การเรียนรู้คือโอกาส (Learning is Opportunities)

อุทยานการเรียนรู้ TK park จัดคลาสพิเศษ เรียนลัด ติวเข้มกับ 13 วิชาสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้คุณเตรียมพร้อมก้าวสู่ 13 เส้นทาง กับมืออาชีพที่ยกทัพมาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความฝัน และจินตนาการ ให้คุณได้รู้ ได้เห็นกันแบบหมดเปลือก ตลอดเดือนกันยายน – ตุลาคม 2555

1. สร้างสรรค์รายการให้โดนใจวัยทีน
เปิดโลกความคิดสู่การสร้างสรรค์สื่อโทรทัศน์  ได้คิด ได้เรียน ได้รู้ และลงมือสร้างสรรค์ รายการโทรทัศน์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง โดยวิทยากรมืออาชีพ อาทิ ทีมผลิตรายการ พลเมืองตัวเล็ก TPBS คุณไวยกรณ์ แก้วศรี  Creative Drama and Show Biz บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม และ วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 16.00 น.
ร่วมกับ : People Media

2. วิชาสร้างสรรค์การเรียนรู้

ร่วมกระตุกต่อมคิด แชร์แนวคิด ถอด How To กับแคมเปญและกิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Campaign and Event Creation) กับคุณกิตติพงษ์ (โอลิเวอร์) วีระเตชะ Vice President และผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์สื่อสารแบรนด์ Y&R Thailand
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2555 เวลา 10.30 – 12.30 น.
ร่วมกับ : ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ


3. Digital Publishing สร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลแบบ Interactive

การสร้างสรรค์ Digital Publishing สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิตอลแบบ Interactive โดยใช้ Platform iOS กับวิทยากรจาก computer arts Thailand
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1, 8, 15 กันยายน 2555 เวลา 10.30 – 18.00  น.
ร่วมกับ : สมาคมธุรกิจบางกอกเอซีเอ็มซิกกราฟ Bangkok ACM Siggraph

4. ละครกับคนรุ่นใหม่
เรียนรู้เทคนิคการนำละครมาสะท้อนประเด็นร่วมสมัยสำหรับคนรุ่นใหม่
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 1 – วันอาทิตย์ที่ 2 และ วันอังคารที่  11 – วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2555
ร่วมกับ : มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มละครมะขามป้อม)

5. สร้างร้านออนไลน์ขายให้รุ่งด้วย Facebook
เปลี่ยน Facebook ที่เคยคิดว่ามีไว้แค่เล่นสนุกไปวันๆ ให้กลายเป็นหน้าร้านขายสินค้าระดับ Frist Class พร้อมเคล็ดลับการเปลี่ยน Friend ให้กลายเป็นแฟน (แฟนเพจ) เพื่อสร้างธุรกิจ
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : นิตยสารคอมพิวเตอร์.ทูเดย์

6. คลิกแล้ววางสร้างสรรค์แอพฯ ได้ใน 10 นาที
หลักสูตรที่จะทำให้ทุกคนที่อยากมีแอพบนมือถือเป็นของตัวเอง สามารถสร้างแอพฯ เองได้ ในเวลาไม่กี่นาที แม้จะไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมก็ตาม
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : ARIP

7. วิชาเพื่อนช่วยเพื่อน
ชวนคนรุ่นใหม่มาจุดประกายแนวคิด สร้างแรงบันดาลใจ และค้นหาโอกาส ต่อยอดความหมายแบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ให้ตัวเองอยู่ได้ พร้อมสร้างผลกำไรให้สังคม
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 13.00 – 16.00 น.
ร่วมกับ : สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) กลุ่มปลาจะเพียร และ Children Mind


8. เป็นคนทำหนังแบบศิลปินผู้ประกอบการ Artist Entrepreneur

กลเม็ดเคล็ดลับสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงาน จะทำอย่างไรเมื่อศิลปินสร้างระบบ ด้วยตัวเอง ตั้งแต่การหาทุน การตลาด การจัดฉาย ช่องทางในการจำหน่ายผลงาน
วันเวลา : วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน 2555 เวลา 10.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ : นิตยสาร Bioscope

9. คนทำหนังสืออิสระ…อาชีพของคนมีฝัน
ตามล่าหา “คนทำหนังสืออิสระ” พบกับมืออาชีพในแวดวงคนทำหนังสือ ที่จะมาถ่ายทอดวิทยายุทธ์สู่สังเวียนแห่งความฝัน
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2555 เวลา 13.00 – 17.00 น.
ร่วมกับ :  นิตยสาร Happening

10. สโมสอน สมอลล์รูม ตอน “60 minutes ปิดเพลงโฆษณา”
ทำเพลงโฆษณาให้ตอบโจทย์ได้ภายใน 60 นาที กับศิลปินสมอลล์รูม เจ เจตมนต์ มละโยธา (ผู้บริหารค่ายเพลงสมอลล์รูมและศิลปินวง Penguin Villa) กอล์ฟ ประภพ ชมถาวร (ศิลปินวง Superbaker) นะ รัตน จันทร์ประสิทธิ์ (ศิลปินวง Polycat)
วันเวลา : วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เวลา 15.00 – 18.00 น.
ร่วมกับ : Smallroom


11. Tablet เพื่อการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด (Unlimited Knowledge in Tablet)

เรียนรู้การใช้ tablet และ Application ที่น่าสนใจให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วันเวลา : วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

12. นวัตกรรมสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของคนพิการ (Innovations for Disabilities)
แนะนำนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ๆ สำหรับคนพิการ
วันเวลา : วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)

13. บูรณาการความรู้สู่อาเซียน
แลกเปลี่ยนและรวบรวมความรู้ในมิติต่างๆ ของเยาวชนในกลุ่มอาเซียน
วันเวลา : วันจันทร์ที่ 15 – วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2555
ร่วมกับ : ASEAN University Network โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

กิจกรรมทั้งหมดนี้ขอเพียงคุณมีอายุเกิน 15 ปี และเป็นสมาชิกของ TKpark เข้าร่วมได้ฟรี

สอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่ (ด่วนเลยครับ รับจำนวนจำกัด)
อุทยานการเรียนรู้ TK park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
ชั้น 8 Dazzle Zone โทร. 02 257 4300 www.tkpark.or.th

อุทยานการเรียนรู้ TK park จัดคลาสพิเศษ เรียนลัด ติวเข้มกับ 13 วิชาสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้คุณเตรียมพร้อมก้าวสู่ 13 เส้นทาง กับมืออาชีพที่ยกทัพมาถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความฝัน และจินตนาการ ให้คุณได้รู้ ได้เห็นกันแบบหมดเปลือก ตลอดเดือนกันยายน – ตุลาคม 2555

เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด

ปลายเดือนนี้ (วันที่ 24 สิงหาคม 2555) ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานประชุมวิชาการฯ เรื่อง “เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด” เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดอ่านต่อด้านล่างเลยครับ

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา

หัวข้อเรื่องของเทคโนโลยี cloud computing กำลังมาแรงไม่เพียงแต่วงการไอที หรือ วงการธุรกิจ แต่มันยังเริ่มเข้ามาสู่วงการศึกษา และวงการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ตัวอย่างการใช้งาน Cloud computing เช่น การแชร์ไฟล์ข้อมูลผ่านโลกอินเทอร์เน็ตด้วย dropbox …. (เอาไว้จะเขียนให้อ่านบ้างนะครับ)

ในงานประชุมวิชาการครั้งนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจ
เช่น
– Cloud Computing for Education
– การหลอกลวงในโลก Internet ในปัจจุบัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด
– เสวนาเรื่อง เทคโนโลยี Cloud Computing เพื่อการดำเนินงานห้องสมุด: แนวคิดและประสบการณ์
– เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคดิจิตัล ( Staying Relevant in Digital Era)
– การให้บริการสารสนเทศกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน : อยู่รอด รู้ทันรอบรู้

เอาเป็นว่าหัวข้อแต่ละหัวข้อดูน่าสนใจดีทีเดียว
และถ้าหากเพื่อนๆ สนใจเข้าร่วมงานนี้ต้องบอกอีกนิดว่า “มีค่าใช้จ่าย” นะครับ

หากสนใจดาวน์โหลดใบสมัครและหนังสือเชิญเข้าร่วมงานได้ที่

จดหมายเชิญเข้าร่วมงานและใบสมัครเข้าร่วมงาน

สัมมนาวิชาการ ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ

วันนี้ขอมาประชาสัมพันธ์งานสัมมนาอีกงานที่น่าสนใจ คือ “ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ” งานนี้ผมได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการด้วย ในหัวข้อ “บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน” เอาเป็นว่าอ่านรายละเอียดด้านล่างได้เลยครับ

รายละเอียดงานสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : ความรู้ทางเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน สำหรับผู้ปฏิบัติงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมป๋วย อึ๊งภากรณ์ อาคาร 1 ชั้น 4 ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่  10 สิงหาคม พ.ศ. 2555    เวลา  8.30 – 16.30 น.
จัดโดย : ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)

อย่างที่เกริ่นไปเบื้องต้นว่างานนี้ถูกเชิญให้เป็นวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ บอกตรงๆ ว่าเป็นครั้งแรกที่ผมจะได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องบทบาทของห้องสมุดในสังคมและผลกระทบของการมีห้องสมุดต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ (หัวข้อนี้แอบบอกว่าดูน่าสนใจและน่าสนุกมากๆ ครับ)

หัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ เช่น
– พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาคน อย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์แผนฯ 11
– บทบาทนโยบายการเงินในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ
– การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของห้องสมุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาคน

วิทยากรแต่ละท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นเลย (ทำเอาผมประหม่าเล็กน้อย)
ผมเชื่อว่างานนี้เพื่อนๆ จะได้เข้าใจถึงบทบาทของห้องสมุดที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเลยทีเดียว

ห้องสมุดไม่ใช่แค่ที่นั่งอ่านหนังสือ หรือ แค่ที่เก็บหนังสือ เท่านั้น
แต่ห้องสมุดสามารถสร้างสังคม พัฒนาระบบเศรษฐกิจ และช่วยพัฒนาคน
อยากให้เพื่อนๆ ได้มาฟังกันเยอะๆ นะครับ

งานนี้ถ้าใครสนใจก็สามารถลงทะเบียนได้ฟรีนะครับ

ติดต่อสอบถามและสำรองที่นั่งได้ที่
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเศรษฐศาสตร์ (ศปศ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 0 2280 4035, 0 2283 5698, 0 2283 5795
FAX แบบลงทะเบียนได้ที่ โทรสาร 0 2283 5656 หรือทาง mail : supattrn@bot.or.th

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

– หนังสือเชิญเข้าร่วมงาน
– แบบตอบรับเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ

ขอความกรุณาตอบกลับมาภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 นะครับ

บรรณารักษ์ควรไป…เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

ในช่วงเดือนมิถุนายน กรกฎาคม ของทุกปี งานหนังสือที่หลายๆ คนรอคอยอีกงานก็คงหนีไม่พ้นงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ซึ่งในครั้งนี้มีชื่อใหม่ คือ “เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : เทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน 2555
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Family Books Festival 2012
วันและเวลาที่จัดงาน : 11-15 กรกฎาคม 2555 เวลา 10.00-20.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

พรุ่งนี้แล้วนะครับ !!! นั่นแหละครับ พรุ่งนี้แล้วงานนี้ผมอยากให้ทุกๆ คนได้ไปเหมือนเช่นงานหนังสือที่จัดในเดือนมีนาคมหรือเดือนตุลาคม เพราะงานนี้เป็นงานที่มีอะไรมากกว่าแค่การจำหน่ายหนังสือนะครับ

บรรณารักษ์ท่านใดที่ยังไม่รู้ว่าจะไปทำอะไร ผมขอแนะนำกิจกรรมที่น่าสนใจเล็กๆ น้อยๆ แล้วกัน
– How Poco Publications Make music
– แถลงงานวิจัย โครงการนิทานเพื่อรัก
– อบรมบรรณารักษ์ “เทคนิคการจัดกิจกรรมการอ่านของบรรณารักษ์”
– เปิดโลกความรู้กับ อมรินทร์ คอมมิกส์ สมาร์ทแก๊ง
– Meeting Jamsai Love series ครั้งที่ 8
– DEXPRESS MEETING ครั้งที่ 3
– อบรมครู “นิทานเพื่อนรักกับการเรียนรู้ ของครูสู่ เด็กปฐมวัย”
– การอ่านและเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

ครั้งนี้งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน มีการเปลี่ยนชื่อด้วยนะครับ เป็นงานเทศกาลหนังสือครอบครัวนักอ่าน เพราะงานนี้ธีมงานใหญ่ คือ เรื่องของการอ่านทั้งครอบครัว โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะอ่านนิทานให้ลูกฟัง จริงๆ แล้วรู้มั้ยครับว่ามีเทคนิคหรือวิธีการเล่าอย่างไรให้ลูกเกิดการเรียนรู้ เอาเป็นว่ามางานนี้ได้ความรู้นี้กลับไปแน่นอน

ส่วนบรรณารักษ์ก็เข้าไปร่วมกิจกรรมต่างๆ และเอาเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในห้องสมุด หรือจะจัดกิจกรรมเล่านิทานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กก็เข้าท่าเหมือนกัน

เอาเป็นว่าใครสนใจก็อย่าลืมไปร่วมงานนี้กันได้ครับ

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้

นานๆ ทีผมจะเข้ามาที่เว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พอเข้ามาวันนี้ก็รู้สึกชื่นใจนิดนึง ตรงที่มาเว็บไซต์มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ้างนิดหน่อยแล้ว นัดว่าอัพเดทเรื่อยๆ ก็จะดีนะครับ

เอาหล่ะเข้าเรื่องดีกว่า…วันนี้เข้าไปเจอคอร์สการอบรมที่น่าสนใจ ผมจึงขอนำเอามาบอกเล่าสักหน่อย เป็นคอร์สการอบรม “การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้”


รายละเอียดของการอบรมเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และการเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ รุ่นที่ 2
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

การอบรมเรื่องแผนจัดการเรียนรู้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะกับครูบรรณารักษ์ที่นอกเหนือจากงานห้องสมุดแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ด้านการสอนต่างๆ ด้วย ดังนั้นการอบรมนี้จะช่วยพัฒนาทักษะและแง่คิดในเรื่องการจัดการเรียนรู้ด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในการอบรม
– การวิเคราะห์หลักสูตร
– การเขียนแผนหน่วยการเรียนรู้
– การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
– การเขียนเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้

การอบรมครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
สำหรับคนที่เป็นสมาชิกสมาคมฯ 2,500 บาท
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก/บุคคลทั่วไป 2,700 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็ติดต่อได้ที่
รักษาการผู้จัดการสำนักงานสมาคมฯ นางวีระวรรณ วรรณโท มือถือ 081-5641308
หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฯ นางสาวปรีดา อิ่มใจดี มือถือ 086-0153516

หรือดาวน์โหลดแผ่นพับเอกสารและใบสมัครได้ที่
http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2012/07/TLA-form.doc

Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ

ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จะจัดงานประชุมวิชาการ ประจำปี ซึ่งในปีนี้กำหนดการและหัวข้อก็ออกมาแล้ว วันนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมกันสักหน่อย

รายละเอียดงานประชุมวิชาการประจำปี ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย
ชื่องานภาษาไทย : Branding…การสื่อสารอัตลักษณ์ของห้องสมุดและการบริการสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : โรงแรมมารวยการ์เด้น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 6 – 7 กันยายน 2555
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

จริงๆ แล้วเรื่องของการสร้างแบรนด์หรือตราสินค้าเป็นเรื่องที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่อยู่แต่เฉพาะในแวดวงธุรกิจเท่านั้น ซึ่งต้องบอกว่าเราลองมาเปลี่ยนทัศนคติตรงนี้กันใหม่ดีกว่า เพราะเรื่องของการสร้างแบรนด์เองปัจจุบันเป็นเรื่องที่แม้แต่หน่วยงานด้านการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ห้องสมุดก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักการสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์ของหน่วยงานตนเอง

“การสร้างแบรนด์ ไม่ใช่ การประชาสัมพันธ์ แต่ การสร้างแบรนด์ เป็นส่วนหนึ่งและขั้นตอนหนึ่งของประชาสัมพันธ์”

การจัดการประชุมวิชาการในเรื่องนี้ผมจึงมองว่ามันก็น่าสนใจอยู่นะ
เพราะเป็นเรื่องที่ทุกท่านจะได้รับรู้และเปลี่ยนทัศนคติของพวกเรา
ให้เข้าใจคำว่าการสร้างแบรนด์ของห้องสมุดอย่างแท้จริง

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– Brand Identity กับห้องสมุด
– อัตลักษณ์ของการอ่าน….มุมหนังสือเพื่ออาเซียน…
– Branding การสร้างอัตลักษณ์ท่ามกลางยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
– นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการสร้าง branding ของห้องสมุด
– Branding อย่างไร เพื่อก้าวไกลสู่อนาคต

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้าสนใจก็ลงทะเบียนมาฟังกันก็แล้วกันนะครับ

การลงทะเบียนเข้าร่วมงานนี้มีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
สมัครก่อนวันที่ 17 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 1800 บาท
สมัครในช่วงวันที่ 18-31 สิงหาคม 2555 ค่าลงทะเบียน 2200 บาท
ปิดรับสมัครวันที่ 31 สิงหาคม 2555 นะครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็สมัครเข้าร่วมงานกันได้นะครับ ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมและใบสมัครสามารถดูได้ที่
http://library.md.chula.ac.th/guide/slg6-7sep55.pdf
หรือ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2012/07/slgannual.pdf

Workshop : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

วันนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมมาฝาก นั่นคือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  “การผลิตสื่อทางวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)” ที่จัดโดยสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : การผลิตสื่อวิชาการในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
สถานที่จัดงาน : ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ชั้น 2 อาคาร 2 สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม 2555
จัดโดย : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กิจกรรมนี้น่าสนใจมากๆ โดยฌแพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หรือแม้แต่ห้องสมุดในโรงเรียนเองก็น่าสนใจนะครับ เพราะการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ได้ เราสามารถนำมาสอนอาจารย์หรือครูที่สนใจอยากผลิต E-book ที่ห้องสมุดของเราได้อีก

หัวข้อที่น่าสนใจ
– มาตรฐานสื่อดิจิทัล
– การใช้งาน e-Book
– แนะนำการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปแบบ Open source
– การติดตั้งโปรแกรมในการสร้าง e-Book
– การใช้งานโปรแกรมสําหรับสร้าง e-Book


เมื่อจบจากการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้แล้ว ทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร ซึ่งเพื่อนๆ สามารถนำไปใช้เป็นใบเบิกทาง และแสดงถึงความสามารถในการใช้งานโปรแกรมการสร้าง E-book ได้


ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

สมัครภายในวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,600 บาท
หลังจาก วันที่ 20 กรกฎาคม 2555 คนละ 1,800 บาท

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและสมัครที่ http://www.library.kku.ac.th/conference2012/

ขอฝากประโยคนี้ไว้ทิ้งท้ายข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมนี้แล้วกัน
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อสองถึงสามปีที่แล้วสิ่งที่ทำให้บรรณารักษ์หวั่นๆ คงหนีไม่พ้น “Google” บัดนี้ความหวั่นๆ ของบรรณารักษ์เปลี่ยนไปเมื่อโลกกำลังพูดถึง E-book การจะขจัดความหวาดหวั่นนี้ได้คงต้องเริ่มจากการที่ห้องสมุดสร้าง Content และสร้าง E-Book ขึ้นมาเองให้ได้ และลองนำมาประยุกต์กับงานให้บริการดู สิ่งที่คงจะเป็นเพียงการจุดประกายเรื่องทิศทางของห้องสมุดในอนาคต

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 กลับมาพบกับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดกันอีกครั้งแล้วนะครับ ปีนี้นอกจากการอบรมที่เพื่อนๆ จะได้พัฒนาทักษะและแนวคิดแล้ว ยังมีรางวัลคือเงินทุนในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต และยิ่งไปว่านั้นบรรณารักษ์ที่ติด 1 ใน 10 จะได้ไปดูงานการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีด้วย

ห้องสมุดไหนที่สนใจกรุณาอ่านกติกาด้านล่างนี้ครับ
1. ส่งใบสมัครเพื่อรับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4 ตามรายละเอียดโครงการที่แจ้งผ้นต้นสังกัดของห้องสมุดทั่วประเทศ ภายในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555
2. หากได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 ห้องสมุดที่ได้เข้าร่วมโครงการ บรรณารักษ์จะต้องเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเข้มข้นระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคม 2555 ที่จังหวัดนครนายก
3. หลังเสร็จสิ้นการอบรม บรรณารักษ์จะต้องออกแบบโครงการตามเงื่อนไขของการอบรม เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโครงการสร้างสรรค์ จำนวน 20 ห้องสมุด
4. ห้องสมุดที่ได้รับเลือกจำนวน 20 แห่ง จะต้องดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ส่งประกวดในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 555 เพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิลงติดตามผลงาน
5. ห้องสมุดทั้ง 20 แห่ง จะต้องนำเสนอผลงานความสำเร็จของโครงการและการพัฒนาเปลี่ยนแปลงห้องสมุด เพื่อการตัดสินครั้งสุดท้าย และร่วมพิธีรับมอบรางวัลพร้อมทุนการพัฒนาห้องสมุดในวันที่ 28 กันยายน 2555


รางวัลที่ห้องสมุดทั้ง 20 แห่งจะได้คือ

– ทุนในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– ชั้นหนังสือพร้อมหนังสือคัดสรรจาก TKpark

บรรณารักษ์ของห้องสมุดที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ รวมทั้งรางวัลชมเชย จำนวน 10 ท่านจะได้ไปดูงานด้านการพัฒนาห้องสมุดที่ประเทศเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 14 – 18 ตุลาคม 2555

เอาหล่ะ อ่านกติกาแล้ว หากสนใจหรือมีคำถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่
ศูนย์ประสานงานโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4
โทร. 0-2575-2559 ต่อ 423 หรือ 425
08-1304-4017, 08-9899-4317

ภาพข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิตครั้งที่ 4

ข่าวย้อนหลัง โครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต ครั้งที่ 3

งานเสวนา “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”

มีข่าวฝากประชาสัมพันธ์มาให้เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้เข้าร่วมครับ เป็นงานเสวนาที่ผมอ่านแล้วก็ยังรู้สึกว่าน่าสนใจดี เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหนังสือเก่าและหนังสือหายากครับ ชื่องานเสวนานี้คือ “หนังสือเก่า เล่าเรื่อง มรดกภูมิปัญญาไทย”


รายละเอียดงานเสวนาเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง   มรดกภูมิปัญญาไทย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันและเวลาที่จัด : วันศุกร์ที่  15  มิถุนายน พ.ศ. 2555    เวลา  8.30 – 17.00 น.
จัดโดย : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในงานนี้เพื่อนๆ จะได้พบกับผู้ที่อยู่ในวงการหนังสือเก่า หรือ หนังสือหายากมากมาย ซึ่งพวกเขาจะมาเล่าให้ฟังถึงคุณค่าและความสำคัญของหนังเก่าที่มีต่อชุมชนและสังคมไทย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรีนฤนาถ
– เล่าเรื่อง ลีลาของ “ฉันท์”
– เสน่ห์หนังสือเก่า
– หนังสือเก่า ความรัก ความผูกพัน กับคนสำคัญ

บุคคลที่ให้เกียรติมาถ่ายทอดเรื่องราว เช่น
– รองศาสตราจารย์อัมพร ทีขะระ (ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดหนังสือหายาก)
– รองศาสตราจารย์ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาฯ)
– รองศาสตราจารย์คึกเดช กันตามระ (นักวิชาการ/นักเขียน)
– คุณอเนก นาวิกมูล (นักวิชาการ/นักเขียน/เจ้าของบ้านพิพิธภัณฑ์)
– นางสุกัญญา ชลศึกษ์ (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์)
– นางชมัยภร แสงกระจ่าง (นักเขียน อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย)
– นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ (นักเขียน)

เป็นยังไงกันบ้างครับทั้งหัวข้อและวิทยากรทั้งหมดก็ล้วนแล้วแต่น่าสนใจนะครับ

ดังนั้นถ้าใครไม่ติดธุระหรือสนใจก็เข้าร่วมงานนี้ได้นะครับ เพียงแค่ดาวน์โหลดแบบตอบรับด้านล่างนี้
คลิ๊กที่นี่เลย “แบบฟอร์มตอบรับเข้าร่วมงาน

เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้วก็สำรองที่นั่งโดยส่งแบบตอบรับไปที่ Benja.r@car.chula.ac.th หรือ  Anurak.m@car.chula.ac.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ “ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  โทร.  0-2218-2934

ข้อความประชาสัมพันธ์ของงานนี้ (เพื่อนๆ สามารถ copy และ ส่งต่อไปให้เพื่อนๆ คนอื่นได้นะครับ)

ศูนย์วิทยทรัพยากร   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ขอเชิญชวนคนรักหนังสือเก่า     ผู้ชื่นชอบงานเขียน  และผู้รักการอ่านทั้งหลาย    ร่วมงานเสวนาเรื่อง   หนังสือเก่า    เล่าเรื่อง    มรดกภูมิปัญญาไทย         เนื่องในโอกาสวันกิติยากร    เพื่อน้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ   กรมพระจันทบุรีนฤนาถ   ที่ทรงมีต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ในวันศุกร์ที่  ๑๕  มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕    เวลา  ๘.๓o – ๑๗.oo  น.   ณ  ห้องประชุมชั้น  ๗   ศูนย์วิทยทรัพยากร      โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างองค์ความรู้ทางมรดกภูมิปัญญา  เผยแพร่เรื่องราวของหนังสือหายากให้สาธารณชนได้ตระหนักในคุณค่า  ความรู้   และความสำคัญของหนังสือเก่าที่มีต่อชุมชน  สังคม   และประเทศชาติ     ผ่านเรื่องเล่า    บันทึกความทรงจำและความรู้สึกที่งดงามของบุคคลต่างๆ   ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง  มรดกภูมิปัญญาในกรมพระจันทบุรี นฤนาถ   โดย   รองศาสตราจารย์อัมพร  ทีขะระ    รองศาสตราจารย์ฉลอง   สุนทราวาณิชย์     และ คุณธงชัย  ลิขิตพรสวรรค์    เล่าเรื่องลีลาของ “ ฉันท์ ”  โดย  รองศาสตราจารย์คึกเดช  กันตามระ     ฟังสบายๆ กับเรื่อง  เสน่ห์หนังสือเก่า  โดย  คุณเอนก  นาวิกมูล    ในภาคบ่ายพบกับการเสวนาเรื่อง  หนังสือเก่า  ความรัก  ความผูกพัน  กับคนสำคัญ  โดย   ศิลปินแห่งชาติ  นางสุกัญญา  ชลศึกษ์   (กฤษณา  อโศกสิน)  นางชมัยภร   แสงกระจ่าง   และนายแพทย์พงศกร  จินดาวัฒนะ    พร้อมเปิดบ้านเยี่ยมชมห้องกรมพระจันทบุรีนฤนาถ    ศูนย์มรดกภูมิปัญญา  จุฬาฯ  การบริการหนังสือหายาก  และหนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์

Workshop “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ”

กิจกรรมที่แนะนำวันนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ติดตามทั้งวงการห้องสมุดและวงการไอที กิจกรรมนี้เป็นงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า workshop นั่นเอง ซึ่งหัวข้อหลักของงาน คือ “เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ

รายละเอียดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : เทคโนโลยี Cloud Computing กับงานสารสนเทศ
สถานที่จัดงาน : อาคาร 10 ห้อง 10303 มหาวิทยาลัยหอการค้า
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2555
จัดโดย : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ STKS

การจัดงานครั้งนี้ผมชื่นชอบมากๆ เพราะเป็นการนำเสนอเรื่องราวใหม่ๆ ให้วงการบรรณารักษ์ของเราได้ตามเทคโนโลยีให้ทันกระแส ถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าร่วมมากๆ เช่นกัน

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Cloud Computing : สาระและสำคัญ
– องค์กรกับการก้าวสู่ยุค Cloud Computing
– การประยุกต์ใช้ Cloud Computing ในองค์กร
– โอกาสและความเป็นไปได้ในการใช้ Cloud Computing ในวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทย
– ปัญหาและอุปสรรคในการใช้ Cloud Computing
– การใช้ Cloud Computing ในการเรียนการสอน
– Workshop แนะนำวิธีการใช้ Cloud Computing

วิทยากรแต่ละท่านมาจากองค์กรที่สุดยอดทั้งนั้นเลย เช่น STKS, Microsoft, CRM Charity

เห็นหัวข้อแล้วผมเองก็อยากเข้าร่วมเหมือนกันนะครับ แต่เสียดายที่ติดธุระ
หัวข้อที่เน้นเรื่อง Technology Cloud ซึ่งเข้ากับโลกยุคปัจจุบันมากๆ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการมีค่าลงทะเบียนด้วยนะครับ
ใครลงทะเบียนก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท
ใครลงทะเบียนหลังวันที่ 20 เมษายน 2555 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปดูต่อที่ http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/
หรือต้องการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน http://humanities.utcc.ac.th/iscon2012/index.php/registration.html

ในวันดังกล่าวผมติดงานบรรยายดังนั้นใครไปงานนี้เอาความรู้มาฝากผมด้วยนะ
ขอบคุณมากๆ ครับ