เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)

วันนี้มีอีเว้นท์ที่น่าสนใจมาประกาศให้รับทราบกันอีกแล้วครับ เป็นงานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับหนังสือ
อย่างที่รู้กันว่าเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี กิจกรรมที่พบบ่อยที่สุด คือ การให้ของขวัญส่งท้ายปี
ซึ่งอีเว้นท์นี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมอบความรู้ให้เป็นของขวัญ “เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องานภาษาไทย : เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Book For Gift 2010
วันและเวลาที่จัดงาน : 3 – 12 ธันวาคม 2553 เวลา 10.00-20.00 น.
สถานที่จัดงาน : ฮอลล์ 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เอาเป็นว่าแค่ชื่องานเราทุกคนคงเดาออกว่าเป็นงานแนวไหน หลักๆ คือการจำหน่ายหนังสือนั่นแหละครับ แต่ที่พิเศษคือการเลือกหนังสือเพื่อให้เป็นของขวัญนี่สิ หนังสือที่เกี่ยวกับความสุข หนังสือชุดที่น่าสนใจ หนังสือที่เหมาะสำหรับคนในแต่ละกลุ่มเป็นแบบไหน ในงานนี้มีแยกรายละเอียดให้หมด การออกร้านของสำนักพิมพ์หลายๆ แห่งมีสิ่งที่โดเด่นกว่างานหนังสือปกติ คือ มีการห่อของขวัญให้ด้วย พิเศษจริงๆ เลยใช่มั้ยครับ

กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง เช่น

– นิทรรศการ ?คิดถึงของขวัญ คิดถึงหนังสือ? (Book for Gift)
– กิจกรรมสอยดาว ?ต้นไม้แห่งความสุข? (Book Christmas)
– กิจกรรม ?DIY Book for Gift?
– กิจกรรม ?Book for Gift Charity Day: ร้อยรัก ผูกใจ ให้หนังสือเป็น ของขวัญ?

เอาเป็นว่างานนี้ไม่ได้เหมาะแค่บรรณารักษ์อย่างเดียวนะครับ เพื่อนๆ นอกวงการห้องสมุด คนทั่วไป เด็ก ผู้ใหญ่ ชาย หญิง …. น่าจะมางานนี้ครับ

ของขวัญชิ้นไหนจะมีค่ามากกว่า “การให้ความรู้กับคนอื่น” ซึ่งหนังสือถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกได้ครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ : http://www.thailandbookfair.com/bookforgift2010/

แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant

วันนี้มีงานสัมมนาและอบรมดีๆ มาฝากชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์กันอีกแล้วครับ
เป็นงานที่จะทำให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้เข้าใจวิธีการทำงานของบริการแต่ละประเภทของ OCLC

รายละเอียดทั่วไปของการสัมมนาครั้งนี้
ชื่องานสัมมนา : How to be a Global Library Participant ? Practical Approaches
วันที่และเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา 8.30 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทแอ้ดวานซ์ มีเดีย ซัพพลายส์ จำกัด

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– Hands-on Library Resource Comparison with library worldwide ? WorldCat Collection Analysis
– Collection development by Circulation Analysis in action ? WorldCat Collection Analysis
– Showcase to increase student use of library materials ? WorldCat Local
– Step by step ?digitize and broadcast? local library resources to global?? ? Content DM

สรุปง่ายๆ ครับ งานนี้จะเป็นการบรรยายแบบเจาะลึก step by step ในบริการ WorldCat Collection Analysis และบริการอื่น ๆของ OCLC เช่น Content DM และ WorldCat Local นะครับ

งานนี้ก็น่าสนใจดีครับสำหรับคนที่ชอบเรื่องเทคโนโลยี การบรรยายครั้งนี้ไม่อยากให้เพื่อนๆ กลัวเรื่องภาษาอังกฤษหรอกนะครับ เห็นหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็จริงแต่การบรรยายเป็นภาษาไทยครับ วิทยากรก็คนไทยนะครับ เอาเป็นว่าไปหาความรู้แล้วเอามาลองใช้งานกันดู เพื่อเป็นการพัฒนางานบริการของห้องสมุดด้วยก็ดีครับ

งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ แต่รับจำนวนจำกัด เฉพาะผู้บริหาร/บรรณารักษ์/ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด/ศูนย์สารสนเทศ/อาจารย์/นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องเท่านั้นนะครับ

ครที่อยากเข้าร่วมงานก็ติดต่อไปที่ pongskorn@amsbook.com นะครับ

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้าไปดูได้ที่
http://library.tu.ac.th/agenda1153/info.html นะครับ

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

ประชาสัมพันธ์โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้

วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม
พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้”

ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้
จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน

แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้
คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ
ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย
โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง

เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม
หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น
และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน
โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย

เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย
ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ

เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่
ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน
ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608

หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/
หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun

วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน
แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ

สัมมนาวิชาการ “จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม”

วันนี้มีข่าวงานสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆ วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดนะครับ
การสัมมนานี้เป็นการนำเสนอผลงานของอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอกด้านสารสนเทศศาสตร์ของ มสธ. ครับ

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องานสัมมนา(ภาษาไทย) : จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม
ชื่องานสัมมนา(ภาษาอังกฤษ) : From Information to Innovation
วันที่จัดงาน : 12 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม 5209 อาคารสัมมนา 1 มสธ.

ในงานนี้เป็นงานที่อาจารย์และนักศึกษา ป.เอกของภาคสารสนเทศศาสตร์ มสธ
นำผลงานและนวัตกรรมของตัวเองมานำเสนอ ซึ่งความน่าสนใจมีมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อที่บรรยายในงานนี้ เช่น
– จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม : กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์
– การพัฒนาต้นแบบคลังข้อมูลเพื่อการวางแผนลดอัตราการออกกลางคัน : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ.
– การประเมินโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต สอร.
– การติดตามผลมหาบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ มสธ.
– เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานพัฒนาประเทศ : การเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
– การวิเคราะห์เนื้อหาในงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ระดับนานาชาติ
– นวัตกรรมห้องสมุด : โปรแกรมโอเพนซอร์ส Senayan
– การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี
– การพัฒนาบทเรียนทางเว็บเรื่อง การค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
– การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ ครับ แนะนำว่าถ้าใครว่างๆ ไม่ควรพลาดงานนี้เลยครับ
นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังอาจจะได้ไอเดียไปทำงานในห้องสมุดก็ได้นะ

งานนี้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากสนใจจะเข้าร่วมก็สามารถแจ้งความจำนงมาได้ที่ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน (nwipawin@gmail.com)ได้นะครับ

Nanmeebooks Family Day : อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย

วันนี้มีข่าวประชาสัมพันธ์มาฝากนะครับ สำหรับคนที่จะไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
นานมีบุ๊คส์ เขาได้จัดกิจกรรม Nanmeebooks Family Day ตอน “อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย
กิจกรรมนี้จัดในวันที่ 23 ตุลาคม 2553 ณ Meeting Room 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

กิจกรรม Nanmeebooks Family Day ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. Adult Zone อ่านสนุกครบทุกรส
2. หนังสือภาษา บันเทิงเริงร่า เก่งภาษา ง่ายนิดเดียว
3. หนังสือเสริมความรู้ ฉลาดอ่าน ฉลาดคิด พิชิตความสำเร็จ
4. วรรณกรรมเยาวชน เชิญมาท่องคาถา ฝ่ากระจกวิเศษ สู่ดินแดนวรรณกรรมที่สนุกสุดยอด
5. หนังสือสำหรับเด็กอายุ 0-8 ปี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ สร้างเด็กดี มีจินตนาการ
6. การ์ตูนความรู้ ค้นหาความรู้ที่สนุกที่สุดกับเกมปริศนาท้าพลังสมอง

นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีเลย การที่ครอบครัวมางานหนังสือแล้วได้เข้าร่วมนี้
ผมเชื่อว่าจะทำให้บุตรหลานของท่านมีความใฝ่รู้และอาจจะเริ่มทำให้เขาอยากอ่านหนังสือก็ได้
แต่เสียดายที่จัดแค่วันเดียว คือวันที่ 23 ตุลาคม 2553

แต่ไม่เป็นไรครับแค่พาบุตรหลานของท่านมางานหนังสือ
ผมเชื่อครับว่าอย่างน้อยก็ทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจในการอ่านแล้ว
เพราะในงานมีหนังสือมากมายและคงต้องมีสักเล่มที่เขาอยากอ่าน

กิจกรรมของ นานมีบุ๊คส์ ยังมีอีก เช่น
22/10/53 – อบรมครูบรรณารักษ์ หัวข้อ ส่งเสริมการอ่านเพื่อปลูกฝังนักเรียนให้เป็นคนดี คิดเป็น และมีคุณธรรม
23/10/53 – งาน Nanmeebook Family Day
23/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “กระจกวารี”
24/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ยอดเขาแห่งความสุข หุบเขาแห่งอุปสรรค”
28/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ลูกของลูกสาว”
29/10/53 – อบรมครูวิทยาศาสตร์ หัวข้อ การสื่อความหมายทางวิทยาศาสตร์

เอาเป็นว่าก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย หัวข้อในวันที่ 22 ตุลาคม 2553
เรื่องเกี่ยวกับบรรณารักษ์ มีถึงตอนเย็นเลยนะครับ ดังนั้นยังพอมีเวลาในช่วงบ่าย
เพื่อนๆ สามารถเข้าร่วมฟังได้นะครับ
เอาเป็นว่าผมขอตัวไปเยี่ยมชมงานก่อนนะ

อ๋อ หากอยากพบนักเขียนของบู๊ทนานมีบุ๊คส์?เพื่อนๆ สามารถดูตารางเวลาได้ที่ www.nanmeebooks.com

เพื่อนสามารถดาวน์โหลดบัตรเชิญได้ที่ “บัตรเชิญเข้าร่วมงาน Nanmeebook Family Day

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติส่งท้ายปี 53 (มหกรรมหนังสือระดับชาติ)

เดือนนี้ไฮไลท์ที่ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดไม่ควรพลาด คือ
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2553 หรือที่หลายๆ คนชอบเรียกว่างานสัปดาห์หนังสือปลายปี

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้
ชื่องานภาษาไทย : งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15
ชื่องานภาษาอังกฤษ : BookExpoThailand 2010
วันที่จัดงาน : 21-31 ตุลาคม 2553
เวลาในการจัดงาน : 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เดือนตุลาคมถือว่าเป็นเดือนแห่งปีงบประมาณใหม่
ดังนั้นห้องสมุดหลายๆ แห่งคงจะถือโอกาสนี้ในการช้อปปิ้งหนังสือเข้าห้องสมุด
หนังสือราคาถูก มีของแถมมากมาย และมีร้านหนังสือให้เลือกมาก

นอกจากการช้อปปิ้งหนังสือแล้ว ผมไม่อยากให้พลาดเรื่องกิจกรรมต่างๆ ที่จัดในงานด้วย
เพราะเพื่อนๆ จะเห็นแนวคิดและนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมการอ่านในห้องสมุดได้ด้วย

กิจกรรมพิเศษที่จัดในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้ เช่น
– นิทรรศการและกิจกรรม “ห้องสมุดหนังสือใหม่ ปี 2553”
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการ “สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา”
– Creative Book Industry: DIY My Book หนังสือใครๆ ก็ทำได้
– All for Book: Book for All

Hilight ที่ผมอยากแนะนำในงานนี้ มีมากมาย เช่น
– วันที่ 21 ตุลาคม 2553 เวลา 15.00-16.00 น. เปิดตัว e-book on i pad
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 11.00-12.00 น. กิจกรรมทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 20
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. กิจกรรมจากกระดาษถนอมสายตา Green Read by SCG Paper
– วันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. โครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย D Ambassador 2010
– วันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 16.00-17.00 น. เปิดตัวหนังสือ “รวมบทกวีนิ้วกลม อุนนุน หมายเลข 1 สิ่งที่ค้นพบระหว่างนั่งเฉยๆ ของนิ้วกลม”
– วันที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 17.00-18.00 น. เปิดตัวเว็บไซต์ทีวีเพื่อการศึกษา www.etvMAC.tv

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ มีอีกเพียบเลย โดยเฉพาะการเปิดตัวหนังสือใหม่ๆ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจตารางกิจกรรมลองเข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/hallA.php

นอกจากนี้งานสัมมนาดีๆ ก็มีอีกเพียบเลย เข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/seminar.php

แค่เห็นชื่อกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้ผมยิ่งอยากไปงานนี้เร็วๆ เหลือเกิน
เอาเป็นว่าถ้าผมได้ไปร่วมงานในครั้งนี้แล้ว ผมจะเก็บภาพบรรยากาศในงานมาฝากทุกๆ คนเลยครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่วางแผนที่จะมางานนี้ผมขอแนะนำว่าใช้รถไฟฟ้าใต้จะทำให้คุณไม่ต้องเครียดเรื่องการหาที่จอดรถนะครับ
เพราะอย่างที่รู้ๆ รถเยอะมากๆ รถติดทางเข้า แถมเข้ามาก็อาจจะไม่มีที่จอดอีก ดังนั้นรถไฟฟ้าใต้ดินดีที่สุดครับ

หากเพื่อนๆ อยากได้ข้อมูล หรือรายละเอียดกิจกรรมมากกว่านี้ผมแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของงานนี้
เว็บไซต์ทางการของงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 : http://thailandbookfair.pubat.or.th/bookexpo2010/

Workshop : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่

การประชุมประจำปีของชมรมห้องสมุดเฉพาะใกล้เข้ามาแล้ว
และเป็นประจำของทุกปีที่ผมจะต้องนำมาประชาสัมพันธ์สักหน่อย

slgconference1

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
ชื่องานภาษาไทย : การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุดยุคใหม่
จัดวันที่ : 30 – 31 สิงหาคม 2553
สถานที่จัดงาน : กรมวิทยาศาสตร์บริการ
จัดโดย : ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

หัวข้อเกี่ยวกับเรื่อง “การบริหารจัดการความเสี่ยง” เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน
เนื่องจากวิถีชีวิตในปัจจุบันของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
บางอย่างที่เราวางแผนไว้อาจจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
ถ้ามันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็คงไม่เป็นอะไรมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ระดับองค์กรหล่ะ
มันอาจจะทำให้องค์กรของคุณล้มลงอย่างไม่เป็นท่าเลยก็อาจเป็นได้

ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ได้เข้าร่วมกันมากๆ
นอกจากจะได้รับความรู้ดีๆ แล้ว ยังถือว่าเป็นการระดมสมองเพื่อการแก้ปัญหาในวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในการบรรยายและเสวนา
– ห้องสมุดยุคใหม่ต้องใส่ใจความเสี่ยง
– การบริหารความเสี่ยงของห้องสมุด : กรณีศึกษา
– การบริหารจัดการความเสี่ยง…สำคัญอย่างไร
– คุยเฟื่องเรื่องความเสี่ยง? : กลยุทธ์พิชิตความเสี่ยงในห้องสมุด
– แผนยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยงสำหรับห้องสมุด
– การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บริหารความเสี่ยง

เห็นหัวข้อแล้วผมก็เริ่มสนใจแล้วหล่ะครับ
ยิ่งวิทยากรและผู้บรรยายหลายๆ คนมาจากนอกวงการห้องสมุดด้วย
เช่น ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ผู้จัดการสายงานด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ต้องเสียเงินกันหน่อยนะ เพราะงานนี้มีค่าใช้จ่าย
หากลงทะเบียนก่อนวันที่? 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,500 บาท บุคคลทั่วไป = 1,800 บาท
ค่าลงทะเบียนหลังวันที่ 6? สิงหาคม 2553 สมาชิก = 1,800 บาท บุคคลทั่วไป = 2,100 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจรายละเอียดก็เข้าไปดูได้ที่
รายละเอียดโครงการ

แล้วพบกันในงานครับผม

กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการประจำปีของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ
เพราะว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากๆ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาห้องสมุด

tu-seminar-library

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Paradigm of library development for success
จัดวันที่ : 2 – 3 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการที่ผมติดตามข่าวสารด้านห้องสมุดมาตลอดสามปี
ผมได้ลองอ่านเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนี้มาโดยตลอด
(ต้องขอบคุณพี่ๆ ที่ธรรมศาสตร์ที่ส่งมาให้ผมอ่าน)
ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าเป็นงานประชุมทางวิชาการด้านห้องสมุดที่ดีที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้นปีนี้พอมีงานผมเลยต้องขอบอกต่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเข้าร่วมกันสักหน่อย
เอาเป็นว่าถ้าใครมีโอกาสไปงานนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้ไอเดียดีๆ มากมายเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุด

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ยุค Generation G
– การบรรยายเรื่อง คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ การวัดและประเมินบริการห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง ศาสตร์แห่งความสำเร็จพิชิตอุปสรรคในงานห้องสมุด
– การบรรยายเชิงปฏิบัติ การเรื่องเทคนิคการทำ Mind Map เพื่อผลสำเร็จของงานห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Libraries – A Framework for Excellence : A Report on Work in Progress at Technische Universit?t M?nchen Library, Germany
– การบรรยายเรื่อง Social Networking, Social Media และ I-Society กับการพัฒนาห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Seven Habits : หลักการเพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเองและงาน

เห็นมั้ยครับแค่หัวข้อยังน่าสนใจมากๆ เลยครับ
ถ้าได้ไปฟังจะได้ไอเดียดีๆ กลับมามากแค่ไหน

อ๋อ แต่ก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
ค่าลงทะเบียนคนละ 2,500 บาท (ค่าเอกสารและอาหาร)

นอกจากนี้หากเพื่อนๆ สนใจเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่ผ่านมา เพื่อนๆ สามารถดูได้ที่
“ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
“การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
“การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า” (2552)

ใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://203.131.219.180/conference2010

และถ้าใครสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็เข้าไปได้ที่ http://library.tu.ac.th/conference2010/index.asp