รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์

ใครสนใจงานบรรณารักษ์หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ มาอ่านได้เลย
เพราะวันนี้เขารับสมัครพนักงานบรรณารักษ์ ทั้งแบบประจำ และแบบชั่วคราว

swu-lib

รายละเอียดของการรับสมัครงาน มีดังนี้
รับสมัครพนักงานมหาวิทยาลัย? จำนวน 2 อัตรา โดยแบ่งเป็น
1. ตำแหน่ง บรรณารักษ์(พนักงานประจำ) อัตราเงินเดือน ??? 10,788 บาท? จำนวน 1? อัตรา
2. ตำแหน่ง บรรณารักษ์(พนักงานชั่วคราว) อัตราเงินเดือน ??? 10,788 บาท? จำนวน 1? อัตรา

คุณสมบัติของผู้สมัคร
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
– สามารถทำงานล่วงเวลาและวันเสาร์-อาทิตย์ได้
– ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการศึกษา

ระยะเวลาในการรับสมัคร ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 12 มิถุนายน 2552

เพื่อนๆ อยากรู้หรือปล่าวว่าภาระหน้าที่ของงานบรรณารักษ์แต่ละตำแหน่งเป็นอย่างไร
ผมจะนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านดูนะครับ เพื่อที่จะพิจารณาได้ง่ายขึ้น

บรรณารักษ์(พนักงานประจำ) ภาระงานหลักมีดังนี้

1. บริการยืมทรัพยากรห้องสมุด
2. บริการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาในการใช้ห้องสมุด
3. บริการให้ยืมระหว่างหน่วยงานห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัย
4. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
5. บริการยืมหนังสือจอง
6. จัดทำระเบียนข้อมูลสมาชิกห้องสมุดและปรับปรุงทะเบียนสมาชิกเก่า
7. งานปฐมนิเทศสมาชิกใหม่เมื่อแรกเข้า
8. บริการผู้ใช้บริการประเภทบุคคลภายนอก
9. ดำเนินการจัดทำหนังสือหาย (lost) และหนังสือชำรุด (Damage)
10. งานบริการหนังสือ
11. บริการ Mobile Circulation
12. จัดเก็บสถิติงานบริการ
13. งานติดตามภาระหนี้สิน
14. งานส่งเสริมการใช้บริการ
15. ดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ประจำชั้น
16. เพิ่มจำนวนเล่ม (Serial Check In) วารสารภาษาภาษาไทย วารสารภาษาอังกฤษตามชื่อเรื่อง
17. สร้างและแก้ไขดรรชนีบทความภาษาไทย

บรรณารักษ์(พนักงานชั่วคราว) ภาระงานหลักมีดังนี้

1. บริการยืมทรัพยากรห้องสมุด (ปริญญานิพนธ์, หนังสือสำรอง, หนังสือ set corner, หนังสือมุมคุณธรรม และโสตทัศนวัสดุ)
2. บริการคืนทรัพยากรห้องสมุด
3. บริการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ใช้บริการที่ประสบปัญหาในการใช้ห้องสมุด
4. บริการยืมระหว่างหน่วยงานห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัย (Inter-Campus Loan)
5. บริการยืมระหว่างห้องสมุด
6. บริการยืมหนังสือจอง
7. บริการหนังสือสำรอง
8. จัดทำระเบียนข้อมูลสมาชิกห้องสมุดและปรับปรุงทะเบียนสมาชิกเก่า
9. งานปฐมนิเทศสมาชิกใหม่เมื่อแรกเข้า
10. บริการผู้ใช้บริการประเภทบุคคลภายนอก
11. ดำเนินการจัดทำหนังสือหาย (lost) และหนังสือชำรุด (Damage)
12. งานบริการหนังสือ
13. รายงานหนังสือ ส่งคืนประจำวัน (CKI Daily Report)
14. บริการ Mobile Circulation
15. สถิติงานบริการ
16. งานติดตามภาระหนี้สิน
17. งานส่งเสริมการใช้บริการ
18. ดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ประจำชั้น
19. การบริการหนังสือพิมพ์
20. สร้างและแก้ไขดรรชนีบทความภาษาไทย
21. ตรวจสอบความถูกต้องทางบรรณานุกรมของดรรชนีวารสาร (cataloging Complete)

สิทธิพิเศษที่จะได้รับ
– บิดา/มารดาสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้(พนักงานประจำ)
– มีเงินค่าล่วงเวลา
– มีที่พักให้ภายในมหาวิทยาลัย

หากเพื่อนๆ ต้องการสมัครงานบรรณารักษ์ในตำแหน่งดังกล่าวนี้
กรุณาติดต่อขอทราบรายละเอียด และยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
ทุกวันจันทร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น.
หรือส่งทางไปรษณีย์ ณ ชั้น 1 อาคารหอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ 107 ถ.รังสิต-นครนายก อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
โทรศัพท์ 0-2649-5421-2, 037-322615
Email address : oklib@swu.ac.th

หากต้องการรายละเอียดมากกว่านี้กรุณาดูที่ http://oklib.swu.ac.th/
ดาวน์โหลดใบสมัครพนักงานประจำ ได้ที่นี่ -เอกสารใบสมัครงาน-
ดาวน์โหลดใบสมัครพนักงานชั่วคราว ได้ที่นี่ -เอกสารใบสมัครงาน-

อยากให้ทุกคนรู้สึกดี

ช่วงนี้ปัญหาได้ผ่านเข้ามาในชีวิตผมมากมาย
บางอย่างก็เกิดจากความคิดพลาดของผมเอง
บางอย่างก็เป็นเรื่องที่ไม่คิดว่าจะเกิด แต่มันก็เกิด

เฮ้อๆๆๆๆๆๆ (ถอนหายใจยาวๆ สักที)

relax-feel-good

วันนี้เลยขอเอาเพลงๆ นึงมาโพสให้บรรยากาศในบล็อกได้ผ่อนคลายแล้วกัน
โดยเพลงที่ผมจะนำมาเล่านั้นเป็น เพลงประกอบโฆษณา ของ DTAC ครับ
ชื่อเพลงว่า Feel good (รู้สึกดี) ? เหมาะจริงๆ เลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=PZoZYQOck4Y[/youtube]

ลองไปฟังเพลงนี้กันเลยที่ http://www.ijigg.com/songs/V2BBGAE4P

เนื้อเพลง Feel good

ทุกครั้งก็?ยัง?สงสัย? เมื่อทำ?อะ?ไรที่ดู?ไม่?มี?ความ?หมาย? ?โอ้ว
อยาก?จะ?ยืน? ?อยาก?จะ?นอน? ?อยาก?จะ?หลงทางบ้าง
อยาก?จะ?เชย?? ?อยาก?จะ?ลองรองเท้าคนละข้าง
อยาก?จะ?ขีด?จะ?เขียน?จะ?ผิด?จะ?เพี้ยนก็?เป็น?บางครั้ง?? ?ไม่??รู้ทำ?ไม

* ?ไม่?มี?เหตุผล? ?ไม่?มี?ความ?หมาย? ?แค่อยากทำ?อะ?ไรตามใจ? ก็?เท่า?นี้
ไม่?มี?เหตุผล? ?สบายใจ? ?ลัล? ?ลัล? ?ลา? ?ลา??.
ฮู้? ?ฮู? อยาก?จะ?ทำ?ก็ทำ?อย่า?ไปคิด?ให้?มากมาย? ?แค่นี้? ?ฉันสบายใจ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับความหมายดีๆ ของเพลงนี้
ยิ่งได้อ่านก็รู้สึกว่า มันเข้ากับชีวิตของผมยังไงก็ไม่รู้

คงเป็นเพราะว่าอยากทำอะไรนอกกระแส และอยากเป็นตัวของตัวเอง
จึงทำให้ผมเป็น Libraryhub ที่สมบูรณ์ในวันนี้

ยังไงก็ฝากให้เนื้อเพลงให้ร้อง เพลงออนไลน์ให้ฟัง และ วีดีโอให้ชมเพลงนี้กันไปเลย

วีดีโอโฆษณาจาก http://www.youtube.com/watch?v=PZoZYQOck4Y
เพลงออนไลน์จาก http://www.ijigg.com/songs/V2BBGAE4P0
เนื้อเพลงจาก http://www.musicatm.com/view.php?No=9866

เที่ยวท่องห้องสมุดไทย

หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน

cover1

แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ

ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ

ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ

ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น

หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ

ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ

?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015

สรุปงานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ Walai AutoLIB

วันนี้ผมจะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาที่ผมเข้าร่วมวันนี้ นั่นคือ
“งานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB”
ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมเอเซีย

walaiautolib

โดยงานสัมมนาเรื่องนี้ผมคงเข้าร่วมได้แค่วันเดียวนะครับ
แถมยังเข้าร่วมได้ไม่เต็มวันอีก แต่เอาเถอะครับ ผมจะสรุปประเด็นเท่าที่ผมได้ฟังก็แล้วกัน

ประเด็นที่ผมได้ฟัง
– ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
– แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
– สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib

แค่สามประเด็นนี้ผมก็รู้สึกว่าได้รู้อะไรมากมายแล้วครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านเป็นหัวๆ แล้วกัน

—————————————————

ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
Introduction to Library automation in academic library
บรรยายโดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ซึ่งเป็น ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

– บทบาทของ UNINET ที่มีต่อวงการห้องสมุด คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุด

– ห้องสมุดอัตโนมัติ เริ่มมีบทบาทมากในปี 2530-2531

– สกอ. เกิดความคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย
เนื่องจากการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายที่สูง นอกจากนี้ค่าดูแลรักษาก็แพงเช่นกัน

– สกอ. จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โดยสกอ. ให้ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการในการพัฒนา และออกทุนสนับสนุนการพัฒนา มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ต้นแบบจาก VTLS
(2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ต้นแบบจาก Dynix และ Innopac
(3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้ต้นแบบจาก Innopac

Walai AutoLIB พัฒนามาแล้ว 2-3 ปี ปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว 43 แห่ง
นับว่าเป็นระบบที่ใช้เวลาไม่นาน แต่คุณภาพไม่แพ้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนอื่น

– ประโยคที่ได้ใจวันนี้ “งานห้องสมุดเป็นงานที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

—————————————————

แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Walai Autolib development concept
บรรยายโดย รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์

– เดิมห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS
แต่ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาแพง
รวมถึงยังตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานไม่ครบถ้วน

– เริ่มการพัฒนา Walai autolib ในปี 2548

– ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ระยะเริ่มต้น
(1) ความซับซ้อนของระบบงานห้องสมุด
(2) ปัญหาด้านผู้ใช้ และการจัดการความเปลี่ยนแปลง
(3) ความน่าเชื่อถือของระบบที่พัฒนาโดยคนไทย
(4) Site reference

– มีคนกล่าวว่า “ถ้าใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ ก็จะสามารถพัฒนาระบบอื่นๆ ได้ง่าย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบห้องสมุดเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากๆ

– เรื่องของการจัดการความเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเราใช้อะไรจนชินแล้วจะให้เปลี่ยนคงต้องใช้เวลา

– คนไทยมีความสามารถในการพัฒนาระบบต่างๆ นะ น่าเชื่อถือด้วย แต่ขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่า

-ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(2) UNINET
(3) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(4) คณะทำงานโครงการ Walai Autolib

– เป้าหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ยึดหลักดังนี้
(1) สร้างระบบบริหารจัดการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
(2) สร้างมาตรฐานของงานห้องสมุด Marc21, Z39.5, ISO2709
(3) ประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ

– ระยะของการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
(ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับแนวคิดห้องสมุด 2.0)

Library2.0 คือ แนวความคิดในการจัดการห้องสมุดยุคใหม่
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

– แผนงานในอนาคตของ Walai autolib เพื่อให้เป็น Library2.0
(1) Content Management System
(2) Dynamic Search System
(3) User Space
(4) Library Web Portal
(5) Helpdesk Online

– ก่อนจบ session นี้ ผมชอบประโยคนึงของการบรรยายครั้งนี้ นั่นคือ
“Libraries Changing the world” ห้องสมุดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

—————————————————

สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Demo Walai Autolib
บรรยายโดย อาจารย์ยุทธนา เจริญรื่น

เริ่มจากการสาธิตการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib เบื้องต้น ทั้ง 6 โมดูล ดังนี้
1) ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
2) ระบบการทำรายการ (Cataloging module)
3) ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
4) ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
5) ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
6) ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)

—————————————————

ประเด็นที่ผมสรุปมาอาจจะขาดไปในบางช่วงบางตอน
แต่เอาเป็นว่าถ้ามีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในบล็อกนี้อีกก็แล้วกัน

สำหรับคนที่พลาดงานนี้
ผมเชื่อว่าการแนะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อาจจะมีจัดอีก
ยังไงถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการจัดงานแบบนี้อีก ผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ รู้ทันที

รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร

รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)

library

เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง

L-I-B-R-A-R-Y =?

L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน

จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า

Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้

Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ

You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง

ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด

เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ

เรียนอย่างไรให้…(เก่ง…ดี) มีความสุข

วันนี้ผมมีข่าวกิจกรรมมาประชาสัมพันธ์ครับ
เป็นงานเสวนาวันเสาร์ หัวข้อเรื่อง “เรียนอย่างไรให้…(เก่ง…ดี) มีความสุข”

seminar-news

งานนี้จัดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 14.00-16.30 น.
จัดโดย สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

ประเด็นที่น่าสนใจของการเสวนาในครั้งนี้ คือ
– เทคนิคการเรียน / การเตรียมตัวก่อนสอบ
– เคล็ด (ไม่) ลับการบริหารเวลาระหว่างเรียน ? กิจกรรม

ผู้ที่จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ คือ
– นักเรียนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม AFS จากประเทศเยอรมนี
– นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1

เอาเป็นว่างานนี้ผมถือว่าน่าสนใจมากนะครับ
ผมว่าเหมาะสำหรับนักเรียนในช่วง ม.ปลายมากๆ ครับ
เพราะว่าอย่างน้อยเรื่องการเรียนแบบไม่เครียดผมเห็นว่ามันสำคัญมากๆ

นักเรียนหลายๆ คนอาจจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการบริหารเวลาของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน การทำกิจกรรม การใช้ชีวิต ฯลฯ
หลายๆ สิ่งทำให้ผมแน่ใจว่า ถ้าเด็กไทยรู้จักและเข้าใจเรื่องการบริหารเวลา
ผมเชื่อครับว่า เด็กไทยจะโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพได้มากเลยทีเดียว

หากเพื่อนๆ สนใจเกี่ยวกับงานเสวนาครั้งนี้
เพื่อนๆ ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์สอบถามที่ 0-2201-7270 (คุณพรทิพย์) หรือ 0-2201-7254 (คุณจอย)
หรือสำรองที่นั่งได้ที่โทรสารหมายเลข 0-2201-7265
Website : siweb.dss.go.th

ก่อนจากกันวันนี้ผมขอฝากคำพูดสักประโยคนึงให้เพื่อนๆ แล้วกัน
“คนเราไม่ว่าจะรวย จะจน แต่ทุกคนก็มีสิ่งหนึ่งที่เท่ากัน นั่นคือ เวลา
ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้”

โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก”
โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com

olop-project

ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด
สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ
เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย

ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib

โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ?
การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง
รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด
และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network)

โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ
1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก
2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย
3. ?(เสนอมาได้คร้าบ)

งบประมาณฟรี มีดังนี้
– วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ)
– สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ
– บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ)

วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม
– ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ
– จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน

จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน
(ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ)

เนื้อหาในการอบรม
– การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี
– การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ
– การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน
– การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด

(นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก จาได้ทำการบ้านถูก)

เอาเป็นว่าเกริ่นแค่นี้ก่อนดีกว่า

ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้กล่าวมาผมอยากทราบความคิดเห็นดังนี้
1. โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก ควรมีอะไรเพิ่มอีก?
2. เรื่องวันควรจะเป็นวันธรรมดา เสาร์ หรือ อาทิตย์ดี
3. จำนวนที่รับสมัครน้อยไป หรือมากไป ช่วยกะให้หน่อย
4. เนื้อหาในการอบรมอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับบล็อก

คำถามทั้ง 4 ข้อ เพื่อนๆ จะตอบให้ครบ 4 ข้อก็ได้
หรือเลือกตอบในประเด็นที่อยากเสนอก็ได้ รับฟังหมดครับ

ปล. ใครจะใจดีเรื่องสถานที่ หรือ ต้องการสนับสนุนงานในส่วนอื่นๆ บอกได้นะครับ อิอิ

ข้อเสนอจากเพื่อนๆ

คุณปุ๊ เสนอว่า
“ควรจัดงานในวันธรรมดา และมีการทำหนังสือเชิญอย่างเป็นทางการ เพื่อให้หัวหน้าอนุมัติในการเข้าร่วมโครงการ”

คุณจันทรา เสนอว่า
“ควรจัดในวันหยุดเพื่อไม่ให้รบกวนเวลางาน และเสนอเนื้อหาในการอบรมว่าอยากเพิ่มเรื่อง user Interface ด้วย”

คุณสุวรรณ เสนอว่า
“ควรจัดเป็นรุ่นๆ โดยจำนวนคนควรจะได้สัก 20 คนต่อรุ่น เนื่องจากเป็นการอบรมที่ต้องใช้เครื่องมือเพื่อการอบรม”

คุณจิมมี่ เสนอว่า
“ควรจัดในส่วนภูมิภาคด้วยเนื่องจากมีโอกาสที่เรียนรู้เรื่องนี้น้อยกว่าคนในเมือง”

คุณอ่านบล็อกผมกันบ้างหรือปล่าว

หลังจากเปิดบล็อกใหม่ (Libraryhub.in.th) มาเกือบ 15 วันแล้ว
วันนี้ผมมีเรื่องจะมาถามเพื่อนๆ อีกแล้วหล่ะครับ

read-projectlib

เพราะว่าผมไม่แน่ใจว่าเพื่อนๆ ได้อ่านเรื่องในบล็อกใหม่ผมบ้างหรือปล่าว
(แต่ละเรื่องไม่ค่อยมีคอมเม้นต์เลย จึงทำให้ไม่แน่ใจว่าอ่านกันบ้างหรือปล่าว)

วันนี้ผมเลยขอตั้งแบบสำรวจอย่างง่ายๆ ว่า
“คุณอ่านเรื่องใน Libraryhub กันหรือปล่าว”

[poll id=”4″]

ถึงแม้ว่าเพื่อนๆ จะไม่คอมเม้นต์ให้ แต่ขอให้เลือกคำตอบแบบสอบถามกันบ้างนะครับ
อย่างน้อยผมจะได้รู้ว่าเพื่อนๆ ยังอ่านบล็อกผมกันอยู่
อิอิ

ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

วันนี้เป็นวันเปิดการทดลองใช้งานวันแรกของสถานีรถไฟฟ้าในฝั่งธนทั้งสองสถานี
นั่นก็คือ สถานีรถไฟฟ้าธนบุรี และสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

bts012

เมื่อเช้าผมได้มีโอกาสใช้บริการสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
ก็เลยขอเอามาเล่าให้อ่านผ่านบล็อกส่วนตัวของผมแล้วกัน

bts015

สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ ชื่อก็บอกว่า “วงเวียนใหญ่”
แต่จริงๆ แล้วสถานีไม่ได้ตั้งอยู่ที่วงเวียนใหญ่เหมือนที่คิดไว้หรอกนะครับ
แถมถ้าจะให้เดินจากวงเวียนใหญ่มาก็คงไม่สามารถเช่นกัน
เพราะว่าจาก “วงเวียนใหญ่” กับ “สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่” มันห่างกันพอควรเลยครับ
เห็นหลายๆ คนบอกว่าห่างกันถึง 1 กิโลเมตรเลยด้วยซ้ำครับ

สถานีแห่งนี้จริงๆ แล้วสิ่งอำนวยความสะดวกภายในก็มีเหมือนกับทุกสถานีรถไฟฟ้านั่นแหละ เช่น
– ลิฟต์สำหรับผู้พิการ (แต่คนปกติก็ชอบแอบใช้บริการ)
– บันไดเลื่อน (ที่เลื่อนขึ้นเท่านั้นไม่เลื่อนลง)
– จุดจอดรถ shuttle bus

ส่วนด้านในสถานีก็เหมือนเดิมแหละครับ เช่น
– ตู้จำหน่ายบัตร
– เคาน์เตอร์แลกเหรียญ / ซื้อบัตรโดยสาร
– ประตูทางเข้าออก

อ๋อ ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการทดลองการใช้งาน จึงให้บริการฟรี 3 สถานี
ตรงนี้อ่านดีๆ นะครับ เพราะหลายคนเข้าใจผิดว่าขึ้นรถไฟฟ้าฟรีทุกเส้นทาง
ผู้ที่จะเดินทางแค่ 3 สถานีนี้ไม่ต้องเสียเงินครับ
นั่นคือ สถานีสะพานตากสิน สถานีธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ เท่านั้น

หากเพื่อนๆ ต้องการไปลงที่อื่นที่เกินจากสถานีสะพานตากสิน
เพื่อนๆ ก็ต้องเสียค่าบริการเหลือเดิมนะครับ เช่น จากสะพานตากสินไปสยาม ราคา 30 บาท
หากขึ้นที่สถานีวงเวียนใหญ่แล้วไปสยามก็จะคิด 30 บาทเหมือนกันครับ

เรื่องค่าบริการกรุณาศึกษาดีๆ ก็แล้วกันนะ
สถานีทดลองใช้ฟรีตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม – 12 สิงหาคม 2552 นะครับ

เอาเป็นว่ามาดูรูปบนสถานีรถไฟฟ้ากันหน่อยดีกว่า
วันนี้วันแรกอยากจะบอกว่าคนแน่นชานชาลามากๆ เลยครับ ไม่เชื่อลองดูรูปนี้

people-bts

ส่วนรูปต่อไปเป็นรูปเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ทำให้คนนึกถึงรถไฟฟ้าครับ
นั่นคือ เส้นสีเหลือง เพราะถ้าคุณเหยียบคุณจะได้ยินเสียงนกหวีด แน่นอนครับ

yellowline-bts

ภาพชุดต่อมาเป็นโครงสร้างทั่วไปของสถานีรถไฟฟ้านะครับ

station-bts

เป็นยังไงบ้างครับกับการเยี่ยมชม และใช้บริการครั้งแรกของผม
หวังว่าเพื่อนๆ จะมีโอกาสได้ลองใช้บริการดูบ้างนะครับ

SCG Experience Library รับสมัครนักศึกษาทำงาน/ฝึกงาน

มีข่าวมาประชาสัมพันธ์ให้น้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ได้รับทราบ
เนื่องจากขณะนี้ SCG Experience Library
ต้องการรับสมัครนักศึกษาทำงาน Part Time จำนวน 3 ตำแหน่ง

scg

หากน้องๆ สนใจ กรุณาคุณสมบัติก่อนนะครับ ซึ่งมีดังนี้
– มีบุคลิกดี มุ่งมั่นในงานบริการ กระตือลือร้น กล้าแสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์
– เพศ ชาย/หญิง
– นักศึกษาชั้นปีที่ 3 -4 ระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
(หากศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียรู้/ฝึกงานมากขึ้น)
– รักงานบริการ และชอบร่วมทำงานกับผู้อื่น
– มีความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
– Microsoft Oficce เช่น Excel, Word, Power Point และ อื่นๆ

รายละเอียดของงาน มีดังนี้
– ช่วยงานเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่ศูนย์ SCG Experience
– เวลางาน สามารถเข้ามาทำงานตั้งแต่ เวลา 09.30 ? 20.30 (ทั้ง 3 คนต้องสลับกะเข้างาน) เรื่องเวลางานสามารถตกลงกันได้
– ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือและนิตยสาร (จัดเก็บเข้าชั้น , ซ่อมแซมหนังสือและนิตยสาร)
– ช่วยงานด้านการบริการต่างๆที่มีในห้องสมุด

สถานที่ในการทำงาน
บริษัท เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ จำกัด
เลขที่ 1444 ซอยลาดพร้าว 87 (จันทราสุข)
แขวง คลองจั่น เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
(ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา เยื้อง The Crystal Park)

ที่สำคัญของการทำงานครั้งนี้ น้องๆ จะได้รับความรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน
นอกจากนี้ยังได้ค่าตอบแทนในการทำงาน โดยคิดเป็นรายชั่วโมงด้วยนะครับ

หากน้องๆ คนไหนสนใจ และอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม
กรุณาติดต่อกลับมาที่ พี่กุ๊กกิ๊ก โทรศัพท์ 02-1019900 ต่อ 2004

ปล. ขอขอบคุณทาง SCG ที่ส่งข่าวมาให้ประกาศนะครับ
และหากหน่วยงานไหนต้องการประชาสัมพันธ์เรื่องงาน ท่านสามารถส่งข่าวมาให้ผมได้นะครับ