มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. เรื่องนี้น่าสนใจครับ
    โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานสื่อมัลติมีเดีย เสียง ภาพ และ เอกสาร
    ความจริงเป็นเรื่องที่เราเจอและใช้กันอยู่รอบๆ ตัว แม้แต่ใน MP3 Player ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง
    (ผมฟังเพลงเยอะน่ะครับ)

    เข้าใจว่าเป็นเรื่องยาก แต่มันก็คือการแคทตาลอกอย่างนึง
    ลองเปิดโปรแกรมเล่นเพลงขึ้นมาสิครับ เราจะพบ Tag Detail อย่าง Artist, Album, Title

    ผมเคยยกตัวอย่างกรณีนี้ในวิชาเกี่ยวกับสื่อดิจิตอล วิชาท้ายๆ ตอนเรียนให้กับอาจารย์ แต่ไม่เคยถูกยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาเลย

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*