VuFind – Open Source for OPAC 2.0

คุณรู้สึกเบื่อกับหน้าจอแสดงผล OPAC แบบเก่าๆ กันมั้ยครับ
วันนี้ผมมีทางเลือกในการสร้างหน้าจอแสดงผล OPAC แบบใหม่ๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกัน
ที่สำคัญของโปรแกรมนี้ คือ เป็นโปรแกรม Open Source ด้วยนะครับ

vufind

โปรแกรมที่ผมจะแนะนำนั่นก็คือ VuFind

แนะนำข้อมูลเบื้องต้น

VuFind คือ โปรแกรม Open Source ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข และลิขสิทธิ์ของ GPL
โดยโปรแกรมนี้ทำหน้าที่เป็น โปรแกรม Browers เพื่อใช้สำหรับแสดงผลการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะ
โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นด้วยแนวความคิดของห้องสมุดยุคใหม่ที่ต้องการสร้างความน่าสนใจในสารสนเทศ

search

โปรแกรมนี้ทำอะไรได้บ้าง

1. Search with Faceted Results
มีระบบสืบค้นที่ยืดหยุ่น เช่น สามารถสืบค้นแบบจำกัดขอบเขตได้

2. Live Record Status and Location with Ajax Querying

แสดงผลทันที ด้วยเทคโนโลยี AJAX ทำให้การสืบค้นมีลูกเล่นน่าสืบค้น

3. ?More Like This? Resource Suggestions

สามารถแนะนำ และวิจารณ์หนังสือเล่นนั้นนั้นได้ด้วย

search-vufind

4. Save Resources to Organized Lists
สามารถบันทึกรายการที่ต้องการลงในรายการส่วนตัวได้ (คล้ายๆ save favorites)

5. Browse for Resources
สามารถสืบค้นตามหมวดของรายการสารสนเทศได้

6. Author Biographies
สามารถแสดงผลข้อมูลชีวประวัติของผู้แต่ง หรือ ผู้เขียนได้

7. Persistent URLs

บันทึก URL เพื่อใช้ในคราวต่อไป หรือส่งให้คนอื่นได้

8. Zotero Compatible

รองรับกับโปรแกรม Zotero เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลที่สืบค้นไปจัดทำรายการบรรณานุกรม

9. Internationalization
รองรับการแสดงผลหลายภาษา

10. Access Your Data: Open Search, OAI, Solr
สามารถใช้งานร่วมกับ Open Search, OAI, Solr ได้

เป็นยังไงบ้างครับกับฟีเจอร์ดังกล่าว
VuFind สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างระบบกับผู้ใช้บริการมากขึ้น
หรือสามารถให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมต่อการจัดการรายการสารสนเทศได้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสนใจ หรือจะเป็นการกำหนด tag เองได้

และนี่แหละครับ คำจำกัดความที่เรียกว่า OPAC 2.0

ระบบกับผู้ใช้สามารถตอบสนองความต้องการได้ซึ่งกันและกัน
เมื่อผู้ใช้สืบค้น ระบบก็แสดงผล ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้หลายรูปแบบ
รวมถึงเขียนวิจารณ์รายการหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ด้วย

หากเพื่อนๆ อยากลองเล่น VuFind ลองเข้าไปดูที่
http://www.vufind.org/demo/

หรือถ้าอยากดาวน์โหลดไปใช้ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://www.vufind.org/downloads.php

และข้อมูลอื่นๆ และรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ http://www.vufind.org

มาหาคำศัพท์ด้านห้องสมุดกันเถอะ

วันนี้ผมขอแนะนำเรื่องแบบสบายๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุดแล้วกัน
เรื่องสบายๆ ที่ว่า ผมขอแนะนำเกมส์ puzzle ดีกว่า

library-puzzle

เกมส์ puzzle คือ เกมส์หาคำศัพท์จากตารางตัวอักษร
ซึ่งในตารางตัวอักษรนี้จะมีคำศัพท์ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแนวตั้ง แนวนอน แนวทะแยง

แต่ถ้าจะให้เพื่อนๆ เล่นเกมส์ puzzle แบบปกติคงจะไม่สนุกเท่าไหร่
ผมเลยขอแนะนำ Library puzzle หรือ เกมส์หาคำศัพท์บรรณารักษ์

ต้นฉบับไฟล์ภาพตารางเกมส์ Library puzzle
จากเว็บไซต์ http://farm4.static.flickr.com/3536/3217077856_5f8c5008f0.jpg
โดย Library Word Find Puzzle, originally uploaded by herzogbr.

แต่เพื่อความสะดวกกับเพื่อนๆ ผมจึงแปลงข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปไฟล์ Excel เรีบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถโหลดได้ที่นี่ —ไฟล์ตาราง Librarypuzzle

ในไฟล์ Librarypuzzle จะมีทั้งแบบตารางและเฉลยให้เพื่อนๆ เรียบร้อยแล้ว
แต่ขอแนะนำว่าเพื่อความสนุกเพื่อนๆ ควรเล่นด้วยตัวเองนะครับ

เมื่อได้ไฟล์ตารางแล้ว ผมขอตั้งกติกาสักนิดนะครับ
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ หาคำศัพท์ที่อยู่ด้านล่างนี้ในตาราง ภายในเวลา 5 นาที

คำศัพท์ที่เพื่อนๆ ต้องหามีดังนี้

– ALA
– ARCHIVE
– BOOKGROUP
– BOOKS
– BUDGET
– CATALOG
– CIRCULATION
– COMMUNITY
– COOKERY
– DATABASES
– DEWEY
– DVD
– FICTION
– FLICKR
– GENEALOGY
– ILL
– INFORMATION
– LIBRARY
– LIBRARYCARD
– LOC
– LOCALAUTHOR
– NETWORK
– PATRONS
– PROGRAMS
– READING
– REFERENCE
– REQUEST
– SELFCHECK
– SERVICE
– STORYTIME
– UNSHELVED
– WEBSITE
– WEEDING
– WORDPRESS

คำแนะนำในการเล่นให้สนุกยิ่งขึ้น
– ควรเล่นกันหลายๆ คน หรือ หาเพื่อนในที่ทำงานมาเล่นแข่งกัน (เพื่อหาผู้ชนะ)
– ควรจับเวลาในการเล่น (เพื่อความตื่นเต้นในการค้นหา)
– นอกจากหาคำแล้วยังต้องแปลให้อีกฝ่ายรู้ถึงความหมายด้วย (จะได้ฝึกภาษา)

เอาเป็นว่านอกจากเล่นแก้เซ็งได้แล้ว ยังถือว่าได้ฝึกภาษาไปด้วยนะครับ
ยังไงก็ลองเล่นกันดูนะครับ

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

ทัวร์ห้องสมุด รพ.สรรพสิทธิประสงค์

ครั้งที่แล้วผมพาไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
วันนี้เราก็ยังคงอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่นะครับ
แต่ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้ คือ ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

dscf0090

ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ : ห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
ที่อยู่ : ถนนสรรพสิทธิฺ์์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
โทรศัพท์ : 045-244973

ประเด็นภาพรวมของการไปเยี่ยมชม
– ห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาล
– เป็นแหล่งความรู้ให้นักศึกษาแพทย์ (ชั้น 2) และแหล่งเรียนรู้ทั่วไป
– สถานที่มีความพร้อมในการทำห้องสมุด มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ
– จำนวนทรัพยากรสารสนเทศเพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
– ทรัพยากรสารสนเทศมีความใหม่ และอัพเดทอยู่เสมอ
– จำนวนที่นั่งในห้องสมุดมีเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
– รายได้หลักของห้องสมุดมาจากค่าปรับหนังสือ และเงินบริจาคจากผู้ใหญ่ใจดี
– ไม่อนุญาตให้ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย เนื่องจากสัญญาณจะรบกวนในโรงพยาบาล
– อนุญาตให้ยืมหนังสือได้แค่บุคลากรภายในโรงพยาบาล
– มีบริการเครื่องถ่ายเอกสารด้านนอกห้องสมุด
– จัดหมวดหมู่ด้วยแถบสี เพื่อให้ผู้ใช้บริการค้นหาได้ง่าย
– ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ทำขึ้นเอง
– แบ่งมุมหนังสือเพื่อการแพทย์ กับหนังสือทั่วไปอย่างชัดเจน (อยู่คนละชั้น)
– ผู้ก่อตั้งห้องสมุดมีการเก็บแผ่นเสียงจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวบรวมแผ่นเสียงมากมาย

เป็นยังไงกันบ้างครับ ไม่น่าเชื่อเลยใช่มั้ยครับว่า
ห้องสมุดโรงพยาบาลจะสามารถสร้างได้ถึงขนาดนี้
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้หล่ะครับ ว่าห้องสมุดจะพัฒนาไปทางไหน
ก็ขึ้นอยู่กับ “วิสัยทัศน์ของผู้บริหารห้องสมุด” นั่นแหละครับ

ภาพบรรยากาศทั่วไปในห้องสมุดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

[nggallery id=4]

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

librarianrole

Read more

ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน

dscf0024

Read more

คุณเคยไปห้องสมุดไหนบ้าง

นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดโรงเรียนแล้ว
ผมอยากรู้ว่าเพื่อนๆ ยังเคยใช้บริการห้องสมุดที่ไหนอีกบ้าง

librarygo

ห้องสมุดตัวเลือกที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ เลือก ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะรู้จักเกือบหมด
ดังนั้นเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่านอกจากรู้จักแล้ว เพื่อนๆ เคยไปห้องสมุดเหล่านี้บ้างหรือปล่าว

อ๋อ ลืมบอกไปอีกนิดว่า ตัวเลือกวันนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้หลายๆ ตัวเลือกพร้อมกัน
และที่เคยไปผมขอว่าเป็นการไปแบบใช้บริการนะครับ ไม่ใช่ไปแค่ดูงาน

เอาเป็นว่าไปตอบแบบสอบถามกันเลยนะครับ

[poll id=”5″]

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมกันตอบแบบสอบถามนี้นะครับ

รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ

ผมมีตำแหน่งงานบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ พิจารณาอีกแล้วครับท่าน
ซึ่งวันนี้เป็นงานบรรณารักษ์ ที่หอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่นเองครับ

tulib

รายละเอียดของการรับสมัครงาน มีดังนี้
– รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย? จำนวน 3 อัตรา
ตำแหน่งบรรณารักษ์ ระดับปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 9,570 บาท (ไม่มีเงินเพิ่มประสบการณ์)

สถานที่ปฏิบัติงาน : ผู้ที่ผ่านจะต้องไปทำงานที่ มธ ศูนย์รังสิต นะครับ

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์ สารนิเทศศาตร์
– มีความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อปฏิบัติงาน
– มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสม

ระยะเวลาในการรับสมัคร ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤษภาคม ถึง 24 มิถุนายน 2552

หลักสูตรการสอบคัดเลือก

1. ความรู้ทั่วไป (100 คะแนน)

2. ความรู้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน)

2.1 ภาษาอังกฤษ
2.2 บรรณารักษ์
– งานเทคนิค
– งานบริการ
– การส่งเสริมการรักการอ่าน

3. ภาคพิจารณาความเหมาะสม

3.1 พิจารณาจากใบสมัคร
3.2 สัมภาษณ์

หากเพื่อนๆ ต้องการสมัครงานบรรณารักษ์ในตำแหน่งดังกล่าวนี้
กรุณาติดต่อขอรับใบสมัครและสมัครได้ที่ หอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ในวันและเวลาราชการ หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 0-2613-3507

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ -เอกสารการรับสมัคร-

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ลองสมัครกันดูก็แล้วกันนะครับ

ช่วงนี้งานบรรณารักษ์มีมากจัง เอาเป็นว่าผมจะถยอยๆ นำมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านก็แล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ ที่ยังไม่มีงานก็ลองติดตามอ่านได้ที่นี่แล้วกันนะครับ

ผมก็เป็นกำลังใจ และยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคน

บรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าบุคคลสำคัญระดับโลกหลายๆ คนเคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน
บุคคลสำคัญระดับโลกที่เคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน เช่น Benjamin Franklin, Mao Zedong(เหมา เจ๋อตุง)

librariantop

Read more

เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน

เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนกลายเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ผมจึงเริ่มวางหลักสูตรบรรณารักษ์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาเพื่อนๆ

libraryhub-talk

Read more