สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฉบับคุณครูบรรณารักษ์

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค. 56) ผมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ให้มาบรรยายในหัวข้อบรรณารักษ์ยุคใหม่ หัวใจนักพัฒนา เรื่อง “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่รอขึ้นเครื่องกลับ กทม มีเวลาว่างพอสมควร จึงขอสรุปข้อมูลจากการบรรยายมาให้อ่านครับ

21st century skill for librarian

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักจัดการความรู้อาวุโส สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park)

สไลด์ที่ใช้บรรยายFuture skill for 21st century skill librarian version

[slideshare id=24173944&doc=futureskillfor21stcenturyskilllibrarianversion-130712072653-phpapp02]

หัวข้อที่ผมบรรยายในวันนี้ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้
–  แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
–  หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้
–  รู้จักโลก – กระแสสังคม
– ไอซีทีเพื่อการศึกษา
– ความคิดสร้างสรรค์
– สื่อสังคมออนไลน์
– เครือข่ายสังคมออนไลน์

เนื้อหาโดยสรุป “สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”

1. แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่มาของทักษะแห่งอนาคต มาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21) (Partnership for 21st Century Skills) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่าง บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยกำหนดกรอบแนวความคิดออกมาดังนี้

– แกนวิชาหลัก และธีมหลักของศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุม
– ทักษะ 3 อย่างที่เด็กควรจะมี ได้แก่ ทักษะชีวิตและการทำงาน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21

นอกจากนี้แนวความคิดหลักอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ TEACH LESS, LEARN MORE คือ สอนน้อยๆ แต่ให้เด็กเรียนรู้มากๆ

นอกจากนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับเรื่อง PBL – Problem based Learning (กระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา)

การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่หา ความรู้เพื่อแก้ปัญหา โดยเน้นผู้เรียนเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการแสวงหาความรู้ และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมภายในกลุ่มผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ซึ่งการเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง (ที่มาจาก ส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

2. หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้

3Rs มาจาก

Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic คณิตศาสตร์

และ 4Cs มาจาก

Critical Thinking การคิดวิเคราะห์
Communication การสื่อสาร
Collaboration ความร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์

3. รู้จักโลก – กระแสสังคม — โลกไม่ได้กลมเหมือนที่เราคิดแล้ว มันแบนลงจริงๆ ตามอ่านหนังสือเรื่อง The world is flat ต่อนะ

10 เหตุการณ์ที่ทำให้โลกแบน (ข้อมูลจาก http://www.gotoknow.org/posts/308285 (อ.แอมมี่))

1. วันที่ 9 พ.ย. 1989 กำแพงเบอร์ลินถูกทำลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มโลกไร้พรมแดน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน โปรแกรม Windows 3.0 เริ่มวางตลาด
2. บริษัท Netscape เข้าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งทำให้เกิดสิ่งสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1)browser 2)www 3)dot com
3. การที่มีมาตรฐานและการเชื่อมโยงให้เกิดการสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรม
4. การเปิดให้ใช้โปรแกรม Linux ฟรีแก่คนทั่วไป ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์
5. รูปแบบใหม่ของการร่วมกันในกระบวนการทำงาน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท สามารถแยกออกไปทำนอกบริษัทในที่อื่นได้
6. การย้ายฐานการผลิต หรือแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทไปต่างประเทศ
7. การบริหารห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก บริษัท Wal-Mart ซื้อของจากประเทศจีนเป็นมูลค่าอันดับที่ 8
8. การที่บริษัทเข้าไปทำงานต่าง ๆ ในบริษัทอื่น เช่น UPS ซึ่งขณะนี้รับทำงาน logistics ให้กับหลายบริษัท
9. เราสามารถหาข้อมูลให้ตัวเองได้อย่างง่ายดายจาก Internet และ search engine เช่น Google
10. เราจะสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

นอกจากนี้ผมยังอธิบายถึง 10 เรื่องที่ต้องรีบทำความรู้จักเพื่อให้ทันต่อโลก คือ

1. The Long tail
2. The World is Flat
3. Critical Mass
4. Web 2.0
5. The Wealth of Networks
6. Free Economy
7. Crowdsourcing
8. Socialnomic
9. Wikinomic
10. Wisdom of Crowd

4.ไอซีทีเพื่อการศึกษา

การเรียนรู้มันเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน…ลองมองผ่านห้องสมุดจากอดีตถึงปัจจุบัน ความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยนไป
หนังสือ –> สื่อมัลติมีเดีย –> คอมพิวเตอร์ –> Notebook/Netbook –> Tablet

คุณครูบรรณารักษ์ ต้อง [รู้จัก – เข้าใจ – นำไปใช้] ไอทีบ้างไม่ต้องเก่งถึงขั้นโปรแกรมเมอร์ เรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับไอที มีดังนี้

– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
– ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
– ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
– ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
– ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
– ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
– ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

นอกจากนี้ผมได้แนะนำวิธีการเลือก app สำหรับ tablet และ smart phone ด้วย

5. ความคิดสร้างสรรค์ – เป็นของทุกคนไม่ใช่เพียงแค่นักออกแบบเท่านั้น

– ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา บางครั้งแค่เพียงเราคิดจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง นั้นก็คือการสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้ว
– แผนที่ความคิด (Mind Map) = เครื่องมือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

6. สื่อสังคมออนไลน์

– ทำความเข้าใจกับคำว่าเว็บ 2.0 ก่อน แล้วจะรู้ว่าเว็บในยุคนี้จะเน้นเรื่องการแชร์และการแบ่งปันข้อมูลเป็นหลัก
– เครื่องมือที่แนะนำให้ใช้มี 10 อย่าง ดังนี้

1) Blog
2) Wikipedia
3) Twitter
4) Facebook
5) Google+
6) LinkedIn
7) Youtube
8) Slideshare
9) Flickr
10) Pinterest

7. เครือข่ายสังคมออนไลน์

– ผมแนะนำแฟนเพจ “เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย” และข้อดีของการรวมกันเป็นกลุ่ม

เอาหล่ะครับนี้ก็เป็นเพียงบทสรุปที่ผมบรรยายให้เพื่อนๆ ฟัง งานวันนี้ขอบอกว่าแอบตกใจเล็กน้อยว่า คนมาเยอะมากเกือบ 300 คนเลย และเป็นครั้งแรกที่สำนักพิมพ์เชิญผมบรรยาย เอาไว้มีโอกาสคงได้บรรยายให้ที่อื่นฟังในเรื่องดังกล่าวต่อนะครับ สำหรับวันนี้ก็ขอบคุณครับ

งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด

ตามรอยนิทรรศการ เปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

บังเอิญนั่งดูภาพเก่าๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวแล้วเจอภาพชุดนึงที่น่าสนใจ เลยขอหยิบยกมาเขียนให้เพื่อนๆ อ่านแล้วกัน ภาพที่พบ คือ ภาพหลังจากที่พวกผมช่วยกันจัดนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่ กันเสร็จ (ภาพก่อนพิธีเปิดวันนึง ช่วงกลางคืน)

dscf0204

นิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน – 30 พฤศจิกายน 2554 ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

ปล. งานนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่ศูนย์ความรู้กินได้เปิดครบรอบ 1 ปี (20 กรกฎาคม 2553)

ภายในนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่มีอะไรบ้าง
– ภาพการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุด ก่อนที่จะปรับปรุง – ห้องสมุดในรูปโฉมใหม่
– แบบพิมพ์เขียนและโมเดลอาคารห้องสมุด
– ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย และข้อมูลจากการระดมความคิดเห็น
– ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดประชาชนจากต่างประเทศ
– แนวคิดห้องสมุด 2.0
– การเปิดตัวหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”
ฯลฯ

dscf0231

นอกจากข้อมูลที่เป็นแบบบอร์ดนิทรรศการแล้ว การจัดงานในครั้งนี้ยังมีนิทรรศการมีชีวิต (นิทรรศการที่เกิดจากเครือข่ายหรือการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย) เช่น การให้คะแนนในการเข้าชมนิทรรศการด้วยการหยอดแต้มสี (คะแนน) ลงในกล่อง แถมยังมีพื้นที่ในการนั่งชมสื่อมัลติมีเดียที่จัดทำขึ้นเพื่อนิทรรศการนี้โดยเฉพาะด้วยนะ

dscf0435

แม้ว่า “นิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” จะจบไปแล้ว
แต่ไอเดียในการจัดนิทรรศการแบบนี้ (ที่มีเนื้อหาประมาณนี้) ยังคงประทับใจผมอยู่

อยากเห็นห้องสมุดหรือหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องแหล่งเรียนรู้ได้จัดงานและให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลแบบนี้บ้าง
ลองคิดดูนะครับ ถ้ามีนิทรรศการหรือพื้นที่ในการเปิดไอเดียให้เหล่าห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ ผมว่าในวงการวิชาชีพเราคงคึกคักกว่านี้แน่ครับ

ชมภาพบรรยากาศในงานนิทรรศการเปิดกล่องทางความคิดเส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่ทั้งหมดได้ที่นี่

[nggallery id=65]

เพจแนะนำ โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก Library at Your Nose Tip

นานๆ ทีจะว่างเขียนบล็อก วันนี้ผมขอเขียนแนะนำหน้าแฟนเพจใน Facebook บ้างดีกว่า ซึ่งผมเองก็เป็นแฟนเพจของหลายๆ เพจบน Facebook เช่นกัน และรู้สึกว่าบางทีน่าจะนำมา review ให้เพื่อนๆ ได้รู้จักบ้าง

เริ่มวันแรกด้วย เพจนี้เลย : โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก (Library at Your Nose Tip)
http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

library_atyour_nose_tip

ก่อนอื่นไปดูเขาแนะนำตัวกันก่อนเลยครับ (ขออนุญาต copy มาให้อ่าน)

โครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก – Library at Your Nose Tip

โครงการที่มีชื่อมาจากละครเวทีที่ ป๋าเต็ด แห่ง FAT Radio เคยเล่นเมื่อหลายปีก่อน ชื่อ สุภาพบุรุษสุดปลายจมูก ซึ่งผมชอบเพลงประกอบของมันมาก (อัดเทปไว้ ตอนนี้เทปตลับนั้นยังอยู่) และ ชื่อนี้ผมต้องการจะสื่อว่า วิธีสร้างห้องสมุดง่ายๆ อยู่ใกล้แค่ปลายจมูก

โครงการนี้เป็นโครงการรับบริจาคหนังสือ (และเงิน) เพื่อไปส่งต่อให้ห้องสมุดที่ขาดแคลน เป็นการสนองความสนุกส่วนตัว และ ผู้ที่ต้องการร่วมสนุกไปด้วยกัน โครงการนี้แอบมีเป้าหมายจะไปให้ครบ 76 จังหวัด โดยจะทำทุก 3 เดือน การเลือกโรงเรียนหรือสถานที่ที่จะไปเป็นไปตามความพอใจเท่านั้น เพราะเชื่อว่าหนังสือถ้าอยู่ในมือผู้รู้ค่าก็มีประโยชน์เองแหละ การทำบุญร่วมกันอาจจะทำให้มาเจอกันอีกในชาติหน้า ควรใช้วิจารณญาณในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนก่อนตัดสินใจร่วมทำบุญ

แค่หน้าแนะนำตัวผมว่าก็เก๋ใช่ย่อยเลยครับ แถมมีเป้าหมายด้วยนะ

ในเพจนี้มีอะไรบ้าง (ขอสำรวจดูสักหน่อย)
– ข่าวสารกิจกรรมของเพจที่ออกไปช่วยห้องสมุดต่างๆ
– การแนะนำและวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– ช่องทางในการรับบริจาคหนังสือ
ฯลฯ

อัพเดทความเคลื่อนไหวของโครงการห้องสมุดสุดปลายจมูก
เท่าที่ตามอ่านในหน้าเพจ ตอนนี้เห็นว่าดำเนินกันไป 41 จังหวัดแล้วนะครับ

library_atyour_nose_tip1

นับว่าเป็นเพจที่มีกิจกรรมมากกว่าแค่ออนไลน์จริงๆ….

ตัวอย่างของการเป็นช่องทางในการรับบริจาคหนังสือและสื่อเพื่อห้องสมุด

library_atyour_nose_tip2

เอาเป็นเจอเพจดีๆ แบบนี้แล้ว ผมเองในฐานะของเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ ไปตามเป็นแฟนเพจด้วยนะครับ

http://www.facebook.com/LibraryAtYourNoseTip

คราวหน้าผมจะแนะนำเพจไหนอีก เพื่อนๆ ต้องรอติดตามแล้วกันนะครับ

บรรณารักษ์เล่าเรื่องกรุงเทพเมืองหนังสือโลก มหานครแห่งการอ่าน

ข่าว “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ออกมาค่อนข้างมากก็จริง แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คนไม่ทราบว่าปีนี้เป็นปีที่ “กรุงเทพฯ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหนังสือโลก” “มหานครแห่งการอ่าน” จึงเป็นวาระที่ผมต้องนำมาเขียนถึงในวันนี้

เพื่อนๆ หลายคนคงได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติกันมาแล้ว ผมเองก็ได้มีโอกาสไปเดินดูอะไรต่ออะไรในงานสัปดาห์หนังสือเช่นกัน บูทหนึ่งที่ผมตั้งใจไปดูก็คือ บูทของ “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” นั่นเอง

Bangkok world book capital1

ในบูท “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” มีอะไรบ้าง
แน่นอนครับว่าต้องมีการพูดถึงที่มาของการได้เป็น “เมืองหนังสือโลก” หรือ “World Book Capital 2013” นอกจากนี้ยังมีการยกโครงการสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านใน กทม มากมาย

Bangkok world book capital2 Bangkok world book capital3

ประเด็นที่ผมสนใจ คือ ทำไม “กรุงเทพฯ ถึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหนังสือโลก”
(ในบอร์ดนิทรรศการกล่าวว่า) “กรุงเทพมหานคร มีความมุ่งมั่นที่จะนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการหนังสือทุกส่วน รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมกันพัฒนาการอ่าน โดยได้นำเสนอแผนโครงการที่มีความหลากหลาย มุ่งเน้นชุมชน และแสดงออกถึงการมีพันธะสัญญาในระดับสูง ที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการอ่านและหนังสืออย่างจริงจัง”

Bangkok world book capital4

แนวคิด Bangkok Read for Life
– อ่านเพื่อรัก
– อ่านเพื่อรู้
– รักและรู้

ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน และเตรียมการสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืน 5 ยุทธศาสตร์
1. การสื่อสารสาธารณะเพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางสังคม
2. การกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนต่อเนื่อง
3. การสร้างความมีส่วนร่วมของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน
4. การพัฒนาและขยายพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน
5. การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย

จากยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ที่คิดออกมาทำให้เกิดโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเป็นเมืองหนังสือโลก โดยในบูทก็ยก 9 กิจกรรมที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกมา เอาเป็นว่าใน 9 โครงการนั้นมีอะไรบ้าง ผมขอนำไปเล่าวันพรุ่งนี้แล้วกันครับ

Bangkok world book capital5

ในบูทนี้ก็มีของแจกมากมาย อาทิเช่น ที่คั่นหนังสือ สมุดโน้ต “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก”

และที่สำคัญกิจกรรมก็น่าสนใจด้วย เช่น
การแจก Passport ซึ่งภายใน Passport ก็มีคำถามเกี่ยวกับ “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” และถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านของเรา Passport นี้สามารถนำไปใช้สำหรับกิจกรรม การเฉลิมฉลอง “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ในวันที่ 21-23 เมษายน 2556 ณ ลาน Skywalk หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สำหรับวันนี้ผมขอตัวก่อนแล้วกันครับ
และต้องขอขอบคุณงานสัปดาห์หนังสือที่ทำให้ผมเจอข้อมูลดีๆ แบบนี้

บรรณารักษ์พาชมห้องสมุด โสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี ณ หอภาพยนตร์

นานๆ ทีจะพาเที่ยวห้องสมุดสักที วันนี้ขอเลือกห้องสมุดแถวๆ บ้านแล้วกัน (พุทธมณฑลสาย 5) ห้องสมุดนี้เป็นของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) นั่นเองครับ ความพิเศษของที่นี่เป็นอย่างไรตามอ่านได้เลยครับ

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ความเป็นมาของห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
ที่เลือกใช้ชื่อ “เชิด ทรงศรี” เพราะต้องการระลึกถึง เชิด ทรงศรี ในฐานะของผู้ที่เป็นที่รักของวงการหนังสือ ละคร ศิลปะ ทีวี และภาพยนตร์ครับ แถมหนังสือในห้องสมุดนี้ส่วนหนึ่งเป็นของคุณเชิด ทรงศรีด้วย ลูกสาวคุณเชิด ทรงศรี หรือคุณแสงแดดได้บริจาคให้หอภาพยนตร์

IMG_2835

ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวงการภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศมากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้

IMG_2842 IMG_2838

ห้องสมุดแห่งนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ครับ
การเปิดให้บริการห้องสมุดแห่งนี้ คือ เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่ 9.00 – 17.00 น. นะครับ

เว็บไซต์ที่ใช้ในการสืบค้นหนังสือของห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
สามารถดูได้ที่ http://164.115.22.43/library/mylib/login.php

Library_opac

สำหรับคนที่อยากเดินทางไปชมห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี
สามารถนั่งรถเมล์ที่อนุสาวรีย์ฯ ได้ครับ สาย 515 หรือ 547 ก็ได้

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวไปอ่านหนังสือและเที่ยวชมห้องสมุดที่อื่นๆ ก่อนนะครับ
ไว้คราวหน้าผมจะพาไปเที่ยวที่ไหนจะกลับมาเล่าให้อ่านอีกทีครับ

ชมภาพห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรีทั้งหมดได้ที่

[nggallery id=64]

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด รับบรรณารักษ์ ด่วน

นายห้องสมุดช่วยหางานวันนี้ขอนำเสนองานในห้องสมุดมหาวิทยาลัยอีกแล้วครับท่าน วันนี้ถึงคิวมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติครับ นั่นคือ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นั่นเอง

siu_librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

งานวันนี้คงต้องการบรรณารักษ์ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษระดับดีถึงดีมาก เพราะเป็นมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาตินะครับ
คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้ คือ
– จบปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารดีมาก

คุณสมบัติแบบสั้นๆ ง่ายๆ แบบนี้แหละครับ หน้าที่ของตำแหน่งนี้คือ
– งานจัดหา
– งานวิเคราะห์
– ส่งเสริมการอ่าน
– สร้างและดูแลฐานข้อมูล

แบบว่าหน้าที่ผมว่าเพื่อนๆ น่าจะไหวนะครับ แต่สิ่งที่ต้องการมากๆ คือ ด้านการใช้ภาษาอังกฤษ เท่านั้นแหละครับที่คงต้องเพิ่มเติมความรู้กัน

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ติดต่อได้ที่ hrd@stamford.edu ครับ
ส่งจดหมาย CV ประวัติย่อ และภาพถ่ายปัจจุบัน ไปที่เมล์ได้เลย
หรือจะโทรไปสอบถามที่ 027694000 ต่อ 1133 ครับ

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

นายห้องสมุดชวนอ่าน : คู่มือกิจกรรมพี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง

วันนี้นายห้องสมุดมานั่งอยู่ในงานประชุมวิชาการประจำปีของ TK park หรือที่เรียกว่า Thailand Conference on Reading 2013 บังเอิญว่าบูธข้างๆ เป็นบูธของ กทม. เมืองหนังสือโลก แอบเห็นคู่มือเขาน่าสนใจ เลยขอแนะนำเป็นพิเศษ หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”

world book capital 20131

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง”
จัดพิมพ์โดย : สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
ปีพิมพ์ : 2555
จำนวนหน้า : 160 หน้า

หนังสือคู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อโปรโมทกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” ซึ่งเปิดตัวเมือง 2 ตัวที่แล้วเอง

“พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุนการเป็นเมืองหนังสือโลกของกรุงเทพมหานคร โดยการรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นพี่อาสาสมัคร จำนวน 2000 คน ทั่วพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อเข้าร่วมการอบรมความรู้ ทักษะ ด้านเทคนิคการอ่าน การสร้างกระบวนการกลุ่ม แล้วนำไปถ่ายทอดสู่รุ่นน้องอาสาสมัครจำนวน 10,000 คน ดดยการชักชวนน้องๆ ให้สนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างภาวะผู้นำกับพี่อาสาสมัครในการนำน้องๆ เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่กรุงเทพมหานครจะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ในหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้
– กระบวนการสร้างเครือข่ายส่งเาริมการอ่าน
– หนังสือให้อะไรแก่ชีวิต
– การอ่านร้อยกรอง
– บทกวีว่าด้วยหนังสือ
– เรื่องสั้นชุด “โลกนี้น่ารัก”
– นิทานสัตว์นิสัยดี
– นิทานจากครู

เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้ก็น่าสนใจมาก แต่เสียดายที่ผมไม่สามารถนำตัวเล่มกลับมาได้ แต่ทางทีมงานสัญญาว่าจะส่งไฟล์ pdf มาให้ผมอีกทีทางเมล์ เอาเป็นว่าถ้าได้ไฟล์ pdf มาแล้วผมจะนำขึ้นมาให้ดาวน์โหลดอีกทีนึงแล้วกันครับ

ปล. นอกจาก คู่มือกิจกรรม “พี่ชวนน้องอ่านกันสนั่นเมือง” แล้วยังมี สมุดบันทึกข้อมูลการอ่าน ด้วย

world book capital 20133

ห้องสมุดวัดพระธรรมกาย รับสมัครบรรณารักษ์ 1 อัตรา ด่วน

วันนี้นายห้องสมุดขอนำเสนองานห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจริงๆ เคยคิดเหมือนกันว่าในวัดหลายๆ แห่งก็มีห้องสมุดมีที่ไหนอยากรับสมัครบรรณารักษ์บ้างมั้ย วันนี้มีคนฝากข่าวมาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับสมัครบรรณารักษ์ในห้องสมุดวัด แถมวัดนี้มีความน่าสนใจอีกด้วย นั่นคือ ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย

DMC_Librarian_job

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ (สามารถเริ่มงานได้ทันที)
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
สังกัด / หน่วยงาน : วัดพระธรรมกาย
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี

อย่างที่เขียนไว้ด้านบนว่าบรรณารักษ์ที่สามารถเริ่มงานได้ทันทีจะดีมากๆ ดังนั้นแบบว่างานด่วนมากๆ
น้องๆ ที่สนใจอ่านคุณสมบัติเบื้องต้นต่อได้เลย
– เพศหญิง
– อายุ 20 – 27 ปี
– นับถือพระพุทธศาสนา
– สามารถรักษาศีล 5 ได้
– วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลคอมพิวเตอร์
– สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานการทำงานได้ เช่น MS Office
– กำหนดเลขหมู่และแยกประเภทหัวเรื่องได้ตามระบบ Library of Congress (หนังสือภาษาอังกฤษ)

เอาเป็นว่าหากสนใจติดต่อสมัครได้ที่
น.ส.ศุภรัฎฐา วิวัฒนสราญรมย์ โทร. 08-5900-5246, e-mail: suparatha072@hotmail.com

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

ห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับบรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง (ปิดรับสมัครแล้ว))

วันนี้นายห้องสมุดขอแนะนำงานบรรณารักษ์ในหน่วยงานหนึ่ง จริงๆ แล้วหน่วยงานนี้ผมว่าก็น่าสนใจดีเหมือนกันนะครับ แถมเท่าที่อ่านบรรณารักษ์มือใหม่ หรือคนที่เพิ่งจบมาก็น่าจะสมัครได้ หน่วยงานนี้ คือ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

librarian_job_nhrc

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
จำนวน : 1 ตำแหน่ง
ลักษณะงาน : พนักงานจ้างเหมาเอกชน
สังกัด / หน่วยงาน : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สถานที่ปฏิบัติงาน : ห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

พนักงานจ้างเหมาเอกชน คงคล้ายๆ กับพนักงานจ้างเหมารายปี มั้งครับ ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมคงต้องโทรถามเขาดูนะครับ

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้ คือ
– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– มีทักษะในการวิเคราะห์หมวดหมู่แบบ LC
– มีทักษะเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ
– มีความรู้ ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ดี

หน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในงานนี้ เช่น
– งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์หมวหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
– งานซ่อมบำรุงหนังสือและสื่อ
– ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ
– จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
– สนับสนุนงานวิชาการ

เอาเป็นว่าภาระงานผมว่าไม่น่ายากมาก เด็กจบใหม่น่าจะมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มากมาย เอาเป็นว่าลองสมัครกันดูก็ได้นะครับ

ถ้าสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://library.nhrc.or.th/jobs.php

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ