วันนี้มีเพื่อนผมคนนึงส่งบทความนี้มาให้ (บทความในนิตยสารแจกฟรี BK)
บทความนี้พูดถึงเรื่องห้องสมุดในกรุงเทพได้น่าสนใจมาก
ในฐานะนายห้องสมุด ก็ต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย

ห้องสมุดสำหรับคนรักห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือ
วันนี้มีเพื่อนผมคนนึงส่งบทความนี้มาให้ (บทความในนิตยสารแจกฟรี BK)
บทความนี้พูดถึงเรื่องห้องสมุดในกรุงเทพได้น่าสนใจมาก
ในฐานะนายห้องสมุด ก็ต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย
วันนี้ไปเจอแผนภาพที่เกี่ยวกับห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ของคนทั่วโลกมา ข้อมูลในแผนภาพได้บอกถึงจำนวนการมีห้องสมุดประชาชนในแต่ละประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ดูๆ ไปก็แอบอึ้งเล็กๆ เพราะคนที่รวบรวมต้องใช้เวลานานพอสมควรเลยกว่าจะได้ข้อมูลที่ละเอียดหยิบขนาดนี้
มีการจัดอันดับห้องสมุดสุดใหญ่โตและอลังการในประเทศสหรัฐอเมริกา เกณฑ์ในการตัดสินครั้งนี้ คือ วัดจากจำนวนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ใครมีมากกว่าก็จะแปลว่าใหญ่กว่า “ตรงไปตรงมากครับ เพราะถ้ามีพื้นที่ในการเก็บเยอะนั้นก็หมายความว่าต้องมีพื้นที่และขนาดที่เยอะไปด้วย”
สถิติจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ได้มาจากการสำรวจของ สมาคมห้องสมุดสหรัฐอเมริกา (ALA)
ตัวเลขผมเองก็ไม่ค่อยแปลกใจสักเท่าไหร่หรอกครับ
แต่ที่ผมสนใจ คือ การนำข้อมูลนี้มาจัดทำเป็นภาพ infographic ต่างหาก
ไปชมกันได้เลยครับ
มีน้องคนนึงอยากให้ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสำหรับผู้พิการแบบต่างๆ และให้ยกตัวอย่างในต่างประเทศ
วันนี้ผมขอแนะนำ ห้องสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตา ก่อนนะครับ
จริงๆ มีหลายประเทศที่ยกระดับเป็น “หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ” หรือ National Library for Blind
ดองอัลบั้มนี้มานานมาก จริงๆ ได้ภาพชุดนี้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 แต่เพิ่งจะนำมาลงให้เพื่อนๆ ชม
จริงๆ ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ “Bishan Public Library” ไปเมื่อปี 2012 ลองอ่านย้อนหลังที่
บรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดในสิงคโปร์ : Bishan Public Library
เดือนสุดท้ายของปี หากผมไม่เขียนเรื่องนี้ก็คงแปลกๆ นะครับ
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการหาไอเดียเพื่อการตกแต่งห้องสมุดในบรรยากาศเทศกาลคริสต์มาส
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีมุมมองใหม่ๆ และได้ไอเดียเก๋ๆ ไว้สร้างบรรยากาศในห้องสมุด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน OKMD Knowledge Festival 2013 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
ส่วนบล็อกที่ผมจะเขียนถึงในวันนี้จะเป็นส่วนของนิทรรศการที่จัดนะครับ (นิทรรศการนี้จะจัดถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นะครับ)
ภายในนิทรรศการนี้มีอะไรที่น่าสนใจมากมายเลยครับ (อยากให้เพื่อนๆ ที่มีเวลามาชมกัน ส่วนใครไม่มีเวลาก็อ่านบล็อกนี้นะครับ)
บริษัท PlayOffice (ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อการเรียนรู้) จากประเทศสเปน
ได้ออกแบบแนวคิดในการอ่านแบบไร้ขีดจำกัด ให้กับบรรดาห้องสมุดต่างๆ ในประเทศสเปน
โดยใช้แนวคิด Reading Net หรือ “โครงข่ายแห่งการอ่าน”
Reading Net ความแปลกใหม่บนพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่แฝงไปด้วยความสนุก การใช้งานได้จริง เพิ่มพื้นที่ให้กับห้องสมุด
แนวคิดง่ายๆ คือ การนำตาข่ายมาขึงเพื่อให้สามารถนอนอ่าน นั่งอ่าน ….
จริงๆ แล้วตอนแรกผมนึกถึงเปลญวนที่มีไว้นอนเล่น ใต้เงาไม้แบบร่มๆ (นึกแล้วอยากนอนเลย)
ผมเห็นไอเดียนี้แล้วนึกถึงแบบแปลนของห้องสมุดประชาชนต่างๆ ในประเทศขึ้นมาเลย
โดยเฉพาะห้องสมุดที่มี 2 ชั้น แล้วช่วงกลางของอาคารเป็นพื้นที่โล่ง
ถ้ามี Reading net แบบนี้มาขึงคงสร้างบรรยากาศ ความแปลกใหม่ให้มากทีเดียว
แต่เรื่องนี้คงต้องศึกษากันอย่างละเอียดนะครับ
เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ต้องมาเป็นอันดับ 1
เอาเป็นว่าต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกันด้วยแล้วกันครับ
Credit photo : http://www.designboom.com/design/reading-net-turns-libraries-into-hanging-learning-labs-11-13-2013/
หลังจากที่เปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้บริหารน้อยๆ ชีวิตผมก็เริ่มเปลี่ยนไป
เริ่มมีเวลาดูข้อมูล อ่านหนังสือ เยี่ยมชมเว็บไซต์ วันนี้ได้อ่านเจอประโยคนึงแล้วรู้สึกว่ามันโดนใจ
วันนี้จึงขอนำประโยคนี้มาวิเคระห์และเชื่อมโยงกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ดู
ประโยคที่ว่านี้คือ Knowledge + Connection = Success
การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้ นอกจากมีความรู้แล้วยังต้อง “รู้จักคน” ด้วย
เริ่มจากการวิเคราะห์ว่า “ความสำเร็จในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์” คืออะไร
ห้องสมุดควรเป็นเช่นนี้
– สถานที่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
– สถานที่ที่คนนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เวลาต้องการความรู้หรือต้องการคำตอบ
– สถานที่ที่คนเข้ามาใช้แล้วไม่มีคำว่า “น่าเบื่อ” “ไม่น่าใช้”
– สถานที่ที่เข้ามาแล้วทุกคนจะต้องพูดว่า “ขอบคุณนะที่มีสถานที่แบบนี้”
ฯลฯ
บรรณารักษ์ควรเป็นคนแบบนี้
– ผู้ที่ผู้ใช้เข้ามาทักทาย พูดคุย และถามในสิ่งที่ตนเองต้องการจากห้องสมุด
– ผู้ที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาความรู้ หรือ ค้นหาคำตอบ
– ผู้ที่ทุกคนไม่นำไปพูดถึงในทางที่แย่ๆ
– ผู้ที่ไม่ได้เป็นเพียงคนนั่งเฝ้าในสายตาของผู้ใช้บริการ
ฯลฯ
ความสำเร็จที่ว่ามีความหมายมากมาย เอาเป็นว่าโดยรวมคือสิ่งที่ดี
และเพื่อนๆ เองก็พยายามจะทำให้มันเกิดขึ้นให้ได้
เอาหล่ะเมื่อสูตรความสำเร็จมาจาก “ความรู้” และ “การเชื่อมโยง”
Success = Knowledge + Connection
Knowledge ผมคงไม่เจาะจงหรอกนะครับว่าต้องมีความรู้อะไร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ “ฉลาดที่จะเรียนรู้” “รักในการเรียนรู้” “ประยุกต์ใช้ความรู้ที่มี”
เพียงเท่านี้เพื่อนๆ ก็จะมีความรู้ในการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เอง
Connection ผมคงไม่เจาะจงอีกว่าจะต้องติดต่อกับใคร
ขอเพียงแค่เพื่อนๆ รู้ว่า “ใครที่จะต้องติดต่อ” “หน่วยงานไหนมีอะไรดี”
โลกนี้คนเก่งทำงานคนเดียวก็สู้คนที่ทำงานเป็นทีม หรือ ทำงานแบบเครือข่ายไม่ได้
นอกจากเรื่องติดต่อแล้ว ผมขอย้ำคำเดิมว่า “Sharing Knowledge is power“
คนที่ชอบแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ เป็นคนที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น
ดังนั้นจงเก่งที่จะเรียนรู้และเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับเรื่องที่ทำ
จะทำให้วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยพัฒนาไปได้อีกไกล
หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที”
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง
แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life”
ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย
เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้
1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา – http://www.casapalopo.com/
2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย – http://www.thelibrary.co.th
3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ – http://www.gladstoneslibrary.org/
4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา – http://www.kurahulanda.com/index.php
5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย – http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx
6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา – http://www.longboatkeyclub.com/
7.Taj Falaknuma Palace, ประเทศอินเดีย – http://www.tajhotels.com/Luxury/Grand-Palaces-And-Iconic-Hotels/Taj-Falaknuma-Palace-Hyderabad/Overview.html
8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู – http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/
9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก – http://www.libraryhotel.com/
เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]
ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html