รีวิวหนังสือ “เมื่อฉันเป็นบรรณารักษ์โดยไม่ได้ตั้งใจ”
คืนนี้ หาหนังสืออ่านก่อนนอน แบบเก๋ๆ เริ่มจากคำถาม
“ไม่ได้จบบรรณารักษ์ แต่ต้องมาทำงานบรรณารักษ์ ควรเริ่มอย่างไรก่อนดี”
หนังสือเล่มนี้มีคำตอบ “Unintentional Librarian: A Beginner’s Guide to Working in a Public Library” หรือแปลแบบตรงๆ ว่า บรรณารักษ์โดยไม่ได้ตั้งใจ คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการทำงานในห้องสมุดประชาชน เขียนโดย Nathan Hansen พิมพ์ปี 2021
แต่ละบทในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึงการเตรียมตัว และให้คำแนะนำได้ดี นอกจากภาพรวมที่ฉายให้เราเห็นงานที่ต้องทำแล้ว ยังมีคำแนะนำแบบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ลองหยิบไปใช้ด้วย
บทที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง งานบริการ และ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (Service and Patrons)
บทที่ 2 ว่าด้วยเรื่อง เทคโนโลยีในห้องสมุด (Technology)
บทที่ 3 ว่าด้วยเรื่อง การจัดกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุด (Programming)
บทที่ 4 ว่าด้วยเรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการแนะนำหนังสือให้ผู้อ่าน (Reader Advisory)
บทที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง การสืบค้น (Searching)
บทที่ 6 ว่าด้วยเรื่อง การทำงานร่วมกับชุมชน (Community Connection)
บทที่ 7 ว่าด้วยเรื่อง ความเป็นส่วนตัว (Privacy)
บทที่ 8 ว่าด้วยเรื่อง งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ การจัดซื้อ การจัดการหนังสือ (Collection Management)
บทที่ 9 ว่าด้วยเรื่อง การซ่อมแซมวัสดุ และการอนุรักษ์ (Item Repair)
บทที่ 10 ว่าด้วยเรื่อง บริบทของห้องสมุดในรูปแบบอื่นๆ (Other Stuff) ที่สามารถเป็นไปได้ เช่น Library pop up / Makerspace
บทที่ 11 ว่าด้วยเรื่อง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานบรรณารักษ์
เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้หนามาก แต่ก็ลงรายละเอียดได้ค่อนข้างดี การเขียนเรื่องที่ขาดจากกันเป็นตอนๆ จะช่วยให้บรรณารักษ์มือใหม่สามารถเลือกประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ และเก็บไอเดียในส่วนนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น
ลองไปอ่านกันดู