สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ

รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น
ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ

กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย
ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา


วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์

เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว

รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ
(ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ)

สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/

หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์
โทร. 081-453-3394 ,  Mail: lisru-ram@hotmail.com

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ

กิจกรรม workshop : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

วันนี้นายห้องสมุดขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service) ซึ่งจัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทยฯ (ผมอยู่ในฐานะวิทยากรด้วย)

รายละเอียดเบื้องต้นในการบรรยาย
ชื่องานภาษาไทย : สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Facebook for library service
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วันและเวลาที่จัด : วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2555 เวลา 9.00-16.00 น.
ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

กิจกรรมนี้ผมถูกทาบทามจากคุณรุ้งทิพย์ให้เป็นวิทยากรมานานพอควรแล้ว
โอกาสดีที่ผมเพิ่งจะบรรยายเรื่องนี้ไปเมื่อไม่นานมานี่เอง
(อ่านเรื่อง “Facebook Fanpage สำหรับโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน“)
ประจวบกับมีโอกาสได้เจอคุณรุ้งทิพย์หลายงาน ก็เลยตอบตกลงว่าจะบรรยายให้ในหัวข้อนี้

หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้
– เสวนา / แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook)
– การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด
– ฝึกปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด

เรื่อง Facebook กับงานห้องสมุดมีอะไรมากมายกว่าที่คุณคิดนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวัดผลความสำเร็จของการมี  Facebook ห้องสมุด
หรือการต่อยอดในการนำ facebook มาใช้กับกิจกรรมของห้องสมุดด้านต่างๆ

ดาวน์โหลดเอกสาร โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด ที่นี่

แต่ถ้าไม่อยากดาวน์โหลด กรุณาอ่านรายละเอียดโครงการต่อด้านล่างนี้ (ขออนุญาติ copy มาลงแบบเต็มๆ)

โครงการเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริการห้องสมุด (Facebook for library service)
จัดโดย ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ

…………………………….

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนำไปสู่ระบบเครือข่ายทางสังคม (Social network) ในรูปแบบ online และที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ Facebook ห้องสมุดในฐานะผู้ให้บริการและส่งเสริมการใช้และการรู้สารสนเทศ  ควรสนใจติดตามศึกษา และนำเครือข่ายทางสังคมเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการของห้องสมุดเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม    ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้ร่วมมือกับชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา  (ชบอ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ   จัดกิจกรรมเสวน และฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดที่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook เพื่อให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะความรู้ประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม  2555  เวลา 9.00 – 16.00 น.

สถานที่ ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี อาคารปิยชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กรรมการ/สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน  20  คน

วิทยากร คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์    จาก LibraryHub

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้และประสบการณ์ในการนำสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ประยุกต์ใช้เพื่อการบริการห้องสมุด
3. ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

หน่วยงานสนับสนุน บริษัท Mercuri Data

งานนี้ต้องขอย้ำอีกครั้งว่า ฟรี ตลอดงานครับ
ลงทะเบียนฟรี อบรมฟรีแบบนี้ ต้องรีบสมัครกันมาหน่อยนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนมาได้เลยนะครับ
รับจำนวนจำกัด ที่ รุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน. rungtipho@live.com โทร. 086-5284042

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย
กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด
วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่าย : ฟรี
รับจำนวน 70 คน

กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย
แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด
หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที

หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ
– เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun
– บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต


ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน)
เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ

รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29

งานประชุมวิชาการของกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นอีกงานที่น่าสนใจนะครับ
ปีนี้ก็เช่นกัน ธีมงานของปีนี้คือ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด”

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29
หัวข้อของการจัดงานภาษาไทย : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
หัวข้อของการจัดงานภาษาอังกฤษ : The New Dimension of Library Cooperation Development
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 –  30 พฤศจิกายน 2555
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

หัวข้อปีนี้ “มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด” ได้บ่งบอกประเด็นหลักๆ คือ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ กับ ความร่วมมือในการพัฒนาห้องสมุด การประชุมครั้งนี้ก็คงคล้ายๆ กับครั้งก่อนๆ คือ การนำเสนองานวิชาการ การระดมสมองทางงานวิชาการ ฯลฯ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานประชุมวิชาการครั้งนี้

– Library Consortium Management
– การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace ของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
– Virtual Newspaper in an Educational and Engaging Environment
– ห้องสมุดในฝัน
– เทคโนโลยี Cloud Computing กับการพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสือลอยฟ้า : มิติใหม่ของ e-books
– องค์กร EIFL กับการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทย
– วิธีคิดและแนวทางความร่วมมือของห้องสมุดเครือข่าย OCLC จากการประชุม Asia Pacific Regional Council 3rd Membership Conference
– URD2 (Unified Resource Discovery and Delivery)
– แนวทางความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน
– ความร่วมมือในการจัดทำดรรชนีวารสารระหว่างห้องสมุด : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบับัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
– บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถานะความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– คณะกรรมการเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– รายงานความก้าวหน้าของคณะอนุกรรมการฯ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา

เป็นยังไงบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ ในงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ แต่ละหัวข้อน่าสนใจมากๆ เลย เพื่อนๆ ว่ามั้ย
การประชุมครั้งนี้มีความใช้จ่ายด้วยนะครับ ค่าลงทะเบียนก็ท่านละ 2,500 บาทนะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลงทะเบียนได้เลยครับที่ http://203.131.219.178:8080/coconference2011/index_coconference2011.asp

รายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://203.131.219.178/coconference/

ก้าวใหม่ของห้องสมุด (Libraries on the Move) วันที่ 28-30 มีนาคม 2555

ใกล้สิ้นปีแบบนี้เพื่อนๆ หลายคนคงกำลังรอฟังข่าวเรื่อง “การประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย” กันอยู่ วันนี้ผมจึงขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ทุกคนทราบแล้วกันครับ เอาเป็นว่าคร่าวๆ ก่อน คือ ปกติจะจัดในเดือนธันวาคมแต่ปีนี้ขอเลื่อนไปจัดในเดือนมีนาคมนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : ก้าวใหม่ของห้องสมุด
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Libraries on the Move
วันและเวลา : 28-30 มีนาคม 2555
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมอะเดรียติกพาเลซ
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อในการประชุมครั้งนี้นับว่าน่าสนใจมาก (เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าสมาคมห้องสมุดน่าจะมาถูกทางแล้ว)
หัวข้อก้าวใหม่ของห้องสมุดเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC นั่นเอง
ถ้าห้องสมุดของเพื่อนๆ เตรียมพร้อมมากกว่าคนอื่นก็ย่อมได้เปรียบนะครับ

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจของการประชุมครั้งนี้
– บทบาทของบรรณารักษ์และห้องสมุดในการพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
– กรุงเทพมหานคร “เมืองหนังสือโลก ปี 2556” (World Book Capital 2013)
– แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมการอ่านเชิงรุก
– การเตรียมบรรณารักษ์และห้องสมุดเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
– การใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุด
– การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสงวนรักษาทรัพยากรสารนิเทศของห้องสมุด
– ห้องสมุดกับการให้บริการนวนิยายไทยอิเล็กทรอนิกส์ (e-novel)

เป็นไงกันบ้างครับกับหัวข้อที่จะพบในงานประชุมนี้ ตื่นตัวและเตรียมพร้อมกันมากๆ เลยว่ามั้ย
เอาเป็นว่าถ้ามีเวลาผมก็อาจจะเข้าร่วมกับการประชุมครั้งนี้เช่นกัน

การเข้าร่วมประชุมวิชาการครั้งนี้ไม่ฟรีนะครับ มีค่าใช้จ่ายพอสมควรเอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมตาม link ที่อยู่ด้านล่างนี้นะครับ
ดาวน์โหลดเอกสารและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/wp-content/uploads/2011/11/Conference54.pdf (รอการอัพเดทจากสมาคมห้องสมุดฯ อีกทีนะครับ)

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา 2554

“ไปเที่ยวกันมั้ย มั้ย มั้ย มั้ย มั้ย…..จะไปก็รีบไป ไป ไป ไป ไป …….ไปดูงานห้องสมุดกันเถอะ!!!”
วันนี้มีโครงการดีๆ มาประชาสัมพันธ์ครับ เป็นโครงการของชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดฯ
อย่างที่เกริ่นนั่นแหละครับ โครงการนี้เป็น “โครงการศึกษาดูงาน” ครับ ว่าแต่ไปดูกันที่ไหนบ้าง ลองอ่านโครงการกันก่อนเลยครับ

โครงการศึกษาดูงานชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสุมดแห่งประเทศไทย ฯ ประจำปี 2554
Academic Librarian Group Thai Library Association (ALG TLA) Study Tour :  2011

……………………………………………………..

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน (รองประธาน และ กรรมการฝ่ายวิชาการ)

หลักการและเหตุผล

ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ (Academic Librarian Group: Thailand Library Association) เป็นชมรมหนึ่งในสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ โดยเป็นกลุ่มของบรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ความรู้ทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาการปฏิบัติงานในห้องสมุด และเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ของข้อมูลข่าวสารระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ชมรม ฯ เล็งเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิก  จึงจัดโครงการศึกษาดูงานแหล่งบริการสารสนเทศ / แหล่งเรียนรู้ที่มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ณ จังหวัดนครปฐม ได้แก่ หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และประสบการณ์  ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่การพัฒนาวงการวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
2. เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานสถาบันบริการสารนิเทศ และแหล่งเรียนรู้
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

วัน – เวลา : วันเสาร์ที่ 10 กันยายน  2554  เวลา 7.00 – 17.00 น.

สถานที่ : หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์ และ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม : กรรมการ/ทีมงาน สมาชิกชมรม และผู้สนใจ จำนวน 15 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานห้องสมุดจากห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
2. สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพิ่มความรู้ประสบการณ์ในการดำเนินงานห้องสมุดและ / หรือ สถาบันบริการสารสนเทศอื่น ๆ
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านโครงการแล้วเริ่มสนใจกันบ้างหรือปล่าว ไปดูงานได้พูดคุยได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในหลายๆ ด้าน พบปะและสร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ด้วยนะครับ สิ่งดีๆ มีมากขนาดนี้แล้ว ไม่เข้าร่วมไม่ได้แล้ว

เรามาดูกำลังการแบบคร่าวๆ กันก่อนดีกว่าครับ
6.15 น. เดินทางจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต  ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
7.00 น. แวะรับที่จุดจอดรถตู้ มธ.ศูนย์รังสิต อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มุมใกล้สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์
7.00 – 8.30 น. เดินทางจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจังหวัดนครปฐม
8.30 – 11.00 น. ศึกษาดูงานหอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
11.00 –12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ บริเวณใกล้มหาวิทยาลัยศิลปากรพระราชวังสนามจันทร์
12.30 – 14.00 น. เดินทางจากจังหวัดนครปฐม ไปหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พุทธมณฑลสาย 5
14.00 – 16.00 น. ศึกษาดูงานหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
16.00 น. ออกเดินทางกลับ
17.30 น. เดินทางถึงกรุงเทพ โดยสวัสดิภาพ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อและแจ้งรายชื่อเข้าร่วมโดยด่วนที่ คุณรุ้งทิพย์ ห่อวโนทยาน.  โทร. 086-5284042  นะครับ

Thailand Conference on Reading 2011 (TCR2011)

ช่วงนี้มีเพื่อนๆ ส่งงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้ผมมากมาย ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการที่เกี่ยวกับการอ่านที่น่าสนใจให้เพื่อนๆ ได้อัพเดทกันหน่อย งานนี้จัดโดยห้องสมุดทีเคพาร์คด้วยนะ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงาน
ชื่องาน : Thailand Conference on Reading
ลักษณะของงาน : การประชุมวิชาการ
วันและเวลาที่จัดงาน : 24-25 สิงหาคม 2554
สถานที่จัดงาน : โรงแรมAmari Watergate

งานนี้น่าสนใจมากเพราะว่าเราจะได้ฟังคำแนะนำและรายงานดีๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน
ไม่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นนะมีอีกหลายประเทศที่เข้าร่วมบรรยายด้วย
แถมด้วยเรื่องที่หลายๆ คนอยากฟัง คือ เรื่อง “Bangkok World Book Capital 2013

มาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ดีกว่า
– คิดสร้างสรรค์ ด้วยการอ่าน
– How Malaysia Reads
– The development of Book Reading Activity for Promoting Better Life of Citizen in Vietnam
– นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย
– ช่องว่างและความเท่าเทียมในการเข้าถึงหนังสือและแหล่งเรียนรู้
– ข้อสังเกตบางประการต่อกระบวนการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ของไทย
– นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม
– Korea’s experience to promote reading and literacy
– Reading Culture in the Youth Kids
– ปัจจัยส่งเสริมคนไทยให้มีวัฒนธรรมการอ่าน
– Bangkok World Book Capital 2013
– ร่วมสร้างรากฐาน อ่าน คิด เรียนรู้ เตรียมคนสู่พลเมืองอาเซียน

งานประชุมวิชาการดีๆ แบบนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
แต่ถ้าสมัครก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม จะได้ราคาพิเศษ คือ 2000 บาท
และถ้าสมัครก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ได้ราคา 2500 บาท และสมัครในเดือนสิงหาคมราคา 3000 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tcr2011.com เลยนะครับ
สำหรับวันนี้ก็แนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เลยเจอกันครั้งหน้า

ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์

งานสัมมนาวิชาการที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดที่ผมไม่อยากให้พลาดอีกงาน คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.) ต้นเดือนหน้า หัวข้องานหลักก็น่าสนใจมากๆ คือ “ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ประเภทของงาน : สัมมนาวิชาการ
ชื่องานหลัก : ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 2-3 มิถุนายน 2554 8.30-16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมปองทิพย์ 1 อาคาร 12 ชั้น 9 นิเทศศาสตร์คอมเพล็กซ์ ม.กรุงเทพ รังสิต
ผู้จัดงาน : คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบและเครือข่ายห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (อพส.)

เห็นแค่ชื่องานผมก็รู้สึกได้ว่าเป็นการสัมมนาเชิงวิชาการแนวใหม่ในวงการห้องสมุดจริงๆ ครับ (นานๆ ทีจะรู้สึกตื่นเต้นกับงานแบบนี้) เรื่องของเศรษฐกิจกับห้องสมุดมันอยู่ใกล้กันมากต่างฝ่ายต่างสนับสนุนซึ่งกันและกันครับ ยิ่งในบ้านเรากำลังสนใจกับคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” ซึ่งแน่นอนครับก่อนที่ธุรกิจจะก้าวไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้จะต้องอาศัยซึ่งความรู้เป็นพื้นฐานเสียก่อน และการได้มาซึ่งความรู้ก็มีหลายช่องทางเช่นกัน และหนึ่งในนั้นคือ “ห้องสมุด”

ไม่ได้อยากเชียร์อะไรมากมายหรอกนะครับ แต่เห็นว่างานดีๆ ก็เลยอยากแนะนำ
เอาเป็นว่าลองมาดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานกันก่อนดีกว่า
– ห้องสมุดกับวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– สมรรถนะของบรรณารักษ์ในสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– ห้องสมุดกับการพัฒนาชุมชนและสังคม ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– Information Economy and Social Network
– แบรนด์ห้องสมุดในสังคมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– PR 2.0 for Library
– กิจกรรมสร้างสรรค์กับงานห้องสมุด

การสัมมนาครั้งนี้แม้ว่าหัวข้อจะมีความน่าสนใจมากมาย แต่……
ต้องขอบอกว่ามีค่าใช่จ่ายในการเข้าร่วมงานนะครับ ประมาณคนละ 2000 บาท

(เอาเป็นว่าไปอ่านในหนังสือโครงการและแบบตอบรับดูกันเองน้า….)

สำหรับรายละเอียดโครงการ, หนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ และแบบตอบรับการเข้าร่วมสัมมนา เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและดาวน์โหลดได้ที่ http://www.thaipul.org/?p=252

เรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อวงการห้องสมุดเพียงใด แล้วห้องสมุดจะพัฒนาไปในแนวทางไหน มางานนี้เพื่อนๆ จะได้คำตอบ…

งานนี้เพื่อนๆ คนไหนไปได้ช่วยกลับมาสรุปให้ผมฟังด่วยนะครับ
เพราะงานนี้ผมพลาดแล้วแน่ๆ (วันที่ 2-4 มิ.ย. ผมไปงาน world book expo ที่สิงคโปร์)
เอาเป็นว่าผมจะรออ่านสรุปจากเพื่อนๆ ที่ไปงานแล้วกันนะครับ

ต้อนรับงาน WUNCA 23 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในสัปดาห์หน้ามีงานใหญ่ที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา (งานของ UNINET) หรือที่หลายๆ คนรู้จักในนามของงาน WUNCA ถือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยเครือข่ายความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ผมจึงขอแนะนำงาน WUNCA ในครั้งนี้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 23
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : Workshop on UniNet Network and Computer Application หรือ WUNCA23
วันและเวลา : 26-28 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ผู้จัดการประชุม : UNINET สกอ.

งาน Wunca ครั้งนี้ผมสังเกตว่าเกิดกลุ่มใหม่ๆ และมี session เพิ่มขึ้นเยอะมาก โดยเฉพาะเรื่องไอที
ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัยในการดูแลระบบไปจนถึงระดับพวกเขียนโปรแกรมบนไอโฟนแบบว่าน่าเข้าร่วมมากๆ
แต่วันนี้ผมขอเน้นข้อมูลเพื่อให้บรรณารักษ์และคนในวงการห้องสมุดดูดีกว่าว่างานนี้เกี่ยวอะไรกับห้องสมุดได้บ้าง

หัวข้อบรรยายในกลุ่มของ Thailis (เครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย)
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Learnig Space”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “Search Engine : ผลกระทบต่อบรรณารักษ์”
– การบรรยายพิเศษเรื่อง “มุมมอง : รอด…ไม่รอด… กับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT”
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล Computers & Applied Sciences Complete / Academic Search Premium /Education Research Complete
– อบรมการใช้งานฐานข้อมูล ScienceDirect

ปล. กลุ่ม Thailis จะมีการบรรยายในวันที่ 27 มกราคม 2554 วันเดียว

นอกจากหัวข้อในกลุ่มของ Thailis แล้ว กลุ่มอื่นๆ ที่น่าสนใจและผมแนะนำได้แก่
วันที่ 26 มกราคม 2554
– การบรรยายปาฐกถา เรื่อง “นโยบาย 3N และทิศทางการศึกษาไทย”
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง “UniNet พบมหาวิทยาลัย”
– Project Collaboration ThaiREN & TWNIC

วันที่ 27 มกราคม 2554
– การบรรยายพิเศษเรื่อง ?Education 3.0 กับ Open Source?
– Education Technology, Moodle 2.0, Social Media. จะไปด้วยกันอย่างไร การศึกษาไทยถึงจะรอด?
– การใช้เครือข่ายสังคมเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืนด้านการเขียนและการคิดวิเคราะห
– บรรยาย เรื่อง ?อุดมศึกษาไทยรับมืออย่างไรในยุค New media?
– คุยซายน์ ?ซอฟต์แวร์เพื่อช่วยบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยในองค์กร?

วันที่ 28 มกราคม 2554
– ?การพัฒนาระบบสารสนเทศอัจฉริยะของระบบ e-learning โดยใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Pentaho BI Suite?
– เสวนาประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากการเรียนในหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำหัวข้อที่น่าสนใจเท่านี้ก่อนแล้วกัน รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อต่างๆ เพื่อนๆ ไปดูได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

งานนี้เป็นงานที่แวดวงการศึกษาในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงวงการห้องสมุดไม่ควรพลาด
จากที่เคยเข้าร่วมงานมา 2-3 ครั้ง ผมรับรองเลยว่างานนี้ไอเดียและความรู้มีให้เก็บเกี่ยวเพียบ

คนที่ต้องการเข้าร่วมงานนี้ต้องลงทะเบียนด้วยนะครับ เข้าไปสมัครได้ที่
http://www.wunca.uni.net.th/wunca/Regis_wunca/wunca23_Mregis.php
(ตอนนี้ปิดรับลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อนๆ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมงานสัมมนาได้ที่หน้างานเลย)

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับงานนี้เพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถเข้าไปที่
เว็บไซต์ทางการงาน Wunca23 – http://www.wunca.uni.net.th/wunca23/

เว็บไซต์งาน Wunca ย้อนหลัง
Wunca22 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca22/
Wunca21 (มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca21/
Wunca20 (มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย) – http://www.wunca.uni.net.th/wunca20/
Wunca19 (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) – http://wunca19.uni.net.th/

สัปดาห์ห้องสมุด ม.รังสิต ตอน เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สัปดาห์ห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากในสถานศึกษาหลายๆ ที่ ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งจัดธีมงานได้น่าสนใจ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ได้อ่านเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมห้องสมุดกัน

รายละเอียดทั่วไปของงานนี้
ชื่อกิจกรรม : สัปดาห์ห้องสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต
ธีมงานหรือหัวข้อของงาน : เครือข่ายทางสังคมกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วันที่จัดงาน : วันที่ 12-14 มกราคม 2554
สถานที่จัดงาน : สำนักหอสมุด อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต

ธีมของงานนี้อย่างที่บอกแหละครับว่าอยู่ในเรื่องของ Social Network เป็นหลัก
ซึ่งจะสังเกตได้จากวัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น
ในฐานะของสถานศึกษาก็ควรจะต้องปรับตัวให้ทันยุคทันกระแสและนำสิ่งเหล่านี้มาประยุกต์ใช้
เพื่อให้วงการศึกษาหรือทุกๆ สื่อเข้าถึงและเข้าใจพฤติกรรมและการตอบสนองต่อการบริการของผู้ใช้บริการได้ด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง “สังคมฐานความรู้กับสังคมเครือข่าย : ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”
– จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร
– การอบรมและสอนการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ
– กิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกร้านหนังสือ ของที่ระลึก นิทรรศการ และนำชมห้องสมุด

อ๋อ ลืมบอกงานนี้ผมก็ได้รับเชิญเป็นวิทยากรด้วยเช่นกันในเรื่อง “จะก้าวให้ทันกับสื่อทางออนไลน์ยุคใหม่ได้อย่างไร”
ซึ่งก็ขอบอกเลยว่าเรื่องที่ผมจะนำมาพูดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้งานสื่อทางออนไลน์กับวงการห้องสมุด

สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากเข้าร่วมฟังบรรยายก็กรอกแบบฟอร์มได้ที่ http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจในงานสัปดาห์ห้องสมุดของ ม รังสิต ก็อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://library.rsu.ac.th/pdf/library53.pdf