คนทำงานด้านห้องสมุดจำเป็นต้องจบบรรณารักษศาสตร์หรือไม่

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้ถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผ่านทาง Library poll วันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามแบบง่ายๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของเราให้เพื่อนๆ ช่วยกันตอบ

ซึ่งคำถามในวันนี้มาจากประโยคบอกเล่าต่างๆ เช่น
“ใครๆ ก็เป็นบรรณารักษ์ได้”
“เอาใครมาทำงานห้องสมุดก็ได้”
“งานห้องสมุดง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้”

เมื่อได้ฟังแล้วเพื่อนๆ มีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ครับ

เอาเป็นว่าไปโหวตกันได้เลย

[poll id=”26″]

เอาเป็นว่าช่วยกันโหวตเยอะๆ นะครับ
แล้ววันหลังผมจะมาเขียนบทความนี้ให้อ่านครับ

About libraryhub 884 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

11 Comments

  1. ไม่จำเป็นหรอก เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์แต่ก็เป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์กันได้ หรือเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดนั่นเอง ยกตัวอย่างขั้นตอนการทำงานให้ดูแล้วกัน

    รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานเทคนิค
    1 ตรวจรับหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จากงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
    2 ตรวจสอบหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องกับระบบ OPAC ของห้องสมุด
    • กรณีพบ ให้ส่งผู้ปฏิบัติงานเพิ่มระเบียนตัวเล่ม (Item records) และดำเนินการจัดเตรียมตัวเล่มเพื่อนำออกบริการ
    • กรณีไม่พบ ให้ตรวจสอบหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องกับฐานข้อมูลของ NLM หรือฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่น ๆ หรือจากข้อมูล CIP ในตัวเล่มของหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
    • ตรวจสอบหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องกับฐานข้อมูลของ NLM หรือฐานข้อมูลของห้องสมุดอื่น ๆ หรือจากข้อมูล CIP ในตัวเล่มของหนังสือ/สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
    • กรณีพบ ให้ทำ Easy Catalog ด้วยการคัดลอกข้อมูลที่จำเป็น เช่น เลขหมู่ หัวเรื่อง และนำไปตรวจสอบความถูกต้องกับคู่มือต่าง ๆ อย่างละเอียดอีกครั้ง
    • กรณีไม่พบ บรรณารักษ์ทำ Original Catalog ด้วยการวิเคราะห์เลขหมู่และลงรายการบรรณานุกรม ตามข้อ 6.4
    3 วิเคราะห์เลขหมู่และลงรายการบรรณานุกรม ดังนี้
    • วิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือเพื่อกำหนดเลขหมู่ โดยใช้คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกันหรือระบบ NLM แต่ถ้าหนังสือเป็นเนื้อหาอื่นที่ไม่ใช่สาขาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จะใช้คู่มือการจัดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันหรือระบบ LC
    • กำหนดเลขหนังสือหรือเลขผู้แต่ง โดยใช้ตารางเลขผู้แต่ง Cutter-Sanborn Three Figure Author Table ซึ่งใช้สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ
    • พิจารณาเนื้อหาของหนังสือเพื่อกำหนดหัวเรื่องโดยใช้คู่มือการกำหนดหัวเรื่องทางการแพทย์ หรือ MeSH (Medical Subject Headings)
    • ลงรายการบรรณานุกรมของหนังสือ ตามหลักเกณฑ์การลงรายการแบบ AACR2R ในแผ่นงาน (Worksheet) พร้อมกำหนดเขตข้อมูล (Tag) ตัวบ่งชี้ (Indicators) และเขตข้อมูลย่อย (Subfields) ตามมาตรฐานการลงรายการแบบ MARC 21 เพื่อสร้างระเบียนรายการบรรณานุกรม
    • ผู้ปฏิบัติงานบันทึกข้อมูลจากแผ่นงานและสร้างระเบียนตัวเล่ม (Item records) ลงในฐานข้อมูลโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ในส่วนงานจัดทำรายการสืบค้น (Cataloging Module)

  2. ไม่จำเป็นหรอคะ??
    ห้องสมุด มี”บรรณารักษ์” และ “เจ้าหน้าที่ห้องสมุด”
    บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่จบตรงสาขาบรรณารักษ์ หรือบางสถาบันได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น”สาขาสารสนเทศาสตร์” (อันเดียวกันกับบรรณารักษ์เพิ่มITเข้ามา) มีความรู้และความเชี่ยวชาญโดยตรง

    ส่วนเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านบริการต่างๆ มีความรู้ด้านห้องสมุดพอสมควร แต่ไม่ได้จบบรรณารักษ์โดยตรง ทำงานเป็นบางส่วนได้

    เป็นส่วนคิดส่วนตัวจากการฟังผู้มีประสบการณ์ค่ะ ฐานะบรรณารักษ์ คนหนึ่ง

    • ผมเป็นเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่เขียนโปรเเกรมเป็น เเต่บรรณารักษ์ไม่รู้เรื่องไอทีเลย เเบบนี้คือยังไงครับ อธิบายหน่อย

  3. บรรณารักษ์ เสมือนเป็นวิชาชีพ
    เปรียบเทียบได้คือ พยาบาล เป็นวิชาชีพ นะคะ เหมือนจะง่ายๆ สบายๆ กับการทำหน้าที่พยาบาล..
    แล้วถ้าใครก็ได้มาทำหน้าที่พยาบาลล่ะ ดิฉันคงไม่อยากเป็นคนไข้คนนั้นแน่ๆ^^
    คงโกลาหล แน่่ เขาคงเลียนแบบให้เหมือน แต่คงไม่เข้าใจลึกซึ้งอย่างท่อแท้ค่ะ…

  4. เห็นด้วยกับข้าวตูครับ การวิเคราห์เลขหมู่ LC ใครไม่เคยเรียนมาออกเลขหมู่ไม่ได้หรอก, แคตตาล็อกก็ไม่ยากแต่รายละเอียดเยอะ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์

  5. ไม่จำเป็น (ถ้าตรงเอกก็ถือว่าจัดวางตัวบุคคลได้คุ้มค่า ใครจะเก่งเท่าเจ้าตัวเล่า) แต่….ที่โรงเรียนมีครูจบบรรณารักษ์ไม่ยอมทำงานห้องสมุดไปสอนหนังสือแทน เปลี่ยนมาหลายคนจนโดนตัวเองนี่เจ้านายเห็นว่ามีความรู้คอมพิวเตอร์รักหนังสือ รักการอ่านและชอบปลูกต้นไม้เลยให้มาดูแลห้องสมุด สร้างบรายากาศค่ะ เปิดตำราคู่มือเกี่ยวกับการบริหารจัดหการห้องสมุด ตามไปอบรมตามที่แหล่งเต่างๆเปิดอบรมครูบรรณารักษ์และหาความรู้บนเฟสนี่แหละ อาจโชคดีที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสคงไม่ต้องล้วงลึกมากมายกับการจัดระบบอลขหมู่ ให้หาง่าย หาเจอ มีหนังสือพอเพียง สะอาด น่าเข้าใช้บริการ และอีกหลายๆตามที่เจ้านายต้องการ ตอนนี้ก็กำลังสนใจจะทำเฟสบุ๊คห้องสมุด ยังไม่เข้าใจว่าต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ตามดูมาก็หลายๆโรงเรียนแล้วค่ะ (ดูบนเฟส) น่าสนใจมากเลยค่ะ ท่านใดจะอนุเคาระห์แนะนำขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ ต้องเสียค่ำใช้จ่ายมากไหมคะ ตอนนี้เป็นครูบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด คนงานห้องสมุดทุกย่างเลย ทุกอย่างอยู่ที่ 2 มือ 1 สมอง และ 1 แรงคนนี้ค่ะ (ช่วยแนะนำด้วยค่ะ จะเปิดเทอมแล้ว ) ต้องขออภัยด้วยที่ตอบอาจไม่ตรงประเด็นค่ะ _/\_

  6. ไม่จำเป็นคะ เพราะห้องสมุดบางครั้งเป็นห้องสมุดเด้กไม่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่เหมือนบรรณรักษื แต่ให้มีความรู้เเรื่องหนังสือสำหรับเด็ก การศึกษา พัฒนาการเด็ก กิจกรรมที่เหมาะกับเด็ก เป็นคนรักการอ่าน ชอบให้ความช่วยเหลือ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่ใช่แค่เป็นยักษ์มานั่งเฝ้าหนังสือเหมือนห้องสมุดหลายๆโรงเรียนในประเทศไทย บรรณรักษ์บางคนก็เก่งแต่ระบบการลงทะเบียน แต่ไม่รู้ว่าจะสร้างสังคมให้คนรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ ได้ิอย่างไร ส่วนมากจะให้บริการเกี่ยวกับหนังสือเรับยหนังสือที่คนจะค้นคว้าเพื่อสอบ หรือทำรายงาน แต่จะสร้างให้คนรักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัยนั้นหายาก ทำงานห้องสมุดเด็กมา 15 ปี เจ้าหน้าที่ที่รับมาทำงานไม่มีใครจบบรรณรักษ์สักคนแต่เราทำได้

    • ส่วนตัวเป็นคนชอบอ่าน แต่งานแลัสังคมที่มีอยู่เป็นอุปสรรคมากๆค่ะ พออ่านคอมเม้นนี้ รู้สึกว่าใช่เลย แล้วถ้าอยากทำงานห้องสมุดต้องทำไงค่ะ

  7. คำถามอาจจะทำให้ตอบได้ทั้งจำเป็นและไม่จำเป็นนะคะ แต่สำหรับในความคิดของตัวเอง คิดว่าบรรณารักษ์เป็นบุคลากรสำคัญที่สุดในห้องสมุด เพราะเป็นผู้ขับเคลื่อนงานทั้งหมด
    ส่วนตำแหน่งอื่นๆ เช่น พนักงานป้อนขัอมูล ดูแลชั้นหนังสือ อาจจะใช้บุคลากรอื่นๆ ที่ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ได้ค่ะ
    แต่ถ้ามีบรรณารักษ์เยอะๆ ก็คุยกันง่ายหน่อย เพราะวิชาชีพเดียวกัน
    บุคลากรสายอื่นๆ ที่ทำงานห้องสมุดก็พัฒนาเป็นบรรณารัก์ได้ โดยการไปเรียนหลักสูตรบรรณารักษ์ค่ะ แค่อบรมเล็กน้อยหรือระยะสั้น คงไม่ได้ผลเท่าไหร่ค่ะ

  8. จำเป็นหรือไม่จำเป็น ดูที่ระบบงานและรายละเอียดงาน ออกมาทุกอย่างดีแล้วหรือยัง สู้บรรณารักษ์จริงๆที่เรียนมาลึกซึ้งได้หรือไม่ ถ้าทำแบบ ผิวเผินไปวันๆ ก็อาจจะได้ แต่ถ้าถามว่ารายละเอียดยิบย่อย ทำได้ดีเท่าบรรณารักษ์จริงๆหรือเปล่า อันนี้ ก็อาจจะคนละความคิดของคน ถึงแม้ว่าคุณไม่ได้จบบรรณารักษ์มาโดยตรง แต่มีความกระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่บรรณารักษ์ให้ดีที่สุด และเรียนรู้มันให้ได้มากที่สุด มีใจรักบริการ ก็สามารถทำได้ ซึ่งบรรรณารักษ์จริงๆ บางคน (บางคนนะ) อาจจะทำไปวันๆ หรือ จริงจังกับงานมากๆๆซึ่งบางครั้งเวลานั่งอ่านหนังสือเพื่อจัดหมวดหมู่หรือรายละเอียด คนอื่นคิดว่ามันสบาย แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์ไม่ได้สบายอย่างที่คิด คุณสามารถตอบคำถาม นักเรียนและคนอื่นๆได้หรือไม่อย่างไร คิดไม่หยุดนิ่ง ทำตลอดเวลา ตอบคำถามได้ว่าอยู่หมวดใด เรื่องอะไร ค้นหาได้จากไหน ที่ใด นั้นแหล่ะคืองานของคำว่า บรรณารักษ์ เรียนรู้ที่จะทำ แต่อย่าเลียนแบบที่จะทำ ก็พอ

  9. หางานค่ะ บรรณารักษ์ตอนนี้หางานยากมาก ในตลาดเหมือนไม่ค่อยต้องการเท่าไร ที่ไหนมีรับสมัครบางค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*