สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

วันนี้ผมมีข่าวมาประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาครับ
สัมมนานี้เป็น “งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561
ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ (ชพ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

Read more

บทบาทของห้องสมุดในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนา ICT LITERACY

บทบาทของห้องสมุดในการสร้างความเข้มแข็งด้านการพัฒนา ICT LITERACY

มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์อีกแล้วครับ งานนี้ผมได้เป็นหนึ่งในวิทยากรซะด้วย หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือ การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT Literacy) ผมแนะนำว่าไม่ควรพลาด

12764420_854130978030115_6052686564712283314_o Read more

TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

TK Forum 2016 : นวัตกรรมห้องสมุดกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วันนี้ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจแทนการเขียนบล็อกแล้วกัน
งานนี้เป็นการประชุมวิชาการที่จัดโดย TK park หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า “TK Forum

tk forum 2016

งาน TK Forum เป็นอีกงานที่ผมติดตามมาตลอดเนื่องจากเป็นการจัดการประชุมวิชาการที่น่าสนใจมากเป็นอันดับต้นๆ ที่ว่าด้วยเรื่องห้องสมุด บรรณารักษ์ แหล่งเรียนรู้ การอ่าน …… ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการเชิญ Speaker มาจากต่างประเทศ (โอกาสน้อยมากนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรระดับโลก) Read more

งานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology

ต้องยอมรับจริงๆ ครับ ว่ากระแสทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ไม่ว่าจะเป็น Tablet หรือ Smartphone กำลังมาแรงจริงๆ เกือบทุกวงการก็พยายามปรับตัวให้เข้าสู่โลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน รวมไปถึงวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของเราด้วย

TLA-PosterOnweb

ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานประชุมสามัญและประชุมวิชาการ ประจำปี 2556 เรื่อง Library and Mobile Technology

ลองอ่านรายละเอียดกันต่อได้เลยครับ

รายละเอียดการประชุมวิชาการนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : Library and Mobile Technology
วันที่จัดงาน : 8 พฤศจิกายน 2556
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า อัตราการเติบโตของอุปกรณ์แบบพกพาในประเทศไทยและทั่วโลกสูงขึ้นมาก ผู้ใช้บริการของเราสามารถเข้าถึงบริการห้องสมุดหรืออ่านหนังสือได้จากอุปกรณ์ดังกล่าว Mobile Technology มีประโยชน์ต่อวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย

หัวข้อที่เพื่อนๆ จะได้ฟังมีดังนี้
– Happy Library & Happy Mobile
– The 21 Century Library Website
– Library and Mobile Technology : Step by step
– Smart Phone Smart Library

แค่เห็นหัวข้อก็รู้สึกได้ว่า น่าสนุกจริงๆ เรื่องต่างๆ เหล่านี้น่าสนใจมากๆ

สำหรับการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
สมาชิกสมาคมห้องสมุด 600 บาท และบุคคลทั่วไป 800 บาท

รายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านต่อได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/downloader2/c81787f3c490e1cb86029fd87e0c4d36/

การอบรม สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย

วันนี้มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอบรมที่น่าสนใจมาบอกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน การอบรมนี้มีชื่อว่า “สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย” วิทยากรมาจากประเทศญี่ปุ่นเลยด้วยครับ การอบรมนี้ จัดโดย กลุ่มเมล็ดฝัน

storyteller

รายละเอียดการอบรมเบื้องต้น
ชื่อการอบรม : สนุกกับหนังสือภาพ และทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย
วิทยากร : MS. Keiko Kato
สถานที่จัดงาน : อาคารมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ ซ.ทองหล่อ 25
วันที่จัด : วันที่ 3 สิงหาคม 2556 เวลา 10.00-16.00 น.
จัดโดย : ศูนย์แลกเปลี่ยนและอบรมเพื่อเด็ก “เมล็ดฝัน”

กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับหนังสือภาพ และการทำสื่อประกอบนิทานอย่างง่าย โดยเฉพาะบรรณารักษ์ หรือคุณครูที่ทำงานในห้องสมุดโรงเรียน ผมว่าเป็ฯโอกาสที่ดีนะครับที่จะได้ฟังวิทยากรที่มาจากเมืองนอกในการบรรยายเรื่องนี้ แถมวิทยากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือภาพจากประเทศญี่ปุ่นด้วย

เอางี้ดีกว่ามารู้จักวิทยากรกันก่อนนะครับ
MS. Keiko Kato – วิทยากรอิสระ ที่เป็นที่นิยมในการจัดอบรม ได้รับเชิญจากสำนักพิมพ์หนังสือภาพ อนุบาล ศูนย์เด็ก ห้องสมุดในภาคคันไซ จัดอบรมหรือเสวนาให้กับหน่วยงานต่างๆ กว่า 100 ครั้ง / ปี

โห แค่ประวัติแบบย่อๆ ก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

งานนี้มีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ แค่ 650 บาท เท่านั้น (อาหารว่าง อาหารกลางวัน และอุปกรณ์ผลิตสื่อ)
แถมด้วยประกาศนียบัตรสำหรับผู้เข้ารับอบรมด้วย นอกจากนี้ยังมีล่ามแปลตลอดงานครับ

หากสนใจก็สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 นะครับ (รับไม่เกิน 50 คน)
สอบถามได้ที่ 087-8287686 นะครับ หรือที่ https://www.facebook.com/MaletFan นะครับ

งานสัปดาห์ห้องสมุด 2556 : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่น่าสนใจประจำปี 2556 ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ งานนี้จัดทุกปีเช่นกัน เป็นงานการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556 ซึ่งปีนี้มีธีมหลัก คือ “มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

library_conference

รายละเอียดกิจกรรมนี้เบื้องต้น
ชื่องาน : การประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 37 พุทธศักราช 2556
ธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
วันที่จัดงาน : 2 สิงหาคม 2556
สถานที่จัดงาน : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดงาน : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่มาของธีมงาน / หัวข้องาน : มรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย
เป็นงานที่จัดเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงเห็นความสำคัญและส่งเสริมวรรณคดีไทย เมื่อปี 2552 พระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานรายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่านมายังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสืออย่างแพร่หลาย

รายชื่อหนังสือดีเด่น 6 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน
1. พระอภัยมณี
2. รามเกียรติ์
3. นิทานชาดก
4. อิเหนา
5. พระราชพิธีสิบสองเดือน
6. กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
– จากวรรณคดีถึงวรรณกรรมไทยร่วมสมัย: มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย
– อ่านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างไรให้สนุกและได้ประโยชน์
– กวีรางวัลสุนทรภู่จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
– การยอสักวา เรื่อง สักวาคุณค่าวรรณคดีไทย
– แนวทางการจัดกิจกรรมและนิทรรศการเกี่ยวกับมรดกล้ำค่าวรรณคดีไทย

เอาเป็นว่าเป็นหัวข้อที่น่าติดตามมากๆ ครับ เรื่องอาจจะดูธรรมดาแต่ผมว่าผู้ที่บรรยายแต่ละคนก็ล้วนแล้วแต่มีความสามารถมากๆ และเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังนี้
หากสมัครและชำระภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,000 บาท ผู้สนใจ 1,100 บาท
หากสมัครและชำระหลังวันที่ 24 กรกฎาคม 2556 — สมาชิกสมาคมห้องสมุดฯ คนละ 1,100 บาท ผู้สนใจ 1,200 บาท
ซึ่งค่าลงทะเบียนรวมเอกสารประกอบการประชุม แฟ้มเอกสาร อาหารว่าง และอาหารกลางวัน

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ “โครงการสัปดาห์ห้องสมุด ปี 2556

หากสนใจกิจกรรมนี้กรุณาดาวน์โหดแบบตอบรับและลงทะเบียนตามแบบฟอร์มด้านล่างนี้เลย
แบบตอบรับ ประชุมสัปดาห์ห้องสมุด

การประชุมวิชาการ บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

มีงานประชุมวิชาการดีๆ มาแนะนำเพื่อนๆ ครับ ซึ่งเป็นงานไม่ใกล้ไม่ไกลตัวผมอีกแล้ว เพราะผมต้องบรรยายในงานนี้ด้วยเช่นกัน งานประชุมวิชาการนี้ใช้ชื่อว่า “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ สำหรับครูบรรณารักษ์ หรือ บรรณารักษ์ในโรงเรียน

future_learning

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องาน : บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สถานที่จัดงาน : ห้อง Auditorium2 ชั้น 3 บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด
วันที่จัด : วันที่ 31 มกราคม 2555
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ช่วงนี้ผมเขียนเรื่องการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ค่อนข้างเยอะพอสมควร แถมด้วยเคยรับปากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมานานแล้วว่าจะไปบรรยายให้ ดังนั้นพอหัวข้อออกมาแบบนี้ เลยค่อนข้างรู้สึกโล่งใจ และอยากถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ฟังมาก

นอกจากผมจะบรรยายแล้ว วิทยากรอีกคนต้องบอกว่าเป็นสุดยอดอาจารย์อีกคนที่ผมเคารพเลย คือ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน นั่นเอง อาจารย์จะมาพูดในเรื่องบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ มาฟังเช่นเดียวกัน

กำหนดการแบบคร่าวๆ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ “ทักษะแห่งอนาคต : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” บรรยายโดยผมเอง
หลังเที่ยงจะมีหัวข้อ “Best Practice กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน” โดย บริษัทนานมีบุ๊คส์
และต่อจากนั้นจะเป็นหัวข้อ “บรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21” โดย อาจารย์น้ำทิพย์ นั่นเอง

การเข้าร่วมงานครั้งนี้มีค่าเข้าร่วมงานแค่ 300 บาทเท่านั้นเองครับ ซึ่งสอบถามรายละเอียดได้ที่ 085 9556789

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองอ่านรายละเอียดโครงการดูก่อนที่นี่เลยครับ
–project proposal–

ใครที่มาร่วมงานก็มาทักผมได้ครับ อิอิ จะรอครับ

งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556
จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง
คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android)
– การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด
– การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน
– What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– Powering Quality Research
– PLoT – Public Library of Thailand ระบบฐานข้อมูล และคลังสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม
– ห้องสมุดในฝัน
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– Britannica Online – The Complete Digital Resource
– มิติใหม่ของการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์
– Creating a Different Future for Library Services, World Share Management Services
– The Lines of Crowdsourcing as a Way Forward for Libraries
– ความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพห้องสมุด
– วิวัฒนาการของสื่อกระดาษสู่ดิจิทัล
– สื่อทรัพยากรสารสนเทศกับระบบ Cloud Computing
– การใช้นวัตกรรมใหม่เพื่อการสืบค้นข้อมูลสำหรับห้องสมุดอนาคต (EBSCO Discovery Service)
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– Partnership with Taylor & Francis
– แนวโน้มในอนาคตของความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

เห็นหัวข้อแล้วก็ต้องอึ้ง เพราะอัดแน่นด้วยเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังมีวิทยากรจากต่างประเทศมาร่วมบรรยายเยอะพอสมควร

การสัมมนาครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน 2500 บาทนะครับ
และปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ – ชำระเงินค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 8 มกราคม 2556 เท่านั้น

เอาเป็นว่าน่าสนใจขนาดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆ มาร่วมงานกันเยอะๆ นะครับ
ส่วนใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็อ่านกันต่อได้ที่
http://coconference.library.tu.ac.th/

การดำเนินธุรกิจห้องสมุดได้อย่างต่อเนื่องหลังเกิดปัญหาวิกฤต

หากย้อนเวลากลับไปเมื่อปีที่แล้ว มหาอุทกภัยปี 54 ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานต่างๆ มากมาย ห้องสมุดหลายแห่งต้องสูญเสียทรัพยากรสารสนเทศ บางแห่งอาจไม่ได้สูญเสียทรัพย์สินแต่ก็ไม่สามารถให้บริการผู้ใช้บริการได้ ดังนั้นบทเรียนนี้จึงนำไปสู่การหาแนวทางป้องกันและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยถ้าเรามีแผนที่ดี ห้องสมุดก็จะสามารถพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ การประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดครั้งนี้จึงเกิดขึ้น

ข้อมูลการประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดครั้งนี้
ชื่องาน : การสร้างแผนดำเนินธุรกิจห้องสมุดได้อย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต  (Business Continuity Plan /BCP)
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
วันที่จัด : วันที่  13 – 14  ธันวาคม 2555

การประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดครั้งนี้เป็นการจัดโดยความร่วมมือของหน่วยงาน 5 หน่วยงาน คือ
– สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
– สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
– ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
– สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม


แนวคิดการบริหารจัดการเพื่อให้ห้องสมุดสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในภาวะวิกฤต หรือ Business Continuity Management (BCM) เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับหน่วยงาน ยามที่เกิดวิกฤติหรือปัญหาหากเรามีแผนในการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้หน่วยงานสามารถขับเคลื่อนได้ต่อไป ห้องสมุดเองก็ควรมีแผนนี้ไว้ใช้เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดครั้งนี้
– เทคโนโลยีกับการบริหารจัดการภัยพิบัติ
– เจาะลึกแผนบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่องขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ : กรณีศึกษาของ CPALL
– มุมมองแผน BCP 5 สถาบัน
– การประเมินความเสี่ยงและแผนการจัดการธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Risk Assessment & Business Continuity Planning)

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับหัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดครั้งนี้
น่าสนใจมากๆ เลยนะครับ แถมวิทยากรแต่ละท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น

การประชุมเชิงปฏิบัติการห้องสมุดไม่เสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนด้วยนะครับ แต่มีเงื่อนไขนิดนึง คือ
– สงวนสิทธิผู้เข้าร่วมประชุมฯ สถาบันละ 2 ท่าน
– รับสมัครจำนวนจำกัด 150 ท่าน
– ปิดรับสมัครการลงทะเบียนออนไลน์ ภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2555

ใครที่ได้ไปงานนี้อย่าลืมเอาเรื่องมาเล่าให้ผมฟังด้วยน้า
หรือถ้าเป็นไปได้เจ้าภาพที่จัดงานเก็บเอกสารงานสัมมนาในครั้งนี้มาฝากผมด้วยน้า

ติดตามเว็บไซต์ข้อมูลอย่างเป็นทางการได้ที่ http://203.131.219.245/bcp/

บทบาท PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กระแสอาเซียนมาแรงฉุดไม่อยู่จริงๆ วงการห้องสมุดมหาวิทยาลัยจึงต้องขอนำเรื่องนี้มาเป็นหัวข้อใหญ่อีกสักครั้ง โดยการสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3 ที่จะจัดในระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม 2556 นี้ มีธีมใหญ่ คือ “บทบาทของ PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องาน : สัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3
ธีมงาน : บทบาทของ PULINET ในการเตรียมการห้องสมุดมหาวิทยาลัยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
สถานที่จัดงาน :
ณ ห้องบงกชรัตน์ โรงแรมทวินโลตัส อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
วันที่จัด : วันที่ 23-25 มกราคม 2556
จัดโดย : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET)

ปี 2558 ประชาคมอาเซียนจะร่วมกันเป็นหนึ่ง ซึ่งถ้านับเวลาจริงๆ ตอนนี้ก็เหลือเวลาแค่ 2 ปีเท่านั้นเอง บางคนอาจจะมองว่าเหลือเวลาอีกเยอะ แต่จริงๆ แล้วผมว่าไม่มากหรอกครับ ดังนั้นเราต้องเริ่มเตรียมตัวกันแล้ว

ยิ่งห้องสมุดในมหาวิทยาลัยผมว่าโอกาสในการเตรียมตัวต้องมีสูงกว่าห้องสมุดในระดับอื่นๆ เลยด้วยซ้ำ เนื่องจากเราต้องเตรียมการผลิตบัณฑิตที่จะจบออกมาด้วยความพร้อมในเรื่องของอาเซียนด้วย ดังนั้นพี่น้องชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษาจึงควรเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้

หัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนาครั้งนี้
– ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคกับการรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางด้านอาเซียนศึกษา
– The Idea and Management of Collection of ASEAN Countries by Each University Library

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานทางวาจาและงานโปสเตอร์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมของงานสัมมนาวิชาการ PULINET ในวันที่สองด้วย และแน่นอนครับมีการศึกษาดูงานในวันสุดท้ายเช่นเคย

การสัมมนาในครั้งนี้มีค่าลงทะเบียนด้วย โดย
สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในข่ายของ PULINET จะเสียค่าลงทะเบียนคนละ 1,000 บาท
ส่วนองค์กรที่อยู่นอกข่ายของ  PULINET จะเสียค่าลงทะเบียนคนละ 1,500 บาท

ส่วนค่าเดินทางและที่พักก็เบิกจากต้นสังกัดกันเองนะครับ

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ก็ขอแนะนำไว้แล้วกันนะครับ
สำหรับใครที่ได้ไปก็อย่าลืมเอามาเล่าสู่กันฟังในคราวหลังจากกลับมาก็ได้ครับ

ติดตามข้อมูลทั้งหมดได้จากเว็บไซต์ http://clm.wu.ac.th/pulinet3/index.php