แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2018

ในปีที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายให้ห้องสมุดหลายแห่งฟังเกี่ยวกับแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยี ซึ่งบ่อยครั้งผมจะพูดถึง Gartner เป็นหลัก แต่วันนี้ที่ผมจะเขียนให้เพื่อนๆ อ่าน ผมขอหยิบแนวโน้มที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดมาเล่าบ้าง ซึ่งคนที่ผมชอบกล่าวถึงบ่อยๆ คงหนีไม่พ้น David Lee King (บรรณารักษ์ด้านไอที Idol ของผมเอง) ซึ่งเพื่อนๆ สามารถตามอ่านบล็อกของเขาได้ที่ https://www.davidleeking.com/

Read more

แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวคิดเพื่อห้องสมุดสีเขียว : ปั่นเพื่อชาร์จแบต

แนวโน้มเรื่องการก้าวเข้าสู่ ห้องสมุดสีเขียว กำลังได้รับการยอมรับในหลายประเทศ (ในประเทศไทยก็เช่นกัน)
วันนี้ผมจึงขอเริ่มเขียนบล็อกนำเสนอไอเดียต่างๆ (ที่เคยเห็น) เพื่อให้เพื่อนๆ นำไปต่อยอดกับห้องสมุดตัวเอง

Essex Libraries installed Kinetic bikes in their libraries.

เริ่มจาก “ปั่นเพื่อชาร์จแบต” ซึ่งผมได้ไอเดียจากห้องสมุดสองแห่งคือ Essex Libraries (ประเทศอังกฤษ) และ Warwick University (ประเทศอังกฤษ) ซึ่งทั้งคู่ได้ใช้แนวคิดนี้สร้างพลังงานสะอาด Read more

ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)

ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)

ไม่ได้เขียนอะไรแนวสร้างสรรค์มานานแล้ว วันนี้ขอสักบทความหนึ่งแล้วกัน
หัวข้อก็ไม่มีอะไรมากแค่ “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” ใครๆ ก็อยากเป็น
ผมก็เลยไปค้นข้อมูล และก็เจอเส้นทางสู่การเป็น “นักสร้างสรรค์”

ปล. เป็นคำแนะนำเล็กๆ แต่ขอนำมาใช้ในวงการบ้าง เพื่อจะมีคนนำไปต่อยอดได้

Read more

การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ในห้องสมุดยุคใหม่

การออกแบบบริการ (Service Design) ต่างๆ ในห้องสมุดยุคใหม่ เริ่มจากการศึกษาเส้นทางในการใช้บริการของลูกค้า (Customer Journey) ค่อยๆ ดูและพยายามหาโอกาสและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ลูกค้า

การสร้างบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้ามี 3 แนวทางให้เลือกทำ
1) ต่อยอดบริการเดิมให้มีคุณค่ามากขึ้น
2) สร้างสรรค์บริการในรูปแบบใหม่
3) เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและหาหนทางใหม่ๆ ในธุรกิจตนเอง

Read more

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

5 เหตุผลที่ทำให้ชาวห้องสมุดต้องสนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อนำมาใช้ในห้องสมุด คือ

1. แนวโน้มเรื่อง Big Data / Data sciences / AI กำลังได้รับความนิยมที่สูงขึ้น (ไม่สนใจไม่ได้แล้ว)
2. ระบบห้องสมุดหลายๆ ตัวเริ่มมีการเพิ่มฟีเจอร์ในการทำรายงานโดยดึงข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ให้อัตโนมัติ (อันนี้ยังไม่เห็นในเมืองไทย ส่วนใหญ่บรรณารักษ์ดึงออกมาวิเคราะห์เอง)

Read more

สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก วันนี้จึงขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปบรรยายและฟังวิทยากรคนอื่นบรรยายมาให้เพื่อนๆ อ่าน

โครงการสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมห้องสมุดดิจิทัล 4.0
ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Library)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วันที่ 25 มกราคม 2561

ทั้งนี้ในส่วนสไลด์ของผมที่บรรยาย ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่

อ่านสรุปเรื่องราวได้เลยครับ

Read more

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

แนวโน้มที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดและเทคโนโลยี จาก TechSoup for Libraries

วันนี้มีโอกาสได้อ่านเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับห้องสมุดมากเป็นพิเศษ
(เพราะต้องเตรียมบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในช่วงเดือนธันวาคมนี้)
เว็บไซต์หนึ่งที่น่าสนใจและผมอ่านประจำ คือ http://www.techsoupforlibraries.org/

5-library-technology-topics-from-techsoup-for-libraries

ซึ่งหัวข้อที่ผมขอหยิบมาเขียนและเล่า คือ Your Top 5 Library Technology Topics โดย Ariel Gilbert-Knight
เขาพูดถึง Topic ที่น่าสนใจของรายการ Webinar ใน TechSoup for Libraries 5 เรื่องที่ต้องตามดู
ซึ่งหากใครสนใจผมขอนำ link วีดีโอทั้ง 5 ลงไว้ให้ตามดูด้วยนะครับ

Read more

ไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

ไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

วันนี้ได้เข้ามาดูเว็บไซต์ The bookpal แล้วเจอไอเดียดีๆ
เกี่ยวกับการจัด Display หนังสือในห้องสมุด (ดูไอเดียการตกแต่งห้องสมุดเด็ก)
เลยอยากนำมาแชร์ให้ชม ดูแล้วคิดอย่างไรแสดงความคิดเห็นทิ้งไว้ได้ด้านล่างเลยครับ

ideas-for-school-libraries

ตัวอย่างไอเดียแนวๆ ในการตกแต่งห้องสมุดโรงเรียน

1) ป้ายสถานที่ท่องเที่ยว หรือ เมืองวรรณกรรม
– ทางนี้เป็นเมือง Narnia ทางนั้นเป็นเมือง The Shire
ความเห็นส่วนตัว : ดูสนุกและทำให้อยากรู้จักเมืองนั้นๆ ผ่านวรรณกรรมมากๆ

ที่มาจาก https://www.pinterest.com/pin/212443307397871318/
ที่มาจาก https://www.pinterest.com/pin/212443307397871318/

2) แผนที่การอ่าน หรือ โลกการอ่าน
– ท่องเที่ยวไปพร้อมกับเรื่องราวในหนังสือ โลกของความเป็นจริงสามารถเชื่อมโลกนิยายได้
ความเห็นส่วนตัว : คล้ายๆ การเดินตามรอยดาราอ่ะ แต่ได่ประสบการณ์อีกแบบ

ที่มาจาก http://dcgmiddleschoollibrary.blogspot.com.au/2014/08/welcome-back-to-school.html?m=1
ที่มาจาก http://dcgmiddleschoollibrary.blogspot.com.au/2014/08/welcome-back-to-school.html?m=1

3) คุณครูในโรงเรียนนี้ชอบอ่าน มาเดาดูสิว่าใครเป็นใคร???
– นำภาพคุณครูในโรงเรียนพร้อมหนังสือเล่มโปรด แล้วมาให้เด็กๆ ทาย
ความเห็นส่วนตัว : เริ่มต้นดีถ้าครูเป็นนักอ่าน เด็กๆ ก็จะเป็นนักอ่านได้

ที่มาจาก http://readwithmeabc.blogspot.com/2014/09/guess-who-bulletin-board-freebie.html
ที่มาจาก http://readwithmeabc.blogspot.com/2014/09/guess-who-bulletin-board-freebie.html

4) เดาสิว่านี้คือตัวอะไร
– นำภาพตัวละครชื่อดังมาทำเป็นเงาแล้วให้เด็กๆ ทายว่าคือตัวอะไรแล้วเชื่อมโยงกับหนังสือ
ความเห็นส่วนตัว : อันนี้แอบยากนะ แต่ถ้าได้อ่านหนังสือแล้วชอบบางทีแค่เห็นเงาก็รู้แล้วว่าคือใคร

ที่มาจาก http://www.risking-failure.com/2013/02/seuss-silhouettes-bulletin-board.html
ที่มาจาก http://www.risking-failure.com/2013/02/seuss-silhouettes-bulletin-board.html

5) จับคู่หนังสือ หรือ เลือกเดทกับหนังสือ
– นำหนังสือมาห่อปกพร้อมเขียนคุณลักษณะของหนังสือ เพื่อให้ผู้ใช้มาเลือกไปเดท
ความเห็นส่วนตัว : อันนี้ชอบมากๆ เพราะเราจะเจอหนังสือที่เราชอบ เสมือนเจอคู่แท้ของเรา

ที่มาจาก http://www.literaryhoots.com/2015/02/library-display-blind-date-with-book.html#more
ที่มาจาก http://www.literaryhoots.com/2015/02/library-display-blind-date-with-book.html#more

ยังมีไอเดียอีก 2-3 อย่างเช่น บอร์ดนิทรรศการบรรทัดแรกของหนังสือ / นิทรรศการหนังสือที่คุณครูชอบ / นิทรรศการที่เด็กๆ เล่นได้ผ่าน LEGO ผมว่าแต่ละไอเดียดูดีและห้องสมุดโรงเรียนในเมืองไทยน่าจะนำมาทำได้ไม่ยากเลย

เอาเป็นว่าถ้าอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตามไปอ่านต่อได้ที่ http://blog.book-pal.com/education/get-inspired-amazing-school-library-ideas

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด

ทุกวันนี้ เราเข้าใจ “ลูกค้า” “ผู้ใช้บริการ” ของห้องสมุดที่เราดูแลแค่ไหน
“ลูกค้า” ของเราเข้ามาทำอะไรในห้องสมุด
“ผู้ใช้บริการ” ของเราคาดหวังอะไรจากการมาถึงห้องสมุด
วันนี้ผมอยากแนะนำวิธีง่ายๆ ซึ่งบางแห่งก็นำไปใช้แล้ว บางเห็นก็ยังคงหาหนทางอยู่

slide1

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เข้าใจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด
ผมขอแนะนำเบื้องต้น 4 วิธีที่ผมใช้เป็นประจำก่อนนะครับ

1. หากเราอยากเข้าใจลูกค้า/ผู้ใช้บริการ ให้เราลองทำตัวเป็นผู้ใช้บริการ
แต่ขอย้ำว่า “ไปที่ห้องสมุดที่อื่น (ห้ามเป็นห้องสมุดของตัวเองนะ)”
แล้วลองดูว่าห้องสมุดที่เราไป เรารู้สึกอย่างไร เราชอบอะไร เราไม่ชอบอะไร
บันทึกแล้วกลับมาทบทวนที่ห้องสมุดของเราดูว่าเราเป็นแบบนั้นหรือไม่

2. ลองเป็นแบ่งคนที่ทำงานในห้องสมุดออกเป็นส่วนๆ ให้สังเกตและสนใจเรื่องต่างกัน
เช่น งานบริการเคาน์เตอร์ มุมบริการคอมพิวเตอร์ มุมอ่านหนังสือ มุมที่เก็บหนังสือ….
เมื่อแบ่งย่อยๆ เราจะเห็นข้อมูลเชิงลึกไม่เหมือนกัน ใช้เวลาสังเกตสักเดือนแล้วเอามาคุยกัน
จากนั้นเปลี่ยนมุมกันใหม่และทำเช่นเดิมไปเรื่อยๆ

3. สอบถามผู้ใช้บริการไปตรงๆ เลย อาจใช้แบบสอบถาม หรือ เข้าไปนั่งพูดคุยก็ได้
ลักษณะคำถามที่ใช้ ควรเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อถามไปเรื่อยๆ
ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่มีคำตอบให้เลือก เช่น ใช่หรือไม่ ชอบหรือไม่ชอบ ….

4. เก็บรวบรวมคำถามของผู้ใช้บริการอยู่เสมอ
เช่น ถามผ่านโทรศัพท์ ถามผ่านหน้าเคาน์เตอร์บริการ ถามผ่านอีเมล์
แล้วนำมารวบรวมเพื่อหาความถี่ จะได้รู้ว่าลูกค้ายังต้องการรู้อะไรบ้าง…

4 วิธีที่ว่ามานี้ ผมว่าเพื่อนๆ ทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องใช้เวลาและความใส่ใจ
ทั้งนี้ในยุคปัจจุบัน การมานั่งมโนว่าลูกค้าชอบแบบนั้นแบบนี้มันทำไม่ได้อีกแล้ว
การคิดแทนผู้ใช้บริการอาจทำให้ห้องสมุดของเราไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการก็ได้

ทั้งนี้หากเพื่อนๆ มีแนวทางเสนอเพิ่มเติม ลองโพสมาที่ช่องแสดงความคิดเห็นนะครับ

กรณีศึกษา : ฉีกหนังสือพิมพ์ในห้องสมุด อ้างมาห้องสมุดครั้งแรก

กรณีศึกษา : ฉีกหนังสือพิมพ์ในห้องสมุด อ้างมาห้องสมุดครั้งแรก

วันนี้ขอนำกรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงของห้องสมุดแห่งหนึ่งมาให้อ่าน ซึ่งวันนั้นผมก็เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์บังเอิญในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ลองอ่านแล้วนึกภาพเหตุการณ์ไปพร้อมๆ กันนะครับ

man-791440_1280

——————–

ช่วงเย็นของวันทำงาน ณ ห้องสมุดแห่งหนึ่ง ผมกำลังยืนคุยกับพี่บรรณารักษ์คนหนึ่งเพื่อสอบถามเกี่ยวกับงานบริการของห้องสมุดอยู่นั้นเอง

มีผู้ใช้บริการท่านหนึ่งเดินตรงเข้ามาหาบรรณารักษ์แล้วกระซิบเบาๆ ว่า
“พี่ครับ มีผู้ใช้บริการท่านหนึ่งกำลังฉีกหนังสือพิมพ์ของห้องสมุดอยู่ รีบไปดูหน่อยครับ”

ผมและบรรณารักษ์ท่านนั้นตกใจมาก ต้องหยุดการสนทนาต่างๆ ลงและรีบไปดูตามที่ผู้ใช้บริการท่านนั้นบอก

ณ พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ ผู้ใช้บริการวัยกลางคนกำลังนั่งฉีกหนังสือพิมพ์ น่าจะประมาณ 6 -7 ฉบับ เห็นจะได้
พอเห็นบรรณารักษ์เดินเข้ามาเขาก็หยุดฉีก พอกับสนทนากันดังนี้

ผู้ใช้บริการวัยกลางคน : มีอะไรหรือครับ
บรรณารักษ์ : หนังสือพิมพ์นี้เป็นของห้องสมุดนี่ครับ ทำไมถึงฉีกออกมาแบบนี้หล่ะครับ
ผู้ใช้บริการวัยกลางคน : อ้าว หนังสือพิมพ์ของห้องสมุดฉีกไม่ได้หรอ
บรรณารักษ์ : ไม่ได้ครับ ถ้าทำลายทรัพย์สินของห้องสมุดจะต้องโดนปรับนะครับ
ผู้ใช้บริการวัยกลางคน : งั้นผมขอโทษแล้วกัน ไม่ทราบกฎนี้เลย เพิ่งเคยเข้าห้องสมุดนี้ครั้งแรกครับ ยกโทษให้หน่อยแล้วกัน
บรรณารักษ์ : ไม่ได้ครับ เพราะฉบับที่คุณฉีกเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีผู้เข้ามาใช้เยอะเหมือนกัน และกฎก็ต้องเป็นกฎ ยังไงก็ขอเชิญตามมาที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ

ผมซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ก็ได้แต่อึ้ง กับบทสนทนาของชายวัยกลางคนคนนั้น
“ไม่ทราบกฎนี้เลย เพิ่งเคยเข้าห้องสมุดที่นี่ครั้งแรก”
เอ๊ะ แล้วห้องสมุดที่อื่น เขาอนุญาตให้ฉีกกันหรือครับ….

บทสรุปของเรื่องนี้ คือ ชายวัยกลางคนเสียค่าปรับ ห้องสมุดต้องนำกระดาษที่ถูกฉีกมาซ่อมแซมเพื่อให้บริการต่อ ….