บรรณารักษศาสตร์ เท่ากับ สารสนเทศศาสตร์ หรือไม่

ขอออกตัวก่อนนะครับที่เขียนไม่ได้ว่าจะชวนทะเลาะหรือสร้างความแตกแยก แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมได้ยินบ่อยมากๆ และจากประสบการณ์ตรงในช่วงผมเป็นนักศึกษา (รุ่นผมชื่อบรรณารักษศาตร์และสารสนเทศศาสตร์ แต่หลังจากรุ่นผมไปแล้วใช้คำว่า การจัดการสารสนเทศ) วันนี้ผมว่าเด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจสับสนบ้างว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ปล. ที่เขียนบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผม ถูกผิดหรือไม่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

หลายๆ สถานศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนชื่อหลักสูตรวิชา หรือ บางแห่งเปลี่ยนชื่อภาควิชาไปเลยก็มี

คำถามที่ผมคาใจมากๆ คือ “ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อสาขาวิชานี้” “ชื่อสาขานี้มันล่าสมัยจริงหรือ”
เหตุผลที่ผมได้ยินและได้คุยกับอาจารย์บางท่าน คือ
– “ถ้าไม่เปลี่ยนแล้วเด็กจะไม่เข้ามาเรียนในสาขานี้”
– “ถ้าเด็กเข้ามาไม่ได้ตามจำนวน ภาควิชาก็ไม่สามารถเปิดสอนได้”
– “สาขาวิชามีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น”
– “เด็กที่จบไปจะได้ชื่อหลักสูตรที่สวยหรู สามารถทำงานอะไรก็ได้”

เอาเป็นว่าเหตุผลต่างๆ มากมายที่ผมก็ขอรับฟัง
แต่…เคยคิดกันหรือไม่ว่า….ประเด็นนี้จะทำให้เด็กสับสน

“หนูไม่รู้นี่ว่าสารสนเทศศาตร์ คือ สอนให้หนูเป็นบรรณารักษ์ หนูนึกว่าเข้ามาเรียนคอมพิวเตอร์”
“การจัดการสารสนเทศน่าจะสอนการจัดการข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่อิงแต่เรื่องห้องสมุด”
“เข้ามาเพราะชื่อหลักสูตรเท่ห์จัง แต่ทำไมเรียนเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุด”

สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนชื่อหลักสูตรก็จริงแต่เนื้อหาในรายวิชาเกือบครึ่งหนึ่งก็ยังคงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดอยู่ดี บางแห่งไม่ได้เปลี่ยนรายวิชาด้านในเลยด้วยซ้ำ จากประเด็นแบบนี้ จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เด็กส่วนใหญ่สับสนกับหลักสูตร หรือ วิชาที่เรียน

จากกรณีเรื่องของชื่อหลักสูตร หรือ ชื่อของภาควิชา ผมขอพูดถึงสภาพของเด็ก 3 กลุ่มให้ฟังคร่าวๆ คือ
1. “รู้ว่าบรรณารักษ์เป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศอยู่แล้ว และตั้งใจมาเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะ” พูดง่ายๆ ว่าใจรักอ่ะครับ เด็กพวกนี้ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะใจเขามาด้านนี้โดยตรงอยู่แล้ว
2. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่พอมาเจอเนื้อหาของแต่ละวิชา ก็ได้แต่ทำใจและยอมรับสภาพ” พูดง่ายๆ ว่า อดทนให้เรียนจบแล้วเดี๋ยวไปหางานอย่างอื่นทำ กลุ่มนี้ก็พบมากมาย เด็กส่วนหนึ่งที่จบไม่ได้กลับมาทำงานตามสายที่เรียน
3. “รู้และเข้าใจว่าสารสนเทศคือการเรียนคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเข้ามาเรียนและรู้ว่าไม่ใช่ก็ลาออกไปเรียนอย่างอื่น หรือ ฝืนเรียนแต่ก็รับไม่ได้” พูดง่ายๆ ว่า เมื่อไม่ใช่ทางที่คิดไว้ก็ไปทางอื่นดีกว่า

เรื่องของชื่อว่า “บรรณารักษศาสตร์” หรือ “สารสนเทศศาสตร์” แท้จริงแล้วมันเท่ากันหรือไม่
แค่ชื่อก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมบอกได้ตรงๆ ครับว่า อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” มันก็ต่างกัน

อาชีพ “บรรณารักษ์” กับ “นักสารสนเทศ” ต่างอย่างไร

“บรรณารักษ์” คือการจัดการสื่อ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ องค์ความรู้ในห้องสมุด กระบวนการต่างๆ ที่ดำเนินงานในห้องสมุด “บรรณารักษ์” ต้องรู้และสามารถจัดการได้

“นักสารสนเทศ” คือ การจัดการสารสนเทศด้านใดด้านหนึ่งไม่จำเป็นต้องจัดการห้องสมุดทั้งหมด แต่ต้องจัดการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ ยิ่งถ้าจัดการหรือมีความรู้ด้านวิชาชีพอื่นๆ ด้วยก็ยิ่งดี และถือว่าเป็นนักสารสนเทศของอาชีพนั้นๆ ได้ด้วย เช่น นักสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ ฯลฯ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นว่า ห้องสมุด คือส่วนหนึ่งของการจัดการสารสนเทศแบบภาพรวม บรรณารักษ์ก็คือนักสารสนเทศในรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นการเปลี่ยนชื่อหลักสูตร สถานศึกษาก็ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้กับเด็กๆ ที่เข้ามาเรียนด้วย…

หรือแม้แต่ครูแนะแนวเด็ก ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็ควรรู้และเข้าใจในแง่นี้ด้วย มิเช่นนั้นเด็กๆ ของท่านก็จะเข้าใจผิดว่า “สารสนเทศ” ก็คือ “คอมพิวเตอร์” ต่อไป

วันนี้ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนแล้วกัน อิอิ

Infographic เทรนด์ในการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Reading)

วันนี้เจอภาพ Infographic นึงรู้สึกว่ามันน่าสนใจเลยเอามาฝากเพื่อนๆ กัน Infographic นี้ได้พูดถึงแนวโน้มและพฤติกรรมของการอ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบภาพรวม เช่น ทำไมถึงอ่าน อุปกรณ์อ่านที่เป็นที่นิยม ฯลฯ

เอาเป็นว่าไปชมภาพ Infographic กันก่อนเลยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะ

สรุปข้อคิดและเนื้อเรื่องจาก Infographic นี้
การสำรวจข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างคือชาวอเมริกันที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป
– เพศชายกับเพศหญิงมีสัดส่วนในการอ่าน E-book ใกล้เคียงกัน ช่วงอายุที่อ่านมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 18-49 ปี และมีรายได้มากกว่า 50,000 เหรียญต่อปี
– เหตุผลในการอ่านหลักๆ คือ เพื่อการเรียนรู้, เพื่อหลบหนีความเป็นจริง และเพื่อความเป็นเทิง
– ในช่วงเวลาหนึ่งปี อัตราในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย หนังสือประเภทสิ่งพิมพ์จำนวน  15 เล่ม และ E-book จำนวน 24 เล่ม
– อัตราของการซื้อหนังสือคนที่อ่าน E-book จะซื้อหนังสือมากกว่านักอ่านปกติ
– E-Reader ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ Kindle Fire
– แต่เมื่อเทียบ Kindle Fire กับ iPad คนใช้ iPad มากว่าหลายเท่า

ประเด็นสุดท้ายน่าสนใจมากๆ ครับ คือ “เหตุผล 4 ประการที่ไม่ซื้อ E-Reader”
1. ไม่จำเป็นหรือต้องการแค่ 1 (บางคนใช้ tablet ซึ่งแทนกันได้)
2. ไม่สามารถใช้ได้แค่คนๆ หนึ่ง (ไม่อยากใช้งานร่วมกับคนอื่น)
3. มีอุปกรณ์ดิจิทัลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น Tablet Notebook PC
4. ชอบหนังสือประเภทสิ่งพิมพ์มากกว่า

เอาหล่ะครับก็ขอฝากเรื่องราวดีๆ ไว้เพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเพียงใด คนก็ยังคงต้องการแสวงหาความรู้มากขึ้นไปด้วย และการอ่านก็ช่วยให้เราได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้เช่นกัน รูปแบบของหนังสือจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่คนเราก็ยังไม่ทิ้งหนังสือที่เป็นเล่มอยู่ดี”

ที่มา http://infographiclabs.com/news/e-reading-trends/

เก็บตกบรรยากาศในงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

เพื่อนๆ คนไหนได้ไปงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” บ้างครับ เป็นอย่างไรกันบ้างงานนี้จุดประกายไอเดียให้ผู้เข้าร่วมงานได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสื่อใหม่ๆ สำหรับเด็ก กิจกรรมสำหรับเด็ก และตัวอย่างนิทรรศการแบบเด็ดๆ มากมาย สำหรับคนที่ไม่ได้มางานนี้ไม่ต้องเสียใจครับ ผมขอนำภาพบรรยากาศและสรุปไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ให้อ่านแล้วกัน

ข้อมูลทั่วไปของงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” อ่านได้จาก
http://www.libraryhub.in.th/2012/07/10/librarian-go-family-books-festival-2012/

งานอบรมและงานบรรยายที่จัดในงาน “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555” ผมไม่ได้เข้าร่วมนะครับ
แต่สิ่งที่ผมให้ความสนใจ คือ ร้านหนังสือที่เข้ามาจำหน่าย นิทรรศการจากบริษัทใหญ่ๆ และกิจกรรมสำหรับเด็กที่น่าสนใจ

สรุปเรื่องของร้านหนังสือ
– มีร้านที่จำหน่ายหนังสือและสื่อสำหรับเด็กเยอะพอสมควร
– หนังสือภาพเป็นหนังสือที่ขายดีในงานนี้
– หนังสือสำหรับเด็กที่มีเนื้อเรื่องตามประแสปัจจุบัน เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับอาเซียน ชีวประวัติบุคคลชื่อดัง ก็มีการนำมาแปลงให้เด็กอ่านง่ายขึ้น
– รูปแบบหนังสือ pop up ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น
– หนังสือเสียง audio book มีมากขึ้น


สรุปเรื่องนิทรรศการ
– นิทรรศการแสดงผลงานและความเป็นงานของบริษัทแปลนฟอร์คิดส์ รูปแบบในการนำเสนอน่าสนใจดี อ่านง่ายและเข้าใจง่าย
– นิทรรศการและบอร์ดของโครงการ BBL สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ น่าสนใจทั้งเนื้อหา และมีกิจกรรม รวมถึงสื่อที่จะทำให้ครูเข้าใจกระบวนการสอนตามหลัก BBL
– นิทานในสวนกระดาษ นอกจากเรื่องของกิจกรรมในบูธนี้แล้ว ผมยังให้ความสนใจกับชั้นหนังสือที่ทำจากกระดาษด้วยเช่นกัน
– นิทรรศการ “108 หนังสือดี โครงการเฉลิมพระเกียรติ”


สรุปกิจกรรม (จริงๆ ในนิทรรศการก็มีกิจกรรมประกอบบ้างอยู่แล้ว ดังนั้นกิจกรรมด้านล่างนี้ขอเน้น hilight แล้วกัน)
– กิจกรรม “นิทานเพื่อนรัก” อันนี้ผมขอเน้นว่าเด็ดสุดจริงๆ เล่านิทานโดยผ่านกิจกรรมแต่ละฐาน ผู้เล่าก็สวมชุดมาสคอตด์น่ารัก

เอาเป็นว่าขอสรุปไว้ให้อ่านเท่านี้ก่อนดีกว่า
นอกนั้นผมขอบรรยายโดยใช้ภาพถ่ายแล้วกัน

ภาพบรรยากาศงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555 ทั้งหมด

[nggallery id=58]

Infographic หมดยุคของสารานุกรมฉบับพิมพ์อย่าง Britannica

ไม่ได้นำ Infographic ข้อมูลดีๆ มาให้เพื่อนๆ ชมนานแล้ว วันนี้ผมขอแก้ตัวด้วยการนำเสนอ Infographic ข้อมูลของสารานุกรมแห่งหนึ่งที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังมาก (คนที่เรียนด้านบรรณารักษ์จะต้องรู้จัก) นั่นคือ Britannica

แต่เพื่อนๆ หลายคนคงได้ข่าวเมื่อต้นปี 2012 ที่ สารานุกรมอย่าง Britannica ต้องประกาศยุติการพิมพ์สารานุกรมฉบับสิ่งพิมพ์ แต่สารานุกรมนี้ยังคงให้บริการในรูปแบบออนไลน์อยู่

อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
Encyclopedia Britannica หยุดพิมพ์แล้ว – http://www.blognone.com/node/30677
สารานุกรมบริทานิกาหยุดตีพิมพ์ – http://news.voicetv.co.th/global/33700.html (วีดีโอข่าว)

เอาหล่ะครับ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า วันนี้ผมนำ Infographic ที่เกี่ยวกับ Britannica มาให้ดูครับ ชมกันก่อนเลย

เอาหล่ะครับมาดูข้อมูลสรุปจาก Infographic นี้กัน

ข้อมูลประวัติแบบคร่าวๆ ของ Britannica
– ฉบับแรกพิมพ์ในปี 1771 (อายุในปัจจุบัน = 244 ปี)
– ฉบับดิจิทัลถูกจัดทำครั้งแรกในปี 1981 โดย Lexisnexis
– ฉบับออนไลน์ครั้งแรกและฉบับซีดีเวอร์ชั่นสมบูรณ์เกิดขึ้นในปี 1994
– ฉบับมือถือ (รองรับเครื่อง Palm) เกิดในปี 2000
– ฉบับแอพใช้งานกับอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ของบริษัท apple (ipod,ipad,iphone) เกิดในปี 2011
– ปิดฉากสารานุกรม Britannica แบบสิ่งพิมพ์ในปี 2012

ทำไม Britannica ถึงไม่ทำสิ่งพิมพ์แล้วหล่ะ???
– ยอดขายตกลงอย่างรุนแรง ในปี 1990 ยอดขาย 120,000 ฉบับ ในปี 1996 เหลือยอดขาย 40,000 ฉบับ และในปี 2009 เหลือ 8,000 ฉบับ

ราคาของการใช้งานสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica ฉบับพิมพ์ ราคา 1,395 เหรียญสหรัฐ
– Britannica ฉบับ ipad ราคา 1.99 เหรียญสหรัฐ/เดือน
– Britannica ฉบับออนไลน์ สมัครสมาชิก 70 เหรียญสหรัฐ/ปี
– wikipedia ฟรี ฟรี ฟรี

จำนวนบทความสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนบทความประมาณ 65,000 บทความ
– Wikipedia มีจำนวนบทความประมาณ 3,890,000 บทความ

จำนวนคนที่เขียนบทความในสารานุกรม Britannica เมื่อเทียบกับ wikipedia
– Britannica มีจำนวนประมาณ 4,000 คน (ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง)
– Wikipedia มีจำนวนประมาณ 751,426 คน (ใครๆ ก็เขียนได้)

เอาเป็นว่า ณ จุดนี้ ก็คงต้องบอกว่ายุคของสารานุกรม Britannica ฉบับพิมพ์อาจจะถึงจุดสิ้นสุดไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังจะเริ่มต้นก็คือการแข่งขันกับ Wikipedia ในโลกออนไลน์นั่นเอง

เอาเป็นว่าเส้นทางนี้จะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามชมกันต่อไป

ปล.จริงๆ แล้ว การแข่งขันกันระหว่าง Britannica กับ Wikipedia ทำให้ผมรู้สึกถึงการแข่งขันระหว่าง Library และ Google ด้วย…

ที่มาของภาพ Infographic นี้มาจาก http://mashable.com/2012/03/16/encyclopedia-britannica-wikipedia-infographic/

ผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนควรเป็นอย่างไร

หมายเหตุก่อนการอ่าน : หัวข้อในวันนี้อาจจะดูรุนแรงสักนิดหน่อย แต่ถ้าได้อ่านเนื้อเรื่องจริงๆ แล้วจะรู้สึกว่ามันไม่ได้แรงเหมือนที่คิดนะครับ

ที่มาของหัวข้อในวันนี้มาจากเอกสารที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ ซึ่งเอกสารที่ว่านี้มีชื่อว่า
What should an Administrator expect a School Library Media Specialist to be

ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าผู้บริหารคาดหวังว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
ผมว่าบทความนี้นอกจากจะเหมาะกับครูบรรณารักษ์หรือบรรณารักษ์ในโรงเรียนแล้ว
ผมขอแนะนำให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทุกประเภทได้อ่านด้วยเพราะน่าจะนำมาประยุกต์ได้

บรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนควรทำอะไรได้บ้าง
– ผู้สอน ครู อาจารย์ในเรื่องของการวรรณกรรมหรือสารสนเทศด้านต่างๆ
– ผู้ประสานงาน หรือ ประสานความร่วมมือกับส่วนต่างๆ ในโรงเรียน
– ผู้ชี้แหล่งสารสนเทศ ช่วยตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าสารสนเทศเพิ่มเติม
– ผู้กระจายข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน พ่อแม่ และชุมชนได้รู้ถึงกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
– ผู้นำด้านแนวความคิดและจุดประกายไอเดียในการเรียนรู้
– ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนางาน พวกเราสามารถออกแบบและนำเสนองานเพื่อการพัฒนาโรงเรียนได้
– ผู้สร้างนวัตกรรม ห้องสมุดสามารถนำสิ่งใหม่ๆ กิจกรรมใหม่ๆ แนวความคิดใหม่ๆ มาทดลองใช้ได้
– ผู้ที่รักในการเรียนรู้ ความสามารถในการเรียนรู้มีได้อย่างไร้ขีดจำกัด
– ผู้รวบรวมและผนวกการนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะแนวความคิดเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์


แต่ทั้งหมดทั้งปวงบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนไม่สามารถทำงานด้วยตัวคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือและความช่วยเหลือของผู้บริหารและครูท่านอื่นๆ ในโรงเรียนด้วยจึงจะช่วยให้ห้องสมุดประสบความสำเร็จ

เอาเป็นว่าบรรณารักษ์ห้องสมุดในโรงเรียนที่กล่าวมาสามารถเป็นได้ยิ่งกว่าบรรณารักษ์ที่แค่นั่งให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนก็แล้วกันครับ ผมเองก็คาดหวังให้เพื่อนๆ ได้เปลี่ยนแปลงตนเองเช่นกันครับ

ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉบับได้ที่ http://hoorayforbooks.pbworks.com/f/lms+evaluation+ideas.pdf

ส่วนภาพ Infographic จาก http://yourteacherlibrarian.wikispaces.com/Are+You+Ready%3F

ตัวอย่างกิจกรรมห้องสมุดโรงเรียน : ครูดีเด่นกับการใช้ห้องสมุด

ขวัญและกำลังใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนเล็กๆ น้อย คงจะเป็นรางวัลผู้เข้าใช้บริการดีเด่น ซึ่ง หลายๆ โรงเรียนมักจะแจกรางวัลนี้ให้กับนักเรียนเป็นหลัก “นักเรียนที่ยืมหนังสือมากที่สุด” “นักเรียนที่เข้าห้องสมุดบ่อยที่สุด” วันนี้ผมขอนำเสนอผู้ใช้บริการอีกกลุ่มที่เราควรให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่ของโรงเรียน”

ตัวอย่างกิจกรรมวันนี้ผมบังเอิญเห็นใน Facebook ดังภาพ

กิจกรรมนี้มาจาก “ห้องสมุดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย”
ชื่อกิจกรรม “15 อันดับครูที่เข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนเป็นประจำ”

ดูไปแล้วเพื่อนๆ อาจจะรู้สึกว่ามันธรรมดา ห้องสมุดไหนๆ เขาก็แจกรางวัลประมาณนี้กัน
แต่ข้อสังเกตที่ผมขอตั้งไว้ให้คิด คือ การประกาศเกียรติคุณโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ครับ

ลองอ่านชื่อประกาศและรายละเอียดของประกาศดูนะครับ
ผมรู้สึกว่าแม้จะเป็นเพียงประกาศผ่านโลกออนไลน์แต่ในความรู้สึกของผู้ที่มีรายชื่อในนั้น
บอกตรงๆ ครับ ถ้ามีชื่อผมอยู่บนนั้น “ผมโคตรภูมิใจเลย” “มันวิเศษมากๆ เลย”

ยังไม่หมดครับสังเกตด้านขวามือนะครับ มีการ tag ไปให้ครูที่ได้รับรางวัลด้วย
ซึ่งนั้นหมายความว่าประกาศฉบับนี้ก็จะอยู่บนหน้า Facebook ของผู้ถูกประกาศอีก

นอกจากนั้นก็มีประกาศนียบัตรและพิธีรับมอบรางวัลจากผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย (ในที่นี้คือภารดา)

นอกจากรางวัลหรือประกาศนียบัตรที่มอบให้กับนักเรียนแล้ว
ที่นี่ยังให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการศึกษาด้วย “เยี่ยมจริงๆ ครับ”

เมื่อครูได้รับรางวัลนี้แล้ว ผมเชื่อว่าคุณครูเหล่านี้เองที่จะมีส่วนช่วยเหลือห้องสมุดในด้านต่างๆ หรือแม้กระทั่งอาจจะปลูกฝังนิสัยการรักการอ่านและการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณครูได้สอนต่อไป


เอาเป็นว่าตัวอย่างกิจกรรมดีๆ แบบนี้ผมจะหาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆ อ่านต่อไปครับ !!!

สรุปการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TKpark) ได้มีการจัดการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ให้ตัวแทนจากศูนย์ไอซีทีชุมชน และตัวแทนจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จำนวน 150 คน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมศิลปากร และอุทยานการเรียนรู้

หัวข้อในการอบรม
– แนะนำโครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย
– แนะนำสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง
– เรียนรู้การใช้ Audio book
– เรียนรู้การใช้เกมสร้างสรรค์
– ล้วงลึกทุกมิติการเรียนรู้
– มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์


ทีมวิทยากรที่บรรยายในวันนี้เป็นทีมงานจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้กันทั้งทีมเลย ซึ่งมาจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายห้องสมุดมีชีวิต ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายไอที และฝ่ายพัฒนาเครือข่าย

สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วย
– E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน
– E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม
– Audio Book 101 เล่ม
– เกมสร้างสรรค์ 6 เกมส์

การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมนอกจากจะได้ฟังการบรรยายแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์ (2 คนต่อ 1 เครื่อง) ที่บรรจุสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ไว้ให้ได้ลองเล่นไปพร้อมๆ กับการสอนการใช้งาน ซึ่งสื่อการเรียนรู้เกือบทุกสื่อเป็นที่เรียกความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรมมากๆ โดยเฉพาะเกมสร้างสรรค์อย่างเกมกุ๊กๆ กู๋ คนสู้ผี ผู้เข้าร่วมอบรมได้เล่นกันอย่างสนุกสนานมากๆ หรือแม้แต่ E-Book ที่มีสื่อประสมที่น่าสนใจมากมาย

ซึ่งเมื่อผู้เข้าอบรมได้อบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK กลับไปใช้ที่ต้นสังกัด

การอบรมก็ผ่านไปด้วยดีครับ ยังไงผมก็ขอขอบคุณทุกส่วนที่ทำให้งานนี้สำเร็จนะครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดงาน ผู้เข้าร่วมงาน ผู้สนับสนุนให้เกิดงาน …..

ประมวลภาพการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK

[nggallery id=56]

สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน

ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน

สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์”

เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น
– เว็บไซต์
– ฐานข้อมูล
– เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
– ไฟล์เสียง
-ไฟล์วีดีโอ

และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย

ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น  E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น

ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่

http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว

http://issuu.com = สร้างและค้นหา E-book แบบง่ายๆ ด้วย ISSUU นอกจากจะสร้าง E-book ได้แล้วเรายังสามารถหา E-book ที่น่าสนใจอ่านได้อีก ตัวอย่างที่ผมแนะนำคือ หนังสือแบบเรียนมานะมานีที่เราเคยเรียนกันในอดีตก็อยู่บนเว็บไซต์นี้เช่นกัน

http://paper.li/ = หนังสือพิมพ์ข่าวสารในแบบฉบับของเรา Paper.li หนังสือพิมพ์ที่รวบรวมข่าวสารที่เราสนใจ และแบ่งปันให้คนอื่นได้อ่าน….

http://youtubemp3.tv/ = แปลงวีดีโอบน Youtube ให้กลายเป็น MP3 คลิบวีดีโอไหนที่มีสาระน่ารู้และน่าสนใจ แล้วเราอยากเก็บไว้มาฟังคนเดียว ก็สามารถแปลงออกมาให้เป็นไฟล์ MP3 ได้

http://www.oxytube.com/ = เก็บวีดีโอบน Youtube มาไว้ในเครื่องของเราดีกว่า

http://www.uppsite.com/ = เปลี่ยนบล็อกของคุณให้กลายเป็น APP บนมือถือ

http://www.makebeliefscomix.com/Comix/ = สร้างการ์ตูนง่ายๆ ด้วย Makebeliefscomix (อันนี้ผมย้ำเยอะหน่อยเพราะว่าน่าสนใจมากๆ เหมาะแก่การนำไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หรือแม้กระทั่งจัดเป็นคอร์สอบรมแก่หน่วยงานอื่นๆ ได้ด้วย)

และก่อนจะจบการบรรยายผมก็ย้ำถึงความสำคัญของโลกออนไลน์อีกครั้งว่า โลกแห่งสื่อสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักที่จะเรียนรู้เราก็จะเจอหนทางและแนวทางที่จะนำมาใช้งานได้อีก

นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการบรรยายของผมครับ

อ่านอะไรดี : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

วันศุกร์ วันสบายๆ แบบนี้ผมขอแนะนำหนังสือสักเล่มดีกว่า (จริงๆ ต้องบอกว่าโปรโมทหนังสือของหน่วยงานตัวเองมากกว่านะ) หนังสือเล่มนี้แค่เห็นชื่อเรื่องก็ต้องบอกว่าสะดุดตาพอสมควรแล้ว นั่นคือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่”

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่
จัดพิมพ์โดย : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
ปีพิมพ์ : 2554
จำนวนหน้า : 192 หน้า
ISBN : 9786162024672

ชื่อหน่วยงานและโครงการหวังว่าเพื่อนๆ คงคุ้นเคยกันนะครับ เพราะเวลาผมไปบรรยายที่ไหนก็ตามผมก็จะกล่าวถึงหน่วยงานนี้ “ศูนย์ความรู้กินได้” ซึ่งเป็นการพัฒนาต้นแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง

จากการทำงานพัฒนาระบบห้องสมุดของผม 2 ปีกว่าๆ ทีมงานของเราพยายามถอดความรู้จากประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รู้จากการทำงานต่างๆ และได้รวบรวมเพื่อที่จะจัดพิมพ์ออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และนำไปลองใช้ดู

เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บทหลักๆ คือ
– บานประตูใหม่ เพื่อเข้าถึงความรู้ (เกริ่นความสำคัญของการมีห้องสมุด)
– ศูนย์ความรู้กินได้ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย (ภาพรวมของโครงการและรางวัลห้องสมุดระดับประเทศ)
– การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (พูดเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานของอาคารห้องสมุด)
– ปรุง “ความรู้” ให้ “กินได้” (พูดเรื่ององค์ความรู้และการเลือกองค์ความรู้ไปใส่ในห้องสมุด)
– สร้างเครือข่ายผู้ใช้ห้องสมุด เครือข่ายผู้สนับสนุน (การใช้สื่อสังคมออนไลน์และบทบาทของเครือข่ายห้องสมุด)
– การบริหารและพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด (พูดเรื่องการพัฒนาบรรณารักษ์ในรูปแบบต่างๆ)

นอกจากนี้ยังมีส่วนภาคผนวกที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างห้องสมุด” และ “ห้องสมุด 2.0” ด้วย

เอาเป็นว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องขอบอกเลยครับว่า เน้นข้อมูลที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดแบบถูกใจผู้ใช้บริการ หัวข้อการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และนวัตกรรมการบริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ

หนังสือเล่มนี้ต้องขอบอกตามตรงว่ามีจำนวนจำกัดมากๆ
ดังนั้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 นี้จะมีให้แค่บางหน่วยงานเท่านั้น
แต่รับรองว่ายังคงมีการพิมพ์เพิ่มอีกแน่นอน ซึ่งเมื่อไหร่นั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ส่วนใครที่อยากได้จริงๆ วันนี้ผมมีมาแจก 5 เล่ม แต่ต้องร่วมกิจกรรมอะไรสักอย่างนะครับ
นั่นก็คือ เขียนบทความจำนวน 1 หน้ากระดาษ A4 ในเรื่องใดก็ได้ต่อไปนี้ (เลือกแค่ 1 เรื่องนะครับ)
“ห้องสมุดในยุคใหม่ในสายตาของท่านจะมีลักษณะอย่างไร”
“แนวทางในการเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดให้ตรงใจผู้ใช้บริการ”
“บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องพัฒนาทักษะและมีความสามารถด้านใด”

เขียนเสร็จแล้วให้ส่งมาที่ dcy_4430323@hotmail.com หรือ maykin@okmd.or.th ส่งได้ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นะครับ ทางทีมงานจะคัดเลือกบทความที่น่าสนใจและนำมาลงในเว็บไซต์ www.kindaiproject.net และลงบทความของท่านในวันที่ 1-5 มิถุนายน 2555 บทความใดได้ลงจะได้รับหนังสือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” คนละ 1 เล่มครับ

กรุณาใส่ชื่อจริงนามสกุลจริง หน่วยงานของท่าน ที่อยู่และเบอร์ติดต่อเพื่อประสานงานการจัดส่งหนังสือมาด้วยนะครับ

กิจกรรมแจกหนังสือจะมีเป็นระยะนะครับ

สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วงเดือนที่ผ่านมามีบรรยายเยอะมากๆ เอาเป็นว่าจะเอามาสรุปให้อ่านทีละตอนแล้วกันนะครับ
วันนี้ขอคิวของการไปบรรยายที่จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนแล้วกัน ในหัวข้อ “สื่อสังคมออนไลน์กับการใช้งานในห้องสมุดประชาชน

การบรรยายเรื่องนี้ผมใช้เวลาครึ่งวันบ่ายครับ เพราะช่วงเช้าหัวหน้าผมบรรยายไปแล้ว
(เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ “เส้นทางสู่บรรณารักษ์และห้องสมุดยุคใหม่ ณ ห้องสมุดร้อยเอ็ด“)

เริ่มจากไปดูสไลด์ที่ผมใช้บรรยายก่อนดีกว่า
Social media in library at roiet

เอาหล่ะครับมาอ่านบทสรุปของผมต่อแล้วกัน

การบรรยายเริ่มจากการเกริ่นเส้นทางจากบรรณารักษ์ในแบบเดิมๆ ไปสู่การเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
และเกริ่นถึงหัวข้อที่จะบรรยายในวันนี้ คือ
– ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรรู้….
– ทำความรู้จักสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
– กรณีศึกษาการใช้บล็อกสำหรับห้องสมุด
– กรณีศึกษาการใช้ Facebook สำหรับงานห้องสมุด
– แนวโน้มการก้าวสู่การเป็นห้องสมุดยุคใหม่ในโลก

บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีความรู้ด้านวิชาชีพ (บรรณารักษศาสตร์) และมีความรู้ด้านไอที ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสังคมออนไลน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์

การทำงานในห้องสมุดให้ราบรื่น จำเป็นที่จะต้องเห็นภาพรวม
และเครื่องมือที่จะช่วยให้เราเห็นภาพคือ Library Work Flow ตัวอย่างดังภาพ

ทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้เรื่องไอที – ไอทีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของเรามากมาย เช่น งานบริหารห้องสมุด, งานจัดซื้อจัดหา, งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ, งานบริการต่างๆ, ระบบห้องสมุด

ไอทีสำหรับบรรณารักษ์ ผมย้ำแค่ 3 ประเด็น คือ ต้องรู้จัก เข้าใจ และเอาไปใช้ให้ถูก

ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด
8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0

ประเด็นไอทีในข้อ 1-7 ยังเป็นเรื่องที่ทุกคนได้ใช้กันอยู่แล้วเพียงแต่ต้องฝึกฝนกันมากๆ แต่ในข้อที่ 8 อยากให้เรียนรู้กันมากๆ นั่นคือ เรื่องเว็บ 2.0 นั่นเอง

เว็บ 2.0 มีลักษณะดังนี้ (สรุปประเด็นตามสไลด์)
– ยุคใหม่ของการพัฒนาเว็บไซต์
– รูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับ “ผู้ใช้เว็บ” มากกว่า “ผู้พัฒนา” หรือ “เจ้าของเว็บไซต์”
– แนวคิดการพัฒนาเว็บที่ให้ความสำคัญกับการปฏิสัมพันธ์ การทำงานร่วมกัน การผสานความร่วมมือทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ ซอฟต์แวร์ และเนื้อหาเว็บ
– การปรับเว็บไซต์จากการให้ข้อมูลเพียงทางเดียว เป็นการให้บริการและข้อมูลที่ “ผู้ใช้” เข้าถึงได้ง่ายและร่วมสร้าง แก้ไข


จาก “เว็บ 2.0” สู่ “ห้องสมุด 2.0” ซึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการ รับฟังผู้ใช้บริการ …..

ในอดีตช่องทางที่จะทำให้คนทั่วไปรู้จักห้องสมุดบนโลกออนไลน์ มีเพียงวิธีเดียว คือ “เว็บไซต์ห้องสมุด” แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือออนไลน์มากมายให้เลือกใช้ ที่สำคัญ คือ “ฟรี”

สังคมที่เต็มไปด้วยการแบ่งปันความรู้ – เครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งปันความรู้

ใครชอบแชร์เรื่องที่เขียนก็เน้น Blog
ใครชอบแชร์รูปภาพก็ใช้บริการ Flickr
ใครชอบแชร์วีดีโอก็ใช้บริการ Youtube
ใครชอบแชร์เอกสารก็ใช้บริการ Scribd
ใครชอบแชร์ไฟล์นำเสนอก็ใช้บริการ Slideshare

กรณีศึกษาสื่อสังคมออนไลน์แบบต่างๆ เช่น Blog Facebook twitter

ทิศทางสำหรับห้องสมุดในอนาคต (Trend : Library in the Future)
1. Mobile applications.
2. E-book readers.
3. Niche social networking.
4. Google Applications.
5. Google Books.
6. Library socialized.
7. Open source software.
8. Podcasting and ItunesU.
9. Social networking classes for patrons.
10. Library Marketing.


นี่ก็เป็นการสรุปการบรรยายให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ เอาเป็นว่าขอจบแต่เพียงเท่านี้หล่ะกันครับ

ผมขอฝากเอกสารชิ้นนึงให้อ่าน เป็นบทความที่ผมเขียนลงวารสารโดมทัศน์ของธรรมศาสตร์
อยากให้อ่านเพราะว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
อ่านได้ที่ “คิดเล่นๆ และทำจริงๆ จึงได้เครือข่ายบรรณารักษ์ออนไลน์