รีวิวหนังสือ การจัดการห้องสมุดเชิงกลยุทธ์

วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือน่าอ่านอีกเล่มที่ช่วงนี้ผมถึงกลับวางไม่ลง “Strategic Library Management: Leading, Innovating, and Succeeding in Public Libraries”

ข้อมูลเบื้องต้นของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Strategic Library Management: Leading, Innovating, and Succeeding in Public Libraries
ผู้แต่ง : William Webb
ปีพิมพ์ : 2023
ISBN : 9798223619574

Highlight ของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่

สารบัญของหนังสือเล่มนี้

  1. Foundations of Library Management
  2. Leadership in the Library
  3. Strategic Planning for Libraries
  4. Collection Development and Management
  5. User Services and Engagement
  6. Budgeting and Financial Management
  7. Technology in the Library
  8. Marketing and Public Relations
  9. Human Resources Management
  10. Facility Management and Space Planning
  11. Legal and Ethical Considerations
  12. Disaster Management and Recovery
  13. Evaluation and Assessment
  14. Future of Public Libraries

สรุปเนื้อหาในแต่ละบท

บทที่ 1 กล่าวถึงภาพรวมของการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนในอดีต อาทิ บริการต่างๆ ที่มี บุคลากรที่เกี่ยวข้อง (Library Director, Librarian, Library Assistant, Library Technician, Library Page, Specialist Roles) แล้วพยายามโยงว่าปัจจุบันมีงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และบทบาทของบรรณารักษ์ใหม่ๆ อาทิ Digital Service Librarian

บทที่ 2 คุณลักษณะของผู้นำ (ผู้บริหารงานห้องสมุด) หน้าที่ต่างๆ และการพัฒนาทักษะที่ผู้นำควรมี และเรื่องสุดท้ายที่ท้าทายผู้นำคือ ต้องบริหารและจัดการบรรณารักษ์ที่มีความหลากหลาย

บทที่ 3 การวางกลยุทธ์ต่างที่เกี่ยวกับงานห้องสมุด มีเครื่องมือมากมาย อาทิ การวิเคราะห์ SWOT การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการนำไปใช้และการวัดผลในงานด้วย

บทที่ 4 การกำหนดนโยบายของงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของสื่อทรัพยากรที่มาทางดิจิทัลมากขึ้น (บทนี้เริ่มตั้งแต่การกำหนดขอบเขต การเลือก งาน catalog ไปจนถึงการกำหนดนโยบายการคัดออก)

บทที่ 5 การทำความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการแล้วนำมาพัฒนาในงานบริการต่างๆ (เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง) นอกนี้ยังสามารถขยายแนวคิดของการบริการกับลูกค้าไปสู่การบริการชุมชน (community)

บทที่ 6 เน้นการวางกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับงบประมาณ และการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องที่ผมชอบอีกเรื่องในบทนี้คงหนีไม่พ้นการขอทุนหรือการหารายได้เข้าห้องสมุดซึ่งมีหลายวิธี

บทที่ 7 ความสำคัญของเทคโนโลยีในห้องสมุดสมัยใหม่ ต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ ได้แก่ Digital collections, Library Management Systems, Online Catalogs, Digital Literacy Programs, Virtual Programming แนวทางในการจัดหารระบบบริหารจัดการห้องสมุดเป็นอีกหนึ่งเรื่องในบทนี้ที่ให้รายละเอียดได้ค่อนข้างดี

บทที่ 8 แนวทางในการสร้างแบรนด์ให้กับห้องสมุด สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือ key visual ต่างๆ เช่น โลโก้ สี ตัวอักษร เพราะสิ่งเหล่านี้จับต้องและทำให้ผู้ใช้จำได้ นอกจากนี้การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ตัวอย่างจากบทนี้คือ การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการ สามารถแบ่งได้หลายแบบ เช่น Demographic Segmentation, Psychographic Segmentation, Behavioral Segmentation

บทที่ 9 เน้นเรื่อง HR อาทิ การคัดเลือกบรรณารักษ์ และคนทำงาน รวมไปถึงการพัฒนาบุคคลากร (อบรม) และเน้นให้ดูแลคนทำงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดี

บทที่ 10 การบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ 1) กรณีมีพื้นที่อยู่แล้วก็ต้องคอยสังเกต และปรับปรุงให้สอดคล้องกับงานบริการใหม่ๆ อยู่เสมอ และ 2) กรณีต้องออกแบบห้องสมุดใหม่ ก็อย่าลืมดูภาพรวม และฟังผู้ใช้บริการด้วย

บทที่ 11 กฎหมาย และจริยธรรมที่ห้องสมุดค้องให้ความสำคัญ อาทิ กฎหมายลิขสิทธิ์ ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ และการดูแลข้อมูลส่วนบุคคล

บทที่ 12 การจัดการกับภัยพิบัติ และการฟื้นฟู (แบบว่าไกลตัวเรามากๆ แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย) เหตุเพราะว่าห้องสมุดหลายแห่งมีการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศทรงคุณค่า เช่นหนังสือหายาก หรือวัตถุโบราณ ดังนั้นการป้องกันความเสียหายจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมากไปกว่านั้นการมีแผนฟื้นฟูจะช่วยให้เราสามารถดำเนินการได้กรณีเกิดเหตุได้ทันท่วงที

บทที่ 13 การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การประเมินความพึงพอใจ การศึกษาผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ (เชิงบวก) การเก็บข้อมูลบริการต่างๆ สามารถนำมาวิเคราะห์และเห็นแนวโน้มในการพัฒนางานบริการต่างๆ ของเราได้

บทที่ 14 แนวโน้มที่ห้องสมุดต้องติดตามอย่างใกล้ชิดได้ แก่ 1) Digital Transformation 2) User-Centric Approach 3) Data-Driven Decisions 4)Collaborative Networks

นี่ก็เป็นภาพรวมของหนังสือที่ผมได้อ่านในวันนี้ ท้ายเล่มมีคำแนะนำที่น่าสนใจสำหรับเเพื่อนๆ บรรณารักษ์ที่ต้องการพัฒนาตนเอง (แอบเหมือนผมเวลาไปบรรยายในที่ต่างๆ เลย) ซึ่งประกอบด้วย

ส่งท้ายวันนี้ “ไม่สายเกินไปถ้าเราจะเริ่มต้น วันนี้คุณเริ่มต้นเรียนรู้ และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้บ้างหรือยัง”

Exit mobile version