มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ

perception of libraries 2010

ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก
Perception of Libraries, 2010 by OCLC

เอกสารสไลด์ชุดนี้

[slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02]

สรุปข้อมูลจากเอกสาร
1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น

2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด
2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น
2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม
2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง

3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์

4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง

5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ

6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น

7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด

8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่
– บริการหนังสืออ้างอิงและสารสนเทศเฉพาะด้าน
– สถานที่ที่ช่วยทำการบ้าน
– คัดลอกบทความวารสาร
– ผู้ช่วยการวิจัย / การค้นหาเฉพาะด้าน
– การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์
– การยืมคืนหนังสือ
– การอ่านเพื่อความบันเทิง

9. ผู้ใช้บริการมาห้องสมุด เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต ใช้คอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อโลกออนไลน์ ณ ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น

เอาเป็นว่าข้อมูลนี้ก็เป็นข้อมูลแบบย่อๆ เท่านั้นถ้าต้องการอ่านฉบับเต็ม สามารถอ่านได้ที่
http://www.oclc.org/reports/2010perceptions/2010perceptions_all.pdf

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*