หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร
แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว
ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน
ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องาน THINK camp 2009
ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp
วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552
เวลา 10.00 น. ? 17.15 น.
สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ)
THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น
งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร
นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide
ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น
และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที
สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่ 10 นาทีเท่านั้นเอง
น่าสนุกใช่มั้ยครับ
ตัวอย่างหัวข้อจากเพื่อนๆ ที่ได้รับการเชิญให้เข้าร่วม
1. คุณสุกรี พัฒนภิรมย์ จากเว็บไซต์ drupal.in.th
พูดเรื่อง ?ชุมชนผู้ใช้ Drupal อย่างเป็นทางการของประเทศไทย?
2. คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ จากเว็บไซต์ projectlib.in.th
พูดเรื่อง ?ห้องสมุดไม่ได้เป็นแค่ กล่องสี่เหลี่ยม อีกต่อไป?
3. คุณวิลาส ฉ่ำเลิศวัฒน์ จากเว็บไซต์ tag.in.th, iam.in.th
พูดเรื่อง ?Social bookmark เพื่อสังคมไทย?
4. คุณณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ จากเว็บไซต์ pg.in.th
พูดเรื่อง ?ถ่ายรูปจากมือถือ แล้วขึ้นเว็บทันที พร้อมทั้งแสดง location บน Google Maps?
5. คุณชิตพงษ์ กิตตินราดร จากเว็บไซต์ cc.in.th
พูดเรื่อง ?โครงการเผยแพร่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และแนวคิดเนื้อหาเสรีในประเทศไทย?
นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างนักพูดที่เข้าร่วมงานวันนั้นนะครับ
สำหรับผมในวันนั้นก็พูดเช่นเดียวกันครับ
หัวข้อบนสไลด์ของผมคือ ?ProjectLib กับการเปิดมุมมองใหม่ของห้องสมุด?
หัวข้อรองคือ ?เพราะเรื่องห้องสมุดไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายคนคิด?
– มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (ภาพลักษณ์ของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด)
(งานนี้ผมลงทุนทำแบบสำรวจด้วยตัวเองเลยนะครับ)
– ห้องสมุดที่คนส่วนใหญ่ใช้บริการ หรือรู้จัก
– Projectlib กับการลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ
– การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
– ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (ตัวอย่างเรื่องที่ได้รับความนิยมจากบล็อก projectlib)
– สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยต้อง?
– บทสรุปแห่งความสำเร็จ projectlib
เอาเป็นว่าใครอยากเห็นสไลด์ของผมก็ลองเข้าไปดูที่
หลายคนคงจะงงกับสไลด์ชุดนี้เอาเป็นว่าผมจะอธิบายแบบคร่าวๆ เลยนะครับ
หน้าที่ 1 เป็นชื่อเรื่องของสไลด์ รวมถึงแนะนำตัว และผลงานในการเขียนบล็อก (1 นาที)
อธิบายว่าเรื่องห้องสมุดไม่ใช่มีแต่เรื่องการจัดหนังสือ หรือเก็บหนังสือครับ
แต่ห้องสมุดมีเรื่องมากมายที่น่าสนใจ ไม่แพ้กับห้างสรรพสินค้าชื่อดังเลยก็ว่าได้
หน้าที่ 2 มุมมองของคนทั่วไปที่มีต่อห้องสมุด (1 นาที)
อธิบายภาพทั่วไปที่คนในกรุงเทพฯ มองห้องสมุด
ข้อมูลต่างๆ ได้มาจากการเดินถามคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา คนทำงาน หรือคนทั่วไป
หน้าที่ 3 เคยไปหรือรู้จักห้องสมุดที่ไหนบ้าง (1 นาที)
อธิบายแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด
และที่สำคัญคนเหล่านี้รู้จักห้องสมุดอะไรบ้าง
หน้าที่ 4 ทำยังไงถึงจะลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ (1 นาที)
แนะนำวิธีลบภาพห้องสมุดแบบเดิมๆ สไตล์ projectlib
กลยุทธ์ในการสร้างภาพห้องสมุดแบบใหม่ของ projectlib
หน้าที่ 5 นำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ (1 นาที)
บางคนอาจจะคิดว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานห้องสมุดจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่ความเป็นจริงแล้วแทบจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาเสนอล้วนแล้วแต่ใช้ที่ projectlib หมดแล้วด้วย
หน้าที่ 6 – 8 ไอเดียใหม่ๆ ในวงการห้องสมุด (3 นาที)
แนะนำเรื่องเด่นๆ ที่ผมเขียนและได้รับการตอบรับที่ดี
รวมถึงไอเดียที่สร้างบรรยากาศให้น่าเข้าใช้ห้องสมุด
หน้าที่ 9 สักวันนึง?ห้องสมุดเมืองไทยคงจะเหมือนห้องสมุดเมืองนอก (1 นาที)
ความคาดหวังของผมต่อวงการห้องสมุดเมืองไทย
ผมเชื่อว่าสักวันเราต้องเปลี่ยนได้เหมือนครั้งหนึ่งที่บัตรรายการยังต้องเปลี่ยนสถานะเป็น OPAC
หน้าที่ 10 บทสรุปแห่งความสำเร็จ (1 นาที)
ผลงาน และบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ใน projectlib
รวม 10 นาที กับมุมมองใหม่ของห้องสมุดสไตล์ projectlib
นี่ก็คือบทสรุปของงาน thinkcamp#1 สำหรับผมเองนะครับ
เสียดายอดไปทั้ง 2 งาน