สรุปการอบรมพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์สู่ e-Librarians

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (3 พ.ค.) ผมได้มีโอกาสไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์สู่ e-Librarians วันนี้ผมจึงขอนำเนื้อหาในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

รายละเอียดเบื้องต้นของงานบรรยาย
ชื่อโครงการ : โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบรรณารักษ์สู่ e-Librarians
ชื่อวิทยากร : คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ เจ้าของบล็อก libraryhub
วันที่จัดงาน : วันที่ 3 พฤษภาคม 2554
สถานที่บรรยาย : ห้องราชมงคลเธียเตอร์ อาคารวิทยบริการ
ผู้จัดงาน : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลธัญบุรี

ก่อนที่จะสรุปการบรรยาย ผมว่าเพื่อนๆ คงอยากเห็นสไลด์ของผมแล้ว เอาเป็นว่าไปชมสไลด์กันก่อนดีกว่า

สรุปเนื้อหาจากสไลด์ “การพัฒนาทักษะด้าน IT สู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่

การบรรยายเริ่มจากเรื่องทักษะและความหมายแบบกว้างๆ เกี่ยวกับการเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่ ซึ่งผมชอบเรียกบรรณารักษ์ยุคใหม่ว่า Cybrarian นั่นเอง โดยบรรณารักษ์ยุคใหม่นอกจากจะต้องแม่นเรื่องของทักษะด้านบรรณารักษ์แล้ว ยังต้องเพิ่มทักษะอื่นๆ อีก เช่น ทักษะไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมสมัยใหม่ และเครือข่ายสังคมออนไลน์

เรื่องของงานบรรณารักษ์ผมคิดว่าทุกคนคงแม่นอยู่แล้ว ผมจึงขออธิบายภาพรวมของงานห้องสมุดนิดนึง ว่ามีงานอะไรบ้าง และที่สำคัญสมัยนี้เกือบทุกงานล้วนแล้วแต่มีไอทีเข้ามาช่วยงานในห้องสมุดทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น งานบริหาร งานบริการ งานเทคนิค ฯลฯ

จากนั้นผมให้ดูวีดีโอห้องสมุดของประเทศเกาหลี ซึ่งเป็นห้องสมุดที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เกือบทุกอย่าง

จากนั้นอธิบายในเรื่องของทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ ซึ่งผมได้อัพเดทข้อมูลทักษะเพิ่มเติม (อัพเดทจาดสไลด์เก่า) ซึ่งมีดังนี้
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

ในการบรรยายในช่วงนี้ผมให้เวลา 15 นาทีเพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติร่วมกัน เนื่องจากที่นี่ใช้ระบบ Walai Autolib อยู่จึงมีการพูดคุยกันในประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาการเชื่อมต่อ การจัดทำบาร์โค้ด …… เอาเป็นว่าก็น่าจะได้หนทางดีๆ ในการแก้ปัญหาบ้างนะ

เมื่อจบเรื่องทักษะด้านไอทีแล้วผมก็เข้าสู่เรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” ทันที
เปิดวีดีโอแนะนำและให้คำอธิบายว่าทำไมเราต้องใช้สื่อสังคมออนไลน์
(อ่านบทความประกอบเรื่องสื่อสังคมออนไลน์ได้ที่ โอกาสในการใช้ Social media ในโลกปัจจุบัน)

จากนั้นผมให้ดูสไลด์ไอเดียของการนำเว็บไซต์ 2.0 มาใช้ในงานห้องสมุด ชมสไลด์ด้านล่างได้เลยครับ

นั่นก็เป็นอีกสไลด์นึงที่ผมใช้ในการบรรยายครั้งนี้

บรรยายช่วงเช้าจบตรงที่เรื่องของภาพรวมของสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มต้นในช่วงบ่ายเป็นกรณีศึกษาการใช้ Blog Facebook Twitter ในงานห้องสมุด

Blog – ใช้ทำอะไรได้บ้าง ตัวอย่างการใช้บล็อกห้องสมุดในหลายจุดประสงค์ เราสามารถเขียนเรื่องอะไรลงในบล็อกได้บ้าง
Facebook – คำอธิบาย ตัวเลขของการใช้ facebook ทั่วโลก facebook กับงานห้องสมุด 10 อันดับหน้าแฟนเพจห้องสมุดระดับโลก
Twitter – คำอธิบาย ตัวเลขของการใช้ twitter ทั่วโลก อธิบายการใช้งานเบื้องต้น 10 อันดับ twitter ห้องสมุดที่มีคนตามเยอะ

แนวโน้มของห้องสมุดในปี 2011 เพื่อนๆ อ่านได้ที่ “แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011
เรื่องที่ผมแถมจากเรื่องของ trend แล้วยังมีวีดีโอและเว็บไซต์ Library101 ที่น่าสนใจด้วย ลองเข้าไปดูต่อได้ที่ http://libraryman.com/library101/

กรณีศึกษาการใช้งานและการพัฒนาเว็บไซต์
http://www.kindaiproject.net – เว็บไซต์โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
http://www.libraryhub.in.th – เว็บบล็อกเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog – บล็อกห้องสมุด ม ศิลปากร
http://tanee.oas.psu.ac.th – ห้องสมุด JFK มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
http://www.facebook.com/kindaiproject – Facebook โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
http://www.facebook.com/thlibrary – Fanpage เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
http://www.twitter.com/kindaiproject – Twitter โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

จากนั้นก็ให้ดูตัวอย่างการสร้างแผนกลยุทธ์ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในห้องสมุดด้วยเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งาน
(ปัจจุบันห้องสมุดมีสื่อสังคมออนไลน์แล้วแต่มีการใช้งานที่ไร้ทิศทางทำให้ได้ประสิทธิภาพน้อย จึงแนะนำเรื่องนี้ด้วย)

ข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นบทสรุปของสไลด์และงานบรรยายของผมแบบคร่าวๆ นะครับ
ถ้าเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลส่วนไหนเพิ่มเติมหรือสงสัยอะไรก็ส่งเมล์มาถามได้นะครับที่ dcy_4430323@hotmail.com

เอาเป็นว่าวันนี้ผมคงหยุดไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วเจอกันใหม่ อิอิ

ชมภาพบรรยากาศในวันนั้นได้ที่ http://www.library.rmutt.ac.th/?p=4860

ปล. ขอบคุณภาพสวยๆ จากทีมงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*