การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (สไลด์บรรยาย)

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (1 พ.ย.) ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และ การประชุมวิชาการ เรื่อง “ทักษะวิชาชีพบรรณารักษ์ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” (Professional Librarian Development and Disruptive Technologies)

และผมเองก็ได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในวิทยากรในการประชุมวิชาการดังกล่าว โดยใน Session ของผม หัวข้อ “การปรับตัวและการเรียนรู้ของสังคมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก” ซึ่งมีเวลาเพียง 45 นาที วันนี้ผมจึงขอสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่าน พร้อมทั้งนำสไลด์ในการบรรยายมาให้ชม

สไลด์ในการบรรยายของผม

สรุปการบรรยาย

ผมเปิดเรื่องโดยเล่าถึงมุมมองทางธุรกิจของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จากยุคที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก มาวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจึ้นมาอยู่อันดับต้นๆ แทนเรียบร้อยแล้ว …. ยุคที่ใครๆ ก็พูดว่า “Data is a new oil” —> ยุคทองของข้อมูล

จากนั้นผมกล่าวถึงรายงานจาก World Economic Forum ว่า “ความรู้ที่เราเคยเรียนมา ตอนนี้บางเรื่องมันหมดอายุ (ใช้ในปัจจุบันไม่ได้แล้ว)” เพราะฉะนั้นกระแสของการศึกษาตลอดชีวิตจึงเข้ามามีบทบาทต่อเรา และเราก็ต้องเรียนรู้ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

แถมเราต้องทำความเข้าใจกับคำสามคำ ดังนี้ Learn,Relearn,Unlearn ซึ่งตัวที่ทำยากที่สุด คือ Unlearn เพราะคนเรามักยึดถือสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้และไม่ยอมปล่อยวาง…

ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคนี้ มันไม่เหมือนเมื่อก่อน ซึ่ง OCLC ได้กล่าวถึงรายงานการศึกษา Landscape ใหม่ของวงการ โดยแบ่งออกเป็น 6 เรื่อง ได้แก่

1.Staffing หรือ คนทำงาน (บรรณารักษ์)

  • ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะนวัตกรรม และแนวโน้มทางสังคม
  • ต้องรู้จักจัดการสื่อหรือความรู้บนโลกออนไลน์ (catalog หรือจัดกลุ่มเนื้อหาออนไลน์)
  • ต้องมีทักษะในเรื่องการให้บริการออนไลน์
  • ต้องยอมรับความเสี่ยง
  • เปลี่ยนคำเรียกจาก “Librarian” เป็น “Service Manager”

2.Role หรือ บทบาทของห้องสมุด

  • ศูนย์กลางของชุมชน
  • ผู้รวบรวมข้อมูลและหน่วยประสานงานระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่น
  • คำนึงถึงความยั่งยืน
  • สร้างระบบการจัดส่งหนังสือใหม่ๆ
  • บริการสื่อการเรียนรู้ออนไลน์แบบเชิงรุก

3.Users หรือ ผู้ใช้บริการ

  • คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะ (เราบริการทั้งหมดไม่ได้ต้องมีจุดที่เราต้องโฟกัส)
  • การให้บริการแบบ Personalized
  • ลูกค้าพึงพอใจในการใช้บริการด้วยตนเอง
  • เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้าได้
  • ลูกค้ายังชอบความสะดวกสบาย

4.Content หรือ เนื้อหา

  • การจัดกลุ่มเนื้อหาแบบเดิมไม่ตอบโจทย์ลูกค้าอีกแล้ว
  • สื่อแบบใหม่ๆ เช่น สิ่งพิมพ์แบบ print on demand
  • เรื่องลิขสิทธิ์ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ
  • การจัดการกับหนังสือหรือสื่อที่ไม่ถูกใช้งาน
  • สร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหา

5.Funding หรือ เงินทุน หรือ การสนับสนุน

  • การระดมทุน
  • การนำเสนอผลการดำเนินงานของห้องสมุดที่สังคมต้องการรู้
  • ที่มาของรายได้
  • เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ

6.Collaboration หรือ ความร่วมมือ

  • การทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานอื่นๆ
  • การทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด
  • การจัดหาทรัพยากรร่วมกัน (เพื่อให้มีอำนาจต่อรอง)

ภาพความประทับใจในงาน (มีรูปผมน้อยมากได้มาแค่นี้)

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*