QR code กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ

qr code in mobile technology for library

ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet

ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
– ตัวอักษร
– ตัวเลข

QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น

“1234567890123456789012345678901234567890”

Barcode

12345678901234567890_mv0nis

QR code

12345678901234567890_mv0njg

เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า

เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร

– ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
– จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
– แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
– login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
– ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
– Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ

ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes

ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
– โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia

โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.

ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว

e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

 

pbookshelf

 

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ

เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่ http://www.barcode-generator.org/

ลองเข้าไปทำดูนะครับ มีรูปแบบให้เลือกเยอะเลยแหละ

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร

วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม

ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ

ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย

DM-Export-WSources

เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012

7_mobile

– มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14%
– ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12%
– ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7%

นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ

ljx120201webThomas1

– ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog)
– ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application
– จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์
– ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์
– ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด
– อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด
– ดูประวัติการยืมคืน หรือ การอ่านหนังสือย้อนหลังได้
– ยืมหนังสือเพียงแค่สแกนบาร์โค้ตลงใน application
– เข้าถึงฐานข้อมูลของห้องสมุด
– ดาวน์โหลด Ebook ไปอ่าน

เห็นมั้ยครับว่ามีประโยชน์มากมาย ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงประโยชน์ของผู้ใช้บริการนะครับ
ประโยชน์ในมุมมองของบรรณารักษ์และผู้ให้บริการก็ยังมีอีกเพียบเลยเช่นกัน
ไว้ผมจะกล่าวในครั้งหน้านะครับ

เอาเป็นว่ายังไๆ ผมว่า Mobile Technology เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น
ถ้าเพื่อนๆ รู้ก่อน และปรับตัวให้เข้ากับมันได้เร็ว ห้องสมุดของเพื่อนๆ ก็ได้เปรียบครับ….

งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology

ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย

TLA-PosterOnweb

ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology

ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ

รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย

หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library

แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ

สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท

รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

เรื่องชวนปวดหัวที่ว่านี้ ผมว่าเพื่อนๆ บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่า “เรื่องแค่นี้เอง” ไม่เห็นมันจะน่าปวดหัวตรงไหนเลเอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านแล้ว ลองดูนะครับว่าถ้าเพื่อนๆ อยุ่ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้ง 17 เรื่องนี้ เพื่อนๆ จะทำอย่างไร

anigif_enhanced-buzz-6606-1376527348-7

17 เรื่องชวนปวดหัว ที่จะมีเพียงคนรักหนังสือเท่านั้นที่เข้าใจ

1. เมื่อมีคนมาถามคุณว่า “หนังสืออะไรที่คุณชื่นชอบมาที่สุด” และขอให้หยิบมาให้เขาหน่อย
(บางทีหนังสือที่ผมชอบที่สุด ผมอาจจะไม่ได้ซื้อเก็บไว้ก็ได้จริงมั้ยครับ)

2. เมื่อใครบางคนมารบกวนคุณในขณะที่กำลังอ่านหนังสือเพลินๆ
(บางครั้งอาจจะทำให้ต้องย้อนกลับมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้น)

3. เมื่อหนังสือที่อ่าน ถูกำออกมาเป็นภาพยนตร์ แล้วไม่ตรงกับที่เคยอ่าน
(อันนี้เจอบ่อยมากครับ แอบเจ็บใจเล็กๆ เวลาเล่าให้เพื่อนฟังแล้วออกมาไม่ตรงกับที่เล่า)

4. เมื่อตัวอักษรในหนังสือปะปนอยู่ในรูปภาพจนอ่านไม่รู้เรื่อง
(เรื่องนี้ก็จริงนะ บางครั้งเราเสียสมาธิกับการอ่านเพราะรูปภาพนี่แหละ)

5. เมื่อคุณจะเล่าเรื่องอะไรก็ตามให้กับคนที่เขาไม่ชอบอ่านเรื่องๆ นั้น
(เล่าให้คนที่ไม่รู้เรื่องฟัง ประเด็นคือ จบ)

6. เมื่อคุณลืมกินหรือนอนเพราะมัวแต่ติดกับการอ่านหนังสือที่ชอบ
(หนังสือที่ชอบอ่านไปอ่านมารู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว….)

7. เมื่อตัวละครที่คุณชอบตาย…  เมื่อคุณคิดว่าเดี๋ยวตัวละคที่ชอบตัวนั้นจะฟื้น มันก็ไม่ฟื้น
(อันนี้ออกแนวเสียความรู้สึกเล็กๆ)

8. เมื่อหนังสือที่คุณชอบถูกวิจารณ์อย่างไม่เข้าท่า
(มาวิจารณ์อะไรนักหนา)

9. เมื่อผู้เขียนหยุดเขียนเรื่อง (ทั้งๆ ที่จะต้องมีภาคต่อ)
(อ่านแล้วค้างคา แบบเซ็งมาหลายเรื่องแล้ว)

10. บางมีคนมาสปอยตอนจบให้เราฟัง
(บ้านเราเยอะนะเรื่องนี้)

11. เมื่อคุณเดินเข้าร้านหนังสือ
(นักอ่านตัวจริงจะต้องเสียเงินมากมาย อิอิ)

12. เมื่อคุณให้คนอื่นยืมหนังสือไปแล้ว เขาคืนกลับมาด้วยสภาพที่ไม่เหมือนเดิม
(บรรณารักษ์ชวนคิดนะ)

13. (ต่อจากข้อเมื่อกี้) ให้ยืมไปแล้ว ไม่ได้คืนกลับมา
(อันนี้เสียความรู้สึกอย่างหนัก)

14. เมื่อคุณอ่านเรื่องจบแล้ว ต้องรอภาคต่ออีกเป็นปี
(จะให้รอทำไมนานๆ)

15. เมื่อหนังสือทำให้คุณร้องไห้ในที่สาธารณะ แล้วคนรอบข้างคิดว่าคุณบ้าน
(แอบบว่าอินเนอร์มันออกมา คนอื่นไม่เข้าใจอ่ะ)

16. เมื่อเรื่องที่อ่านคลุมเครือไม่ชัดเจน หาที่อ้างอิงก็ไม่ได้
(ต้องรีบหาที่มาทั้งที)

17. เมื่อมีคนพูดว่าคุณอ่านเยอะเกินไป
(ก็เรื่องของฉัน….)

เอาเป็นว่าเรื่องน่าปวดหัวทั้ง 17 เรื่องนี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำความเข้าใจได้ง่ายเลย
เพราะเพื่อนๆ คงเป็นนักอ่านกันจริงๆ ใช่มั้ยครับ….

ที่มาของเรื่องนี้ 17 Problems Only Book Lovers Will Understand
 ปล. อยากให้ดูรูปประกอบมากๆ ตลกดี

วงจรการจัดซื้อ (Acquisitions Life Cycle) สำหรับงานห้องสมุด

ใกล้งานสัปดาห์หนังสือแล้ว ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยหลายคนกำลังรอที่จะมาซื้อหนังสือหรือสื่อต่างๆ เข้าห้องสมุด วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับกระบวนการในการจัดซื้อจัดหามาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีกสักหน่อย อย่างน้อยก็ขอเตือนสติสำหรับบรรณารักษ์บางคนที่ต้องการนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาละลายในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้

Acquisitions Life Cycle

เริ่มต้นก่อนมางานสัปดาห์หนังสือ หรือ คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนการซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด มีดังนี้
1. What หนังสือเนื้อหาในกลุ่มใดที่คุณจะมาซื้อในงานนี้
2. Where หนังสือที่คุณจะซื้ออยู่ตรงไหน หรือสำนักพิมพ์อะไร
3. When หนังสือที่คุณจะซื้อเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่
4. Why ทำไมต้องมาซื้อหนังสือในงานนี้
ผมเริ่มจาก Question word นะครับ เพื่อนๆ ตอบตัวเองได้หรือเปล่า

เอาหล่ะครับ ทีนี้เรามาดูอะไรทีเป็นวิชาการกันบ้าง
จากหนังสือของ Evans, G. Edward
ชื่อหนังสือ Developing Library and Information Center Collections

Presentation2

ได้กล่าวถึงวงจรในการจัดซื้อ – Acquisitions Life Cycle ไว้ว่า
1. Community Analysis วิเคราะห์ความต้องการของชุมชน
2. Selection Policies กำหนดนโยบายในการเลือกซื้อ
3. Selection เลือกและค้นหา
4. Acquisition จัดซื้อจัดหา
5. Weeding / Deselection จำหน่ายออก
6. Evaluation ประเมินคุณค่า

ดูวงจรได้ตามแผนภาพที่ผมจัดทำขึ้นได้เลยครับ สังเกตว่ามันเป็นวงจรที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และมันจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้นทุกครั้ง วงจรนี้เองเป็นวงจรที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ลองคิดและทบทวนขั้นตอนในการเลือกซื้อหนังสือให้ดี เช่น

1. ความต้องการของชุมชน — ผู้ใช้บริการเรามีความหลากหลายเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นห้องสมุดประชาชนคงจะตอบว่า ผู้ใช้ต้องการเกือบทุกสิ่งอย่าง เนื้อหาก็หลากหลาย รูปแบบก็หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนวนิยาย หนังสือทั่วไป หนังสือวิชาการ วารสาร นิตยสาร และอื่นๆ อีกจิปาถะ แล้วจะใช้ข้อนี้ได้อย่างไร — แบบฟอร์มเสนอรายชื่อหนังสือเข้าห้องสมุด — เพื่อนๆ มีหรือไม่ ถ้ามีแล้วเราเคยจัดซื้อเพื่อผู้ใช้บริการหรือไม่ สิ่งแรกที่เพื่อนๆ ต้องทำ คือ รวบรวมรายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเหล่านั้นแหละมาซื้อในงานนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะซื้อทั้งหมดนะครับ ไปดูขั้นตอนต่อไปก่อน

2. ซื้อตามนโยบาย – วัตถุประสงค์ของห้องสมุด – งบประมาณ – ตรวจซ้ำในห้องสมุด
รายชื่อหนังสือที่รวบรวมมาแล้ว เรามาพิจารณากันต่อที่นโยบายของห้องสมุด ดูความเหมาะสมของเนื้อหาว่าสอดคล้องกับการให้บริการของห้องสมุดเราหรือไม่ หรือผู้ใช้บริการเสนอหนังสือที่มีราคาสูงมากๆ ยิ่งต้องคิดในเรื่องงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในงานสัปดาห์หนังสือ สมมติถ้าราคาในท้องตลาดมีราคาสูงมาก แต่ในงานสัปดาห์หนังสือมีราคาถูกลงมากก็พิจารณาเก็บรายชื่อดังกล่าวไว้ซื้อในงานสัปดาห์หนังสือดีกว่า

3. เลือกจาก list และค้นหาข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อเราได้รายชื่อที่เราต้องการซื้อแล้ว เราควรดูหนังสือที่มีเนื้อเรื่องใกล้เคียงกันด้วย เช่น “Microsoft Office” เราสามารถดูและลองเปรียบเทียบจากสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเราซื้อจากสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จะได้ส่วนลดมากกว่า การซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เว้นแต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้พิมพ์ในเมืองไทย (หนังสือต่างประเทศ) เราต้องเปรียบเทียบและทำ list ไว้ได้เลย เวลาไปถึงงานสัปดาห์หนังสือแล้วจะได้มีทิศทางในการเลือกซื้อ เช่น เราต้องรู้แล้วว่าจะซื้อจากสำนักพิมพ์ไหนบ้าง

4. ไปซื้อได้แล้ว
กระบวนการนี้ไม่ยากมาก คือ การไปเดินซื้อในงานสัปดาห์หนังสือได้เลย ขอแผนที่ก่อนเข้างาน หรือ เราควรดูแผนที่จากเว็บไซต์ก่อนเดินทางไปที่งาน (แนะนำเพราะคนเยอะมาก) ได้ที่ http://thailandexhibition.com/TradeShow-2013/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-18-2475.html พอไปถึงก็เดินตามแผนที่ที่วงไว้ได้เลย เลือกหนังสือที่เรา list ไว้ก่อน ถ้าเหลือเวลาค่อยเดินชมงานและเลือกหนังสือเพิ่มเติม

5. จำหน่ายของเก่าออกบ้าง
ขอจำกัดของห้องสมุดเกือยทุกแห่ง คือ พื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือ อย่างว่าแหละครับ คงไม่มีเพื่อนๆ ซื้อหนังสือใหม่เสร็จแล้วซื้อชั้นหนังสือใหม่ต่อเลยใช่ปล่าว ดังนั้นการหาพื้นที่ให้หนังสือใหม่จึงเป็นความจำเป็นเช่นกัน ยิ่งถ้าห้องสมุดไหนมีหนังสือเต็มชั้นจนไม่มีที่จะเก็บแล้ว ผมว่าการจำหน่ายหนังสือเก่าออกบ้างเป็นเรื่องที่ห้องสมุดต้องดำเนินการนะครับ ซึ่งเรื่อง “วงจรการจำหน่ายหนังสือออก (Weeding Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที

6. การประเมินคุณค่าของหนังสือ
เพื่อนๆ เคยเข้าไปดูสถิติการใช้งานของหนังสือบ้างหรือไม่ ว่าหนังสือที่ห้องสมุดจัดซื้อจัดหาเข้ามาในห้องสมุด บางเล่มก็เป้นที่นิยมถูกหยิบยืมจำนวนมาก บางเล่มแทบจะไม่มีคนยืมเลย วิธีการสังเกตห้องสมุดที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถดูสถิติการใช้หนังสือแต่ละเล่มได้อยู่แล้ว ส่วนบางห้องสมุดก็ใช้วิธีการประทับตราวันกำหนดส่งท้ายเล่ม นั่นก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เพื่อนๆ สังเกตการใช้งานของหนังสือได้เช่นกัน ซึ่ง “วงจรการประเมินคุณค่าของหนังสือ (Evaluation Life Cycle)” ผมจะเอาไว้เขียนให้อ่านอีกที เช่นกัน

เอาเป็นว่า ก่อนการไปซื้อหนังสือหรือสื่ออะไรก็ตามเข้าห้องสมุดในช่วงงานสัปดาห์หนังสือ เดือนตุลาคมนี้ เพื่อนๆ คงมีการคิดอย่างดีแล้ว และเลือกหนังสือได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการของห้องสมุดกันถ้วนหน้านะครับ

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

วันนี้เจอเรื่องขำๆ ขอแชร์ให้เพื่อนๆ ดูเป็นไอเดีย เผื่อที่บ้านใครมีของที่ไม่ได้ใช้แล้วอาจจะเอามาลองประดิษฐ์เป็นชั้นหนังสือเก๋ๆ กันบ้าง บางอย่างเราอาจจะนึกไม่ถึงเลยก็ได้ [ดูแล้วต้องบอกเลยว่าคิดได้ไงเนี้ย]

Presentation1

11 ชั้นหนังสือน่าคิด ที่ทำจากของที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

1. เอารถจากัวร์มาทำเป็นชั้นหนังสือ

jaguar-bookshelf-motart

2. เอาเรือมาทำเป็นชั้นหนังสือ

boat-bookcase

3. เอาเปียโนมาทำเป็นชั้นหนังสือ

21-brillant-objects-made-from-recycled-materials-16

 

4. เอาตัวต่อ Lego มาทำเป็นชั้นหนังสือ

lego-bookshelf

 

ชมภาพทั้งหมดได้ที่นี่เลยครับ

[nggallery id=66]

หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ไอเดียดีๆ ไปลองใช้ดูนะครับ

 

ที่มาของเรื่องนี้ : 11 Ingenious Bookshelves Made From Unusual Repurposed Items

10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่

บทความนี้มาจากบทความ เรื่อง Leadership Qualities for Future Library Leaders : Carol’s 10 Steps to Being a Great Library Leader โดย คุณ Carol A. Brey-Casiano ซึ่งเป็น Director of Libraries ของ El Paso Public Library

Presentation1

10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่

ขั้นที่ 1 หาที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ หรือ ไม่ก็เป็นที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ซะเองเลย 
ขั้นที่ 2 เรียนรู้วิธีการและการทำงานของผู้ตามคุณเป็นสิ่งแรก
ขั้นที่ 3 เป็นคนที่จะทำให้วิสัยทัศน์ขององค์กรประสบผลสำเร็จ (นั่นคือคุณต้องรู้จักและเข้าใจวิสัยทัศน์ของห้องสมุดที่คุณดูแลเสียก่อน)
ขั้นที่ 4 เป็นผู้ให้บริการที่ดี
ขั้นที่ 5 ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้ได้
ขั้นที่ 6 ดูแลทุกสิ่งอย่างด้วยตัวเอง
ขั้นที่ 7 มองโลกในแง่ดี
ขั้นที่ 8 พยามยามรักษาตำแหล่งและภาวะความเป็นผู้นำของคุณ ไม่ปัดความรับผิดชอบ
ขั้นที่ 9 เรียนรู้และกระตุ้นให้ผู้ตามมีประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น
ขั้นที่ 10 อย่าทำตัวซีเรียสตลอดเวลา มีอารมณ์ขันได้บ้างแต่พองาม

ขั้นตอนทั้ง 10 นี้จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของคุณให้กลายเป็นผู้นำในห้องสมุดได้ดี
อยากให้ทุกท่านลองนำไปคิดและลองปฏิบัติกันดูนะครับ

50 ก้าว สู่การเป็น ผู้นำ ที่ทุกคนยอมรับอย่างจริงใจ

ข้อคิดดีๆ จากการอ่านหนังสือ “50 ก้าว สู่การเป็น ผู้นำ ที่ทุกคนยอมรับอย่างจริงใจ” เมื่อวันก่อนของผม คือ
ก้าวแรก “ผู้นำ” มาก่อน “ตำแหน่ง”
บางทีคนเราสามารถเป็นผู้นำได้โดยไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สูงเสมอไปก็ตาม
ขอเพียงแค่มีคนยอมรับ และคุณมีการเตรียมพร้อมตัวเองที่ดี
สักวันหนึ่งคุณก็จะขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งของผู้นำได้โดยคุณเองอาจไม่รู้ตัว

ปล. นอกจากวงการห้องสมุดแล้ว ผมเชื่อว่า 10 ขั้นตอนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้ในทุกอาชีพ ทุกตำแหน่ง ทุกเพศ และทุกวัย

เอกสารบทความฉบับเต็มเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.library.illinois.edu/mortenson/book/10_brey-cassiano.pdf

ผลสำรวจ : ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทั้งหนังสือและเทคโนโลยี

วันนี้ผมขอนำเสนอรายงานฉบับนึงที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รายงานฉบับนี้จัดทำโดย Pew Research Center ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยีแบบฟรีมีความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุด พอๆ กับหนังสือแบบฉบับพิมพ์และบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

Library Services in the Digital Age

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

การสำรวจข้อมูลเริ่มต้นในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2555 สำรวจผ่านโทรศัพท์มือถือ
และผู้ที่ให้ทุนในการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ คือ มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation)

สรุปข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลผู้ใช้บริการเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีกับห้องสมุด
1. ผู้ใช้บริการใช้บริการอะไรบ้าง…

– บริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์ออนไลน์
– เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในห้องสมุด
– ลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ
– เมื่อต้องการเดินทางมาห้องสมุดจะใช้ GPS นำทางมาได้
– ใช้บริการเครื่องยืมคืนหนังสือ / เครื่องเช่าหนังสืออัตโนมัติ ตามจุดที่ให้บริการต่างๆ ในชุมชน
– อ่าน review หนังสือ และดูหนังสือแนะนำที่เหมาะกับตัวเอง (Amazon)

2. ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (53%) ไปห้องสมุดหรือเข้าเว็บไซต์ห้องสมุดหรือใช้ app ห้องสมุดเพื่อ…

– 73% ค้นหาข้อมูลหนังสือและสื่อ
– 73% ยืมหนังสือฉบับพิมพ์
– 54% ค้นหาข้อมูลงานวิจัยหรือค้นหาข้อมูลในเรื่องที่ตนเองสนใจ
– 50% ขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์
– 49% นั่ง อ่าน และเรียนในห้องสมุด
– 46% ใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย
– 41% เข้าร่วมหรือพาเด็กๆ มาร่วมกิจกรรม การอบรม และงานอีเวนท์
– 40% ยืม DVD ภาพยนตร์
– 31% อ่านและยืมนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์
– 23% มาประชุมกลุ่ม
– 21% เข้าร่วมกิจกรรมผู้ใหญ่
– 17% ยืมหรือดาวน์โหลดหนังสือเสียง
– 16% ยืม CD เพลง

จากข้อมูลรายงานฉบับนี้ทำให้เราได้เห็นว่าความสำคัญของห้องสมุดที่เป็นสถานที่ และการเข้าถึงห้องสมุดจากภายนอกด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานเพื่อการพัฒนาห้องสมุดในปีต่อไปได้นะครับ

ยังไงก็อย่าลืมไปดาวน์โหลดมาอ่านกันนะ

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่าน บล็อก mentalfloss แล้วเจอบทความนึงที่น่าสนใจมาก ซึ่งผมเองก็หาเรื่องแบบนี้มานานแล้ว ปกติพอพูดถึงห้องสมุดสุดอลังการ หลายคนจะนึกถึงห้องสมุดแถบยุโรปหรือไม่ก็แถบอเมริกาไปเลย ซึ่งจริงๆ แล้วในเอเซียเองก็มีห้องสมุดที่น่าสนใจมากมายนะครับ เอาเป็นว่าลองไปดูกันดีกว่าครับ

8 incredible libraries asia

8 ห้องสมุดที่สุดเหลือเชื่อในเอเซีย มีที่ไหนบ้างน้า…
1) David Sassoon Library, India
2) Raza Library, India
3) The National Library of China
4) The Tianyi Pavilion Library, China
5) National Library of Bhutan
6) Grand People’s Study House, North Korea
7) Nakanoshima Library, Japan
8) Beitou Library, Taiwan

ห้องสมุดทั้งแปดแห่งนี้มาจาก 6 ประเทศด้วยกัน คือ อินเดีย, จีน, ภูฎาน, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น และไต้หวัน
ห้องสมุดที่อยู่ใน list ที่ผมอยากไปมีอยู่ 3 แห่งครับ คือ
– National Library of Bhutan (ความอลังการที่น่าดึงดูดใจ)
– Grand People’s Study House, North Korea (เข้าประเทศนี้ได้ยากมาก แต่ก็อยากเห็น)
– Beitou Library, Taiwan (ห้องสมุดสีเขียวที่ผมอยากเห็นมานานแล้ว)

เอาหล่ะครับไปชมภาพของห้องสมุดทั้ง 8 แห่งดีกว่าครับ

1) David Sassoon Library, India
lib1

Images courtesy of Flickr users bookchen

2) Raza Library, India
lib2
3) The National Library of China
lib3

Image courtesy of  Flickr user Dennis Deng.

4) The Tianyi Pavilion Library, China
lib4

Images courtesy of What’s On Ningbo.

5) National Library of Bhutan
lib5

Image courtesy of Wikipedia user Christopher J. Flynn

6) Grand People’s Study House, North Korea
lib6

Images courtesy of Flickr users John Pavelka

7) Nakanoshima Library, Japan
lib7

Image courtesy Flickr users hetgallery

8) Beitou Library, Taiwan
lib8

Images courtesy of Flickr user JAQ’s PhotoStorage

เอาเป็นว่าน่าสนใจทั้งแปดแห่งเลยมั้ยครับ ถ้ามีโอกาสในชีวิตนี้ผมจะต้องไปเยี่ยมเยียนห้องสมุดเหล่านี้ให้ได้
และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมสัญญาว่าจะนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เห็นและรู้จักห้องสมุดเหล่านี้มากขึ้นแน่

ที่มาของข้อมูลและภาพจาก http://mentalfloss.com/article/30982/8-incredible-libraries-asia
สรุป แปลและเรียบเรียงโดย Ylibraryhub

การอบรม สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย

วันนี้มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอบรมที่น่าสนใจมาบอกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน การอบรมนี้มีชื่อว่า “สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย” วิทยากรมาจากประเทศญี่ปุ่นเลยด้วยครับ การอบรมนี้ จัดโดย กลุ่มเมล็ดฝัน

storyteller

รายละเอียดการอบรมเบื้องต้น
ชื่อการอบรม : สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย
วิทยากร : MS. Keiko Kato
สถานที่จัดงาน : อาคารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ ซ.ทองหล่อ 25
วันที่จัด : วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00-16.00 น.
จัดโดย : ศูนย์แลกเปลี่ยนและอบรมเพื่อเด็ก “เมล็ดฝัน”

กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับหนังสือภาพ และการทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย โดยเฉพาะบรรณารักษ์ หรือคุณครูที่ทำงานในห้องสมุดโรงเรียน ผมว่าเป็ฯโอกาสที่ดีนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรที่มาจากเมืองนอกในการบรรยายเรื่องนี้ แถมวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือภาพจากประเทศญี่ปุ่นด้วย

เอางี้ดีกว่ามารู้จักวิทยากรกันก่อนนะครับ
MS. Keiko Kato – วิทยากรอิสระ ที่เป็นที่นิยมในการจัดอบรม ได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์หนังสือภาพ อนุบาล ศูนย์เด็ก ห้องสมุดในภาคคันไซ จัดอบรมหรือเสวนาให้กับหน่วยงานต่างๆ กว่า 100 ครั้ง / ปี

โห แค่ประวัติแบบย่อๆ ก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

งานนี้มีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ แค่ 650 บาท เท่านั้น (อาหารว่าง อาหารกลางวัน และอุปกรณ์ผลิตสื่อ)
แถมด้วยประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้ารับอบรมด้วย นอกจากนี้ยังมีล่ามแปลตลอดงานครับ

หากสนใจก็สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 นะครับ (รับไม่เกิน 50 คน)
สอบถามได้ที่ 087-8287686 นะครับ หรือที่ https://www.facebook.com/MaletFan นะครับ