วันนี้ในระหว่างที่ค้นหาข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตก็บังเอิญไปเจอหนังสือคู่มือเล่มนึงน่าสนใจมาก
เป็นคู่มือ “กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี” จึงขอเอามาแชร์ให้เพื่อนได้อ่านกัน
รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี
จัดทำโดย : สำนักงาน กศน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ISBN : 9789742323502
หนังสือเล่มนี้แจกฟรีนะครับ ไม่มีขายตามท้องตลาดหรอกครับ
ถ้าใครอยากได้ให้ไปดาวน์โหลดได้ที่ http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf
เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น
– ความสำคัญและความเป็นมา
– เป้าประสงค์ตามนโยบาย “ห้องสมุด 3 ดี”
– วิสัยทัศน์
– พันธกิจ
– แนวทางการดำเนินงาน
– มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
– การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
เอาเป็นว่าผมขอยกมาสักส่วนนึงให้อ่านนะครับ
เรื่องที่ผมจะยกมานี้ คือ มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
ซึ่งมีเพื่อนๆ หลายคนถามผมมาบ่อยมากๆ จึงขอเอาเรื่องนี้มาเล่านะครับ
ห้องสมุด 3 ดี มีอะไรบ้าง (หนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี)
แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคำจำกัดความว่าอย่างไรกันบ้าง อะไรคือมาตรฐาน ???
หนังสือดี —> หนังสือ หรือ สื่อการเรียนรู้ที่งในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออื่นๆ ต้องมีเนื้อหาที่ดี มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม
บรรยากาศดี —> บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ บริการในห้องสมุดอย่างเป็นกันเอง สะดวก สบาย ที่สำคัญต้องประหยัดพลังงาน และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน
บรรณารักษ์ดี —> บรรณารักษ์มีความรู้ และมีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน
มาตรฐานของห้องสมุด 3 ดี
1. หนังสือดี มาตรฐานอยู่ที่
1.1 หนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– เนื้อหามีสาระ ส่งเสริมจินตนาการ คุณธรรม จริยธรรม
– ความถูกต้องของข้อมูล เชื่อถือได้ มีการอ้างอิงถูกต้อง
– มีภาพและลายเส้นประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหา
– ใช้คำที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย
– มีรายการบรรณานุกรมที่หอสมุดแห่งชาติออกให้ (CIP)
1.2 การจัดหาหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีนโยบายการจัดหา
– มีคณะกรรมการคัดเลือก
– มีคณะกรรมการจัดซื้อ
– มีการจัดทำประกาศรายชื่อหนังสือที่จะซื้อ
– มีมุมแนะนำหนังสือดี
– มีการหมุนเวียนหนังสือเรื่อยๆ
– มีการจัดทำฐานข้อมูลหนังสือ
– มีการสนับสนุนสื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. บรรยากาศดี มาตรฐานอยู่ที่
2.1 บรรยากาศภายในห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– บรรยากาศทั่วไปดี เช่น สะอาด โล่ง โปร่ง สบาย แสงสว่างเพียงพอ ต้นไม้ร่มรื่น
– การจัดพื้นที่ทำให้น่าสนใจ เช่น มีมุมหนังสือที่หลากหลาย ไม่มีมุมอับ เฟอร์นิเจอร์สบาย ป้ายบอกทางชัดเจน
– การจัดส่วนส่วนการวางหนังสือ เช่น จัดวางหนังสืออย่างเหมาะสม เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก
2.2 บรรยากาศภายนอกห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– สถานที่เป็นเอกเทศ
– ชุมชนเข้าถึงสะดวก
– มีสิ่งอำนวยความสะดวก
– อาคารน่าสนใจดึงดูดผู้ใช้บริการ เช่น ใช้สี
– พื้นที่ไม่คับแคบ จัดสัดส่วนให้เหมาะต่อการใช้บริการ
– ไม่มี dead zone พื้นที่ปรับได้ตามการใช้งาน
3. บรรณารักษ์ดี มาตรฐานอยู่ที่
3.1 บรรณารักษ์มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการห้องสมุด
– มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องสมุดดี เช่น ด้านไอที ด้านการบริการ ด้านการจัดกิจกรรม
3.2 บรรณารักษ์มีความเป็นมืออาชีพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานในห้องสมุด
– เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
– บริหารจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่
– เป็นนักคิด นักพัฒนา และนักวางแผนในการใช้ไอทีเพื่อการปฏิบัติงาน
– เป็นผู้ประสานเครือข่าย
– เป็นผู้นำด้านบริการใหม่ๆ
– มีความภูมิใจในอาชีพ
3.3 บรรณารักษ์มีจิตบริการ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีทัศนคติเชิงบวก
– ติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ตลอด
– มีความคิดสร้างสรรค์
– บุคลิกภาพดี และมีความสุขในการทำงาน
เป็นยังไงกันบ้างครับ ที่อ่านมาผมรู้สึกว่าประเด็นเรื่อง “บรรณารักษ์ดี” จะมีเนื้อหาเยอะกว่าอย่างอื่น
โดยเฉพาะในเรื่อง มาตรฐานของการเป็น “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ยิ่งมีรายละเอียดเยอะ
และข้อที่ถูกใจผมมากๆ คือ “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ต้องมีความภูมิใจในอาชีพ
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอฝากแง่คิดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับใครที่อยากอ่านต่อก็ดาวน์โหลดเล่มนี้มาอ่านได้ครับ
http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf
ปล. เนื้อหาที่ผมเขียนด้านบนนี้ผมอ่านแล้วสรุปใจความมานะครับ ไม่ได้ copy มาทั้งดุ้น
ดังนั้นใครก็ตามที่นำบทความนี้ไปอ้างก็กรุณาอ่าน สรุป และแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
ขอขอบคุณที่ได้สรุปข้อมูลให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ
เว็บนี้ดีจังเพิ่งเคยเข้ามาเป็นครั้งแรก ได้เทคนิคเยอะเลยค่ะ