Classroom: Libraries, Literacy, and Service Learning
  • Training Student Drivers: Using a Flipped Classroom Model for IL Instruction
  • Handheld Learning: Authentic Assessment Using iPads

ส่วนที่ 2 : กิจกรรมในการสร้างประสบการณ์ คอลเล็คชั่นของทรัพยากร และการพัฒนาบรรณารักษ์ (Programs, Collections, Spaces, Staff Development and Training) (ประกอบด้วย 5 บท)

  • “Out of the Vault”: Engaging Students in Experiential Learning Through Special Collections and Archives
  • Game On! Experiential Learning With Tabletop Games
  • Building Knowledge Together: Interactive Course Exhibits in the Academic Library
  • Going Vertical: Enhancing Staff Training Through Vertically Integrated Instruction
  • From Training to Learning: Developing Student Employees Through Experiential Learning Design

ส่วนที่ 3 : การสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดต่างๆ (Innovation and Multi-Library Collaborations) (ประกอบด้วย 4 บท)

  • Home Grown: Lessons Learned From Experiential Learning Partnerships in an Academic Library
  • Grasping a Golden Opportunity: Librarian Support for Students on Summer Internships
  • The New Hampshire Human Library Project: Breaking Barriers and Building Bridges by Engaging Communities of Learners
  • Conclusion: An Experiential Librarian’s Creed

สรุปภาพรวมของหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบบทความทางวิชาการที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาและห้องสมุดที่สนับสนุนงานวิจัย ซึ่งเท่าที่ผมอ่านจะพบกับบทความหรือเนื้อหาที่มีการอ้างอิงทฤษฎีทางการศึกษามากมาย (เหมาะกับบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยจริงๆ)

จริงๆ นอกจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยแล้ว ผมว่าห้องสมุดในโรงเรียนอาจนำไปใช้ก็น่าจะได้ เพราะมีหลายบทความพยายามจะพูดถึง “การนำชั้นเรียนออกจากห้องเรียน” และห้องสมุดเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ในการเรียนรู้ใหม่ๆ ได้

วิชา Information Literacy หรือ การรู้สารสนเทศ เป็นอีกวิชาที่ถูกกล่าวถึงเยอะที่สุดในช่วง Part 1 ทั้งนี้คงเพราะตั้งแต่การออกแบบรายวิชานี้ หรือ แม้กระทั่งการเรียนที่เน้นประสบการณ์ในวิชานี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ติดตามผู้เรียน (ผู้ใช้บริการ) ของเราไปจนเรียนจบเลยก็ว่าได้

นอกจากนี้ในฐานะของบรรณารักษ์เองก็ต้องปรับปรุงตัวเอง ไม่ว่าจะต้องเริ่มเข้าหาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และทำงานร่วมกับหน่วนงานอื่นๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งใน Part 2 จะเน้นที่ตัวคนทำงานเป็นหลักด้วย

และส่งต่อเนื้อหาไปยัง Part 3 ถึงความร่วมมือกันระหว่างห้องสมุด และการส่งผ่านนักศึกษา LIS ไปยังหน่วยงานห้องสมุดต่างๆ เช่นสอนการตั้งคำถามแบบกว้างและแคบให้กับเด็กฝึกงานห้องสมุด อันนี้ผมเองก็ขอหยิบไปใช้เหมือนกัน

เอาเป็นว่าอ่านทฤษฎีก็สนุก และแนวทางการปฏิบัติของห้องสมุดต่างๆ ก็สนุกดี เล่มนี้ขอแนะนำอีกเล่มไว้ให้อาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แล้วกัน

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*