ห้องสมุด TK park ต่ออายุบัตรสมาชิกให้ฟรี! 6 เดือน

ข่าวนี้ผมนำมาจากเมล์ที่ได้รับจากอุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park ที่เรารู้จักกันนั่นแหละครับ
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุสมาชิกให้ฟรีๆ 6 เดือน

banner742x200

หลังจากที่ไม่สามารถเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนวันนี้เข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนะครับ
สมาชิกหลายๆ คนคงคิดถึงห้องสมุดแห่งนี้มากๆ หลายๆ คนยังไม่ได้คืนหนังสือ และหลายๆ คนหมดอายุสมาชิก

วันนี้ทาง TK park จึงใจดีมีข่าวดีๆ มาประกาศให้รับทราบ
นั้นคือ ข่าวการต่ออายุสมาชิก 6 เดือนแบบฟรีๆ ให้สมาชิกที่มีกำหนดหมดอายุ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป

ผมว่าเป็นแนวทางที่ดีเหมือนกันนะครับ
เพราะหลายๆ คนที่เข้าใช้บริการประจำจะได้ไม่เสียสิทธิในการเข้าใช้ 3 เดือนที่ต้องเสียไปด้วย
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ที่บัตรสมาชิกหมดหลังวันที่ 1 เมษายนคงสบายใจขึ้นนะครับ

นอกจากนี้ทาง TK park ยังมีข่าวมาประชาสัมพันธ์อีกนิด คือ
สำหรับคนที่คิดถึง TK park ทาง TK park ก็ได้จัดให้บริการ Mini TK park ให้
โดยจัด Mini TK park ที่ ชั้น G อาคาร The Offices at Centralworld

ยังไงก็ลองไปใช้บริการกันดูนะครับ

หากมีข้อสงสัยประการใดสามารถโทรไปที่ 02-2645963-65
และอย่าลืมอัพเดทข่าวสาร TK park ได้ที่ www.tkpark.or.th นะครับ

แนะนำหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ ประจำปี 2553

เป็นเรื่องปกติของทุกปีนะครับเกี่ยวกับเรื่องการอบรมที่ทางสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจัดขึ้น
หัวข้อที่ผมจะกล่าวนี้ ทุกๆ ปีก็มีการจัด (ปีที่แล้วผมก็แนะนำกิจกรรมนี้ “หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ“)

book-binding-copy

แต่ถ้าการอบรมนี้มีหลักสูตรที่เหมือนกันทุกๆ ปี ผมก็คงไม่ต้องเขียนแบบนี้หรอกนะครับ
ใช่แล้วครับ เพราะว่าหลักสูตรนี้มีการปรับปรุงและไม่เหมือนเดิม ผมจึงนำมาแนะนำอีกครั้ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมครั้งนี้

ชื่อการอบรม : หลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ รุ่นที่ 4
วันและเวลาที่จัดการอบรม : 5-6 กรกฎาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : หอประชุมดอกไม้สด สำนักหอสมุดแห่งชาติ
ผู้จัดงานอบรม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

อย่างที่เคยเขียนไปว่า การอบรมเรื่องนี้มันน่าสนใจเพียงใด จนถึงตอนนี้ผมก็ยังคงยืนยันเช่นนั้นอยู่นะครับ
เพราะเรื่องของการเย็บเล่มและซ่อมหนังสือ มันไม่จำเป็นจะต้องใช้ทำงานแค่งานห้องสมุดหรอกนะครับ
มันสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วๆ ไป เผลอๆ เอาไปทำธุรกิจส่วนตัวได้ด้วย เช่น เปิดร้านเย็บเล่ม หรือ เปิดร้านซ่อมหนังสือ

การอบรมในครั้งที่แล้ว (19-20 ตุลาคม 2552) มีหัวข้อดังนี้
– หลักการและวิธีการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การบริหารจัดการ? วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– วิธีเข้าเล่มทำปก และซ่อมหนังสือ

แต่สำหรับครั้งนี้มีหัวข้อการอบรมมีดังนี้
– การบริหารจัดการ วัสดุและอุปกรณ์ซ่อมหนังสืออย่างเป็นระบบ
– เครื่องมือ อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการเข้าเล่มและซ่อมหนังสือ
– การซ่อมหนังสือปกอ่อน
– การเย็บหนังสือ
– การซ่อมกระดาษเนื้อในหนังสือ

– การเข้าเล่มทำปกหนังสือ

ซึ่งจะสังเกตว่ามีหัวข้อที่เพิ่มเข้ามา 3 หัวข้อ (ที่ไฮไลท์สีแดง) ซึ่งนับว่าเป็นการลงรายละเอียดของงานได้ดีทีเดียว

เช่นเคยการอบรมครั้งนี้ต้องเสียเงินนะครับ (ซึ่งเท่ากับการอบรมครั้งที่แล้ว)
โดยถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายราคา 2,500 บาท
แต่ถ้าไม่ใช่สมาชิกของสมาคมห้องสมุดจะต้องจ่ายในราคา 2,800 บาทครับ

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
ใบสมัครหลักสูตรการเข้าเล่มและซ่อมบำรุงรักษาหนังสือ

และหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวดี วิเชษฐ์พันธุ์ โทรศัพท์ 0-2734-9022-3 suwadee_tla@yahoo.com

สำหรับวันนี้ก็ขอแนะนำแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะ

งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย

reading

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน?
ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ

การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม
ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ”
ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง
ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”

ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย


ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา
เช่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น
– กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่
– การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน

งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน
ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ

งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ
สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท
สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท

เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

การสัมมนา PULINET วิชาการ 1/2553 เรื่อง Creative Library

ช่วงนี้กระแสการตื่นตัวเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้ผ่านเข้ามาถึงวงการห้องสมุดแล้วนะครับ
ดังนั้นการสัมมนาของ Pulinet ในปีนี้ จึงต้องพูดเรื่องนี้กันหน่อย “Creative Library” หรือ “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”
ชื่องานสัมมนาภาษาอังกฤษ : “Creative Library”
ภายใต้งาน : โครงการสัมมนา Pulinet วิชาการ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24-25 มิถุนายน 2553 เวลา 08.30-21.00 น.
สถานที่อบรม : โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ

งานสัมมนาในครั้งนี้เป็นงานที่น่าสนใจอีกงานหนึ่งของวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งรูปแบบของงานสัมมนาในครั้งนี้
คือ เปิดโอกาสให้บรรณารักษ์ที่สังกัด Pulinet นำเสนอผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด นั่นเอง

แนวทางในการนำเสนอก็ง่ายๆ มีสองแบบให้เลือกคือ
1. ปากเปล่า 30 นาที (ขึ้นมาพูดบนเวที)
2. จัดทำเป็นโปสเตอร์แล้วนำมาติดในส่วนนิทรรศการรอบๆ งาน

โดยหัวข้อนั้นจะต้องอยู่ในขอบข่ายของเนื้อหาดังนี้
– งานบริการสารสนเทศ
– งานข้อมูลท้องถิ่น
– งานบริการวารสาร
– งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานมาตรฐานห้องสมุด
– งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุด

ซึ่งหากผลงานเข้าตากรรมการ ก็จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน pulinet ชิ้นละไม่เกิน 3,000 บาท

เอาเป็นว่าน่าสนใจใช่มั้ยละครับ เพื่อนๆ ลองดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอผลงานไปก่อนก็ได้ครับ
แบบฟอร์มขอเสนอผลงาน http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation1form.pdf

ารสัมมนาในครั้งนี้ผมว่าเพื่อนๆ คงจะได้เห็นไอเดียมากมายเลยหล่ะครับ
ค่าลงทะเบียนของงาน (สมาชิก pulinet = 500 บาท ถ้าไม่ใช่สมาชิก = 1,000 บาท)

เอาเป็นว่าถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/PULINET1stcirculation.pdf

สำหรับใบสมัครลงทะเบียนดาวน์โหลดได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/register-PULINET.pdf

เอกสารข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานดูได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation2form.pdf

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอแนะนำแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ

เว็บไซต์ของงานนี้ : http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/

ห้องสมุดจุฬาฯ ทำให้ผมอยากเป็นนิสิตของจุฬาฯ เลย…

ช่วงนี้วันๆ ผมก็นั่ง catalog ทั้งวันแหละครับ อาจจะดูเหมือนยุ่งๆ นะครับ
และในขณะที่ catalog อยู่ ผมก็บังเอิญได้เข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดจุฬาฯ มา
ทำให้เจอกิจกรรมนึงของห้องสมุดที่น่าอิจฉาเหล่านิสิตมากๆ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ากิจกรรมอะไร

ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day
ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day

กิจกรรมนี้ใช้ชื่อว่า “Chulalinet Day” ซึ่งจะจัดงานในวันที่ 23 มิถุนายน 2553
เวลาตั้งแต่ 10.30 – 16.00 น. ณ จามจุรีสแควร์ นั่นเอง

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น
– ยอดนักยืม
– พบนักเขียนซีไรต์และนักเขียนในดวงใจ
– สนทนาประสาคนชอบอ่านหนังสือ (ในห้องสมุด)

Hilight ของงานนี้ผมว่าอยู่ที่ของรางวัลในงานนี้แน่ๆ เลย
นั่นก็คือ “การลุ้นรางวัลตั๋วเครื่องบินและแพ๊คเกจทัวร์ กรุงเทพ – กระบี่”

แบบว่าอยากไปร่วมด้วยนะ แต่คงหมดสิทธิ์ในการลุ้นรางวัลแน่ๆ เลย

แต่สำหรับน้องๆ นิสิตที่ได้รับรางวัลแล้วไม่อยากได้
น้องจะเอามาแบ่งพี่ก็ได้นะ พี่ยอมไปเที่ยวแทน อิอิ

นอกจากนี้ยังมีรางวัลและกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกนะครับ
ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและติดตามได้ที่ ห้องสมุดทุกแห่งในจุฬาฯ เลย
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม – 19 มิถุนายน 2553 นะครับ

เอาเป็นว่าก็ขอแอบอิจฉาเล็กๆ แล้วกันนะครับ
น้องๆ คนไหนที่ไปร่วมงานนี้แล้วอยากเล่าเรื่องราวก็ส่ง Mail มาเล่าให้พี่ฟังได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/news/223/

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ ผมขอบอกต่อครับ
ปล. ห้องสมุดไหนแจกรางวัลแพ๊คเกจไปเที่ยวอีกบอกผมได้นะ จะได้ไปขอร่วมลุ้นรางวัลบ้าง อิอิ

การฝึกอบรมเรื่อง “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์งานฝึกอบรมนึงที่น่าสนใจมากๆ สำหรับนักสารสนเทศในยุคนี้
โดยงานนี้ใช้ชื่อว่า “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com/tag/global-creative-economy-convergence-summit/
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่อการฝึกอบรมภาษาไทย : “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
ชื่อการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ : The Roles of Information Professional in the Creative Economy
วันและเวลาที่อบรม : วันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 08.30-16.00 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บางเขน)
จัดโดย : ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” บ่อยๆ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย และกำลังจะมีบทบาทมากมายต่อวงการธุรกิจ

ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://www.creativethailand.org/th/

ในแนวทางดังกล่าวก็ทำให้วงการของห้องสมุดและสารสนเทศมีบทบาทขึ้นเป็นอย่างมาก
ดังนั้นการอบรมในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้าร่วมกันมากๆ ก็จะดี

วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมในครั้งนี้ผมว่าน่าสนใจมาก
– เสริมสร้างความรู้ของนักวิชาชีพสารสนเทศเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และบทบาทในการให้บริการสารสนเทศ
– กำหนดบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ในหมู่นักวิชาชีพสารสนเทศ

ซึ่งวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน และ ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพานิช

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าการอบรมในครั้งนี้ไม่ได้ฟรี
ซึ่งค่าลงทะเบียนในการอบรมราคา 1200 บาทนะครับ
รับจำนวนจำกัด เพียงแค่ 50 คนเท่านั้น (ดังนั้นต้องรีบตัดสินใจกันหน่อยนะครับ)

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/KLCseminar_creative-econ.pdf
หรือลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ติดต่อคุณเพ็ญศรี โทร.025791121-30 ต่อ 1229

สำหรับผมติดภาระกิจพอดีเลยในช่วงเวลาดังกล่าว
ดังนั้นใครที่ไปอบรมก็อย่าลืมมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ

บรรณารักษ์ต้องไม่พลาดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553

Hilight ของเดือนมีนาคมใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์รู้หรือปล่าวว่าคืออะไร
ถูกกกกกก..ต้องงงงงงคร้าบบบบบ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาตินั่นเอง
วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนเพื่อนๆ นิดนึงนะครับ…

thailandbookexpo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ 2553
ชื่องานภาษาไทย : งานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 8 และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Bangkok International Book Fair 2010 and National Book Fair 2010
วันที่ในการจัดงาน : 27 มีนาคม – 6 เมษายน 2553 เวลา 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

เตรียมพร้อมกันหรือยังครับเหล่าบรรณารักษ์ เหลือเวลาไม่ถึงอาทิตย์เท่านั้นเองนะครับ
งานสัปดาห์หนังสือครั้งใหญ่แบบนี้ผมเองก็อยากให้บรรณารักษ์มาเข้าร่วมกันมากๆ นะครับ

ทำไมบรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องมางานนี้
– มาคัดเลือกหนังสือและพูดคุยกับตัวแทนจำหน่ายหนังสือถึงหนังสือที่น่าสนใจ
– มาจัดซื้อจัดหาหนังสือและสื่อสารสนเทศราคาถูกเข้าห้องสมุด
– มาดูกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด
– เข้าร่วมฟังสัมมนาและเข้าร่วมอบรมในหัวข้อที่น่าสนใจ

กิจกรรมและนิทรรศการที่น่าสนใจในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เช่น
– นิทรรศการจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
– ห้องสมุด กทม. ……เปิดห้องเรียนรู้สู่โลกกว้าง
– กิจกรรมและนิทรรศการที่สร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว
– นิทรรศการห้องสมุดหนังสือใหม่
– นิทรรศการหนังสือภาพถ่าย
– นิทรรศการหนังสือดีเด่นประจำปี 2553
– กิจกรรม All for Book : Book for All
– บูธรับบริจาคหนังสือจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

จริงๆ แล้วกิจกรรมยังมีอีกเยอะเลยนะครับ แต่ผมขอนำมาเล่าเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ครับ
แต่หากเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดกิจกรรมทั้งหมดก็ให้เข้าไปดูที่หน้าของกิจกรรมและนิทรรศการนะครับ
http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/index.php?option=com_content&view=article&id=14&Itemid=21

นอกจากนี้ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ก็มีการเปิดตัวหนังสือที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น
– “ทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย” โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
– หนังสือดีที่ต้องมีทุกบ้าน “คู่ฟ้า สองพระบารมี”
– “คุณธรรมนำความรู้” โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
– วรรณกรรมสุดยอดแห่งทศวรรษ “The Left Hand of God” ที่เยาวชนไทยต้องอ่าน
– “คนไทยทึ้งแผ่นดินภาค 3” โดย ท่านว.วชิรเมธี

เอาเป็นว่าขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนแล้วกัน แบบว่ามีเปิดตัวหนังสือเยอะมากอ่ะ
และที่สำคัญหนังสือที่เปิดตัวล้วนแล้วแต่น่าสนใจมากๆ ทั้งสิ้น

สรุปส่งท้ายเลยดีกว่า คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ
เพราะเพื่อนๆ คงรู้ว่ามันน่าสนใจมากแค่ไหน เอาเป็นว่าเจอกันในงานนะครับ

Reading make a full man = การอ่านทำให้เป็นคนโดยสมบูรณ์
กล่าวโดย Francis Bacon

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานสัปดาห์หนังสือ 2553 = http://thailandbookfair.pubat.or.th/bangkokibf/

อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

วันนี้ผมมีงานอบรมดีๆ มาฝากเพื่อนๆ ครับ แต่ต้องรีบสมัครกันหน่อย
เพราะว่ารับแค่ 20 คนเท่านั้น และงานจะจัดในวันที่ 24 มกราคม นี้แล้ว
เป็นงานที่เกี่ยวกับการแนะนำเรื่องการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว

frontpage_activities105

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้
ชื่องาน : อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
วันและเวลาที่จัดงาน : วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2553 เวลา 13.00-16.00 น. (ลงทะเบียนเที่ยงเป็นต้นไป)
สถานที่ : ศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้ประกอบการ SMEs ธนาคารกสิกรไทย จามจุรีสแควร์ ชั้น 2

คำถามเหล่านี้จะได้รับคำตอบ…
เคยไหม? ที่ซื้อหนังสือมาเยอะมากแต่ยังไม่มีเวลาอ่านเก็บไว้จนลืมไปแล้วว่าไปอยู่ที่ไหน
เคยไหม? ที่อยากรู้ว่ามีใครที่อ่านหนังสือ แบบที่เรากำลังอ่านอยู่บ้าง
เคยไหม? ที่คิดว่าการใช้คอมพิวเตอร์กับการอ่านหนังสือเป็นคนละเรื่องเดียวกัน
แล้วอยากรู้ไหมว่า ใครบางคนที่อ่านหนังสือ ที่เปลี่ยนชีวิต? นั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่การอ่าน

โครงการนี้เป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่าง
– โครงการนักอ่านจิตอาสา
– บริษัทเพื่อสังคม Opendream
– เครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ libraryhub

ภาพรวมของการอบรมในครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมอบรมได้รู้จักการจัดการห้องสมุดเสมือนส่วนตัว Online
พร้อมกับเรียนรู้โปรแกรมช่วยจัดการเก็บหนังสือและค้นหาง่ายๆ กับโปรแกรม Alexandia
เพื่อช่วยจัดระบบข้อมูลหนังสือที่เรามีอยู่ในห้องหรือบ้านของเราให้เป็นระบบมากขึ้น
ทั้งนี้ยังช่วยให้เราได้เจอเพื่อนๆที่อ่านเรื่องเดียวกันอยู่ ตลอดจนคนที่อ่านหนังสือแบบเดียวกันมาแบ่งปันกัน

กำหนดการสำหรับการอบรม
12.00 – 13.00? ลงทะเบียน
13.00 ? 13.45? ห้องสมุดเสมือนออนไลน์คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร?
13.45 ? 15.00? จะจัดการห้องสมุดส่วนตัวออนไลน์ได้อย่างไร ด้วยโปรแกรม Alexandia
15.00 ? 16.00? แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

เอาเป็นว่า น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

ผมเองก็ได้บรรยายในช่วงสุดท้ายพอดี “แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้”
หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากแค่แนะนำการใช้งาน Librarything และ Shelfari ครับ

ถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ขอเชิญลงทะเบียนได้ที่
http://spreadsheets.google.com/viewform?hl=en&formkey=dEdIbDFHeXpvZXVXVmRYbkUyRkRERFE6MA

รีบๆ หน่อยนะครับ ที่นั่งมีจำกัดจริงๆ

สัมมนาเรื่อง “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้”

วันนี้ผมมีงานสัมมนาที่น่าสนใจสำหรับงานห้องสมุดมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ เข้าร่วม
งานนี้เป็นงานสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ นั่นเอง

digital-media

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนานี้
ชื่องานสัมมนา : มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 มกราคม 2553 เวลา 8.30-17.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ 1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

งานสัมมนาครั้งนี้จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจในเรื่องของการเผยแพร่เนื้อหาสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
ซึ่งจะเน้นในเรื่องของรูปแบบและมาตรฐานในการเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ เพื่อทำให้เกิดคุณภาพต่อการให้บริการ
ในอนาคตผมว่าสื่อประเภทดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อวงการห้องสมุดอีกมากมาย
ดังนั้นเพื่อนๆ ควรจะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงด้วย

หัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
– การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล โดย ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์
– การพัฒนาคลังความรู้ด้วย Open Source Software โดย นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
– ข้อกำหนดการพัฒนาสื่อดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดย นายบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
– โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย และการหารือเพื่อจัดทำโครงการ โดย แผนงาน ICT สสส.

งานสัมมนาครั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายนะครับ ดังนั้นเพื่อนๆ รีบๆ ลงทะเบียนกันด้วยนะครับ
ลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/register.asp
และเพื่อนๆ สามารถตรวจดูชื่อของคนลงทะเบียนได้ที่ http://library.tu.ac.th/registeronline3/master.asp

งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและน่าเข้าร่วมมากๆ ครับ
เพื่อที่จะทำให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ประยุกต์ต่องานห้องสมุดของเพื่อนๆ ได้

เอาเป็นว่าสำหรับเพื่อนๆ ที่ไป ก็สามารถเข้ามาทักทายผมได้นะครับ เพราะว่าผมก็เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน
แต่สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้ เอาไว้กลับมาผมจะเขียนเล่าเรื่องในบล็อกนี้ให้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://library.tu.ac.th/digitalconference/

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/