QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*