มีอะไรในห้องสมุดมารวย

ไม่ได้ไปเที่ยวห้องสมุดมานาน วันนี้ผมจึงขอหยิบแผ่นพับห้องสมุดแห่งหนึ่งมาอ่าน
แล้วก็ขอเขียนเล่าเรื่องห้องสมุดแห่งนี้ขึ้นมา ห้องสมุดแห่งนี้คือ “ห้องสมุดมารวย” นั่นเอง

maruey-library

“ห้องสมุดมารวย” แต่เดิมมีชื่อว่า “ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518
โดยเน้นหนังสือและสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงิน การออม การลงทุน ตลาดหุ้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องสมุดมารวยในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

สำหรับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดจาก ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น ห้องสมุดมารวย
มีแนวคิดในการปรับปรุงห้องสมุดทั้งกายภาพและบริการให้เข้าสู่ความเป็น ห้องสมุดเพื่อคนรุ่นใหม่สไตร์ Modern Library นี้
เกิดขึ้นจากแนวคิดของ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 9

ภายในห้องสมุดมารวยมีการตกแต่งบรรยากาศในลักษณะที่เป็นห้องสมุดแห่งความทันสมัย และดูน่าใช้บริการ
ซึ่งภายในห้องสมุดมารวยนี้ มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
– คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล
– อินเทอร์เน็ตไร้สาย (wifi)
– มุมนันทนาการ
– เสวนาวิชาการ
– มุมดูหนังฟังเพลง
– มุมเกมลับสมอง
– ร้านกาแฟ
– ร้านหนังสือ settrade.com
– และอื่นๆ

และที่สำคัญที่ผมชอบ คือ เรื่องเวลาเปิดและปิดบริการครับ
เนื่องจากที่นี่ไม่มีวันหยุดเลย แม้แต่วันเดียว และเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 – 23.00 น.
และในวันศุกร์ เสาร์จะเปิดในเวลา 8.30 – 24.00 น.
เป็นยังไงกันบ้างครับ มีที่ไหนที่ทำได้อย่างนี้มั้ยครับ

เอาเป็นว่า แนะนำให้ลองเข้าไปชมดู แล้วจะรู้ว่าห้องสมุดดีๆ ยังมีอีกเยอะในเมืองไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปที่เว็บ www.maruey.com

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ

วันนี้ขอพาเที่ยวต่างประเทศอีกสักรอบนะครับ สถานที่ที่ผมจะพาไปเที่ยวนั่นก็คือ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ทำไมผมถึงพาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์รู้มั้ยครับ เพราะว่าพิพิธภัณฑ์ก็คือพี่น้องของห้องสมุดนั่นเอง

nawcc

พิพิธภัณฑ์จะเน้นในการเก็บรักษาสิ่งของหรือวัสดุที่ไม่ใช่หนังสือ
รวมถึงมีหน้าที่ในการเก็บและสงวนสิ่งของหายากและของล้ำค่า

?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? (The National Watch & Clock Museum)
ตั้งอยู่ที่ 514 Poplar street – Columbia, Pensylvania ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 1977 ซึ่งในปีแรกมีนาฬิกาแสดงจำนวนน้อยกว่า 1,000 ชิ้น
จนในเวลาต่อมาเมื่อนาฬิกาที่แสดงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนถึงจำนวน 12,000 ชิ้น
ทางพิพิธภัณฑ์จึงได้สร้างส่วนขยายของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับกับจำนวนสิ่งของที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งส่วนขยายในส่วนสุดท้ายได้สร้างเสร็จและเปิดให้บริการในเดือนตุลาคมปี 1999 นั่นเอง

Collection ที่จัดเก็บในพิพิธภัณฑ์นี้ มี นาฬิกาทั้งแบบแขวน นาฬิกาข้อมือ
วัสดุที่ใช้ในการสร้างนาฬิกา และสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบอกเวลา
สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ ส่วนที่ใช้แสดงนาฬิกาของอเมริกาในยุคศตวรรษที่ 19
แต่อย่างไรก็ดีนอกจากนาฬิกาในประเทศอเมริกาแล้ว

พิพิธภัณฑ์นี้ยังเก็บนาฬิกาจากทุกมุมโลกอีกด้วย เช่น
– นาฬิกาแบบตู้ทรงสูงจากประเทศอังกฤษ
– นาฬิกาทรงเอเซียจากประเทศจีนและญี่ปุ่น
– อุปกรณ์ที่บอกเวลาต่างๆ จากประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศรัสเซีย

ส่วนที่จัดแสดงจะมีนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆ พัฒนาการต่างๆ ของนาฬิกา เทคโนโลยีในการบอกเวลา

เรามาดูการแบ่งพื้นที่ภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? กันนะครับ

– Admissions & Information desk
ในส่วนนี้เป็นบริเวณทางเข้าและส่วนข้อมูลของพิพิธภัณฑ์

– Theater เป็นห้องภายภาพยนต์ประวัติและความเป็นของนาฬิกา
นอกจากนี้ยังใช้ในการอบรมและแนะนำ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?

– Ancient Timepieces เป็นห้องที่แสดงการบอกเวลาในสมัยโบราณ
รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้บอกเวลาในสมัยโบราณ เช่นนาฬิกาทราย นาฬิกาแดด ฯลฯ

– Special Exhibition เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงปี 1700 – 1815
ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของการประดิษฐ์นาฬิกาในอเมริกา

– Eighteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 18

– Nineteenth Century เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ถูกประดิษฐ์ในช่วงศตวรรษที่ 19

– American Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปอเมริกา

– European Clocks เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปยุโรป

– Asian Horology เป็นส่วนที่แสดงนาฬิกาที่ประดิษฐ์ในทวีปเอเซีย

– Wristwatches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาข้อมือ

– Car Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่อยู่ในรถยนต์

– Novelty Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาที่มีรูปแบบแปลกๆ

– Pocket Watches เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่สามารถพกพาได้

– Early 20TH Century Shop เป็นส่วนของร้านขายนาฬิกาและแสดงนาฬิกาที่ประดับอัญมณี

– Learning Center เป็นส่วนที่แสดงนิทรรศการและให้ความรู้เกี่ยวกับศาตร์แห่งการบอกเวลา
ทั้งวิวัฒนาการของการบอกเวลา นาฬิกาประเภทต่างๆ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการบอกเวลา

– Monumental Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับหอนาฬิกา

– Tower Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบตู้ทรงสูง

– Electronic Clocks เป็นส่วนที่แสดงเกี่ยวกับนาฬิกาแบบดิจิตอล

– Gift Shop ร้านจำหน่ายของที่ระลึกของ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ?
ซึ่งในร้านมีนาฬิกาให้เราเลือกซื้อมากมาย หลายแบบให้เลือก

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? แห่งนี้ เสียดายอย่างเดียวว่ามันอยู่ที่อเมริกา
เพราะว่าถ้ามันอยู่เมืองไทย ผมก็คงต้องอาสาไปเยี่ยมเยียนสักหน่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากลิ้งก์ด้านล่างนี้นะครับ
http://www.nawcc.org/museum/museum.htm

และใครสนใจดูภาพภายใน ?พิพิธภัณฑ์นาฬิกาแห่งชาติ? ก็ดูได้ที่
http://www.nawcc.org/museum/nwcm/MusMap.htm

Inside OCLC Datacenter – WorldCat

วันนี้คอลัมน์พาเที่ยวห้องสมุดของผมขอเปลี่ยนแนวหน่อยนะครับ
หลังจากที่ผมพาเพื่อนๆ เที่ยวในห้องสมุดเมืองไทยมาก็เยอะพอควรแล้ว
วันนี้ผมมีอีก 1 สถานที่ ที่อยากให้เพื่อนๆ เห็นเหมือนกัน นั่นก็คือ OCLC Datacenter

room1s

อ๋อ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ได้ไปเยี่ยมชมข้างในจริงๆ หรอกนะครับ
เพราะว่า OCLC Datacenter ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ
แต่เรื่องที่เขียนในวันนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆ ที่ด้วยกันครับ

ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำ OCLC ให้เพื่อนๆ หลายคนรู้จักก่อนนะครับ

OCLC คือใครและทำอะไร OCLC (Online Computer Library Center)
ทำหน้าที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมและให้บริการรายการบรรณานุกรมแก่ทุกคน
ผลงานที่สำคัญของ OCLC คือ Worldcat ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก

รายละเอียดเกี่ยวกับ OCLC ผมแนะนำว่าให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านจาก? http://www.oclc.org
หรือถ้าอยากอ่านแบบง่ายๆ ก็เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Online_Computer_Library_Center

เริ่มเข้าเรื่องกันดีกว่า เมื่อเรารู้ว่า Worldcat ถือว่าเป็นแหล่งค้นหารายการบรรณานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แสดงว่าสถานที่ในจัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรมจะต้องมีความพิเศษแน่นอนครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องของความใหญ่โตของข้อมูลเท่านั้นแต่มันรวมถึงการจัดการข้อมูลต่างๆ ด้วย

room2s room3s

ข้อมูลของ Worldcat ถูกจัดเก็บในห้อง OCLC computing and monitoring facilities ซึ่งในห้องนี้ประกอบด้วย

– มี disk สำหรับจัดเก็บข้อมูล 180 Terabyte

– มีเทปสำหรับใช้ในการ Back up ข้อมูล 10 Petabyte
(สำหรับคนไม่รู้ว่า 1 petabyte มีค่าเท่าไหร่เข้าไปดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Petabyte)

– เครื่อง Server สำหรับ Worldcat

– ระบบสนับสนุนการทำงาน Worldcat

– ชิปที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเหมือนกับที่ Google ใช้อยู่ปัจจุบัน คือ ชิปที่มีการประมวลผลแบบคู่ขนาน

– Hardware ที่ใช้มาจากบริษัท Dell

– ระบบปฏิบัติการที่ใช้ (OS) ใช้ SUSE Linux

เป็นยังไงกันบ้างครับ วันนี้ผมพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวซะไกลเลยทีเดียว
แต่ไม่ว่าจะไกลแค่ไหนถ้ามันน่าสนใจจริงๆ ผมก็จะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ได้รับรู้อีกนะครับ

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพจาก
http://hangingtogether.org/?p=273
http://www.lisnews.org/node/22173

แนะนำห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี

ช่วงนี้ ชีวิตของผมก็วนเวียนอยู่แถวจังหวัดกรุงเทพ เชียงใหม่ แล้วก็อุบลราชธานี
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียเวลาวันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดอุบลราชธานีบ้าง

ubon-school-library12

ข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียน
ชื่อโรงเรียน : โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
ที่อยู่ : เลขที่ 150 ถนนราชบุตร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ : 045-245449, 045-245301
เว็บไซต์ : http://www.anubanubon.ac.th

ทำไมผมถึงเลือกที่จะแนะนำที่นี่รู้มั้ยครับ…
สาเหตุหลักๆ คือ ห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งมีการปรับปรุงสถานที่ใหม่
ซึ่งต้องขอบอกว่าเป็นที่ฮือฮามากในจังหวัดอุบลราชธานี

การบริการในห้องสมุดแห่งนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ห้องสมุดอ่าน (พื้นที่ให้บริการสำหรับอ่านหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆ)
2. ห้องสมุดส่วนนิทรรศการ (พื้นที่มุมศิลป์ มุมผลงานนักเรียน ฯลฯ)
3. ห้องสมุดส่วนเวที (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน)
4. ห้องสมุดอิเลคโทรนิกส์ (พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสนอ การค้นคว้าด้วยระบบอินเทอร์เน็ต)
5. ห้องสมุดลานอ่านหนังสือ (พื้นที่ลานศาสลาเกียรติยศ)
6. ห้องสมุดของเล่น (พื้นที่เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกัน)

ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคาร 7 นะครับ
ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ครับ

พูดถึงเรื่องงบประมาณของห้องสมุด ผมต้องขอชื่นชมสักนิดนะครับ
เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนจำนวน 2 ล้านบาท

มาถึง hilight ที่ผมจะนำเสนอเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้แล้ว นั่นคือ
การตกแต่งด้านในห้องสมุดของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานีทำให้ผมนึกถึง TKpark และห้องสมุดซอยพระนางเลย

ไม่เชื่อดูรูปรังผึ้งที่ให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปอ่านหนังสือสิครับ มันดูคล้ายๆ TKpark เลย

ubon-school-library02

ส่วนการวางรูปแบบของชั้นหนังสือในห้องสมุดแห่งนี้มีลักษระการวางคล้ายๆ ห้องสมุดซอยพระนางเช่นเดียวกัน

ubon-school-library05

เอาเป็นว่าผมก็ขอชื่มชมบรรณารักษ์ ผู้บริหารโรงเรียน และสมาคมผู้ปกครองของโรงเรียนนี้นะครับ
ที่ช่วยกันร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้นักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป

รวมภาพบรรยากาศ “ห้องสมุดโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี”

[nggallery id=14]

ประมวลภาพห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

เมื่อสักครู่นี้ ผมได้เขียนบล็อกเรื่อง “เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?
ในบล็อกเรื่องนี้ผมขอเน้นข้อมูลอื่นๆ ของห้องสมุดแห่งนี้แล้วกันนะครับ

jfbkk

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
สถานที่ : ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ที่อยู่ : เจแปน ฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร 159 สุขุมวิท 21, กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 0 2260 8560-4 แฟกซ์ : 0 2260 8565
เว็บไซต์ : http://www.jfbkk.or.th/library/library_th.html

ในห้องสมุดแห่งนี้มีบริการคล้ายๆ กับห้องสมุดอื่นๆ นั่นแหละครับ
เพียงแต่เน้นที่เรื่องของ collection ที่ให้บริการในห้องสมุดนั่นแหละครับ

หนังสือที่ให้บริการมีมากมายโดยเน้นไปที่หนังสือภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก
แต่ก็ยังพอมีหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษให้บริการบ้างนะครับ

จุดเด่นของห้องสมุดแห่งนี้
เช่น
– หนังสือ วารสาร นิตยสารภาษาญี่ปุ่นมากมาย ทั้งเรื่องแฟชั่น เทคโนโลยี วารสารวิชาการ
– หนังสือแนวข้อสอบสำหรับผู้ที่ต้องการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
– วีดีโอ และสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นมากมาย
– การ์ตูนต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น
– ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นภาษาญี่ปุ่น
– นิทรรศการวันสำคัญของญี่ปุ่นในโอกาสต่างๆ
– รายการข่าวสาร สารคดี จาก NHK

นี่ก็เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นนะครับ
ถ้าเพื่อนๆ อยากเห็นมากกว่านี้ผมก็แนะนำว่าให้เพื่อนๆ ไปชมกันเองน่าจะดีกว่านะครับ

ปล.ภาพที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ ชมนี้เป็นภาพเมื่อหลายปีก่อนนะครับ
อาจจะไม่เหมือนอย่างในปัจจุบันนะครับ เพราะว่าในปัจจุบันห้องสมุดมีการปรับโฉมใหม่แล้วนะครับ


ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น

[nggallery id=13]

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ @กาดสวนแก้ว

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่มีสาขาอยู่บนห้างสรรพสินค้าด้วยนะ
ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ เป็นห้างที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงใหม่ซะด้วย นั่นคือ “เซ็นทรัล กาดสวนแก้ว”

cm-kadsuankaew01

วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ มาเยี่ยมชมห้องสมุดประชาชนที่อยู่บนห้างกัน
ดูสิว่าจะมีบริการที่สามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการกันได้หรือปล่าว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขากาดสวนแก้ว
ที่อยู่ : ชั้น 2 ห้างสรรพสินค้าเซ้นทรัล กาดสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

ผมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมห้องสมุดแห่งนี้ในเวลากลางวัน
โดยพอถึงบริเวณหน้าห้องสมุดก็จะพบกับป้ายแนะนำห้องสมุดว่า

“กาดสวนแก้ว Living Library ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่”

พื้นที่ด้านหน้าห้องสมุดจะเป็นพื้นที่ขายกาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ
พอเดินเข้าไปนิดนึงก็จะพบกับบริเวณที่ให้บริการของห้องสมุด
ถึงแม้ว่าพื้นที่อาจจะมีขนาดเล็ก แต่ผมเชื่อว่าก็ให้บริการได้ค่อนข้างครอบคลุมบริการต่างๆ ของห้องสมุดเลย

ซึ่งผมขอสรุปบริการต่างๆ ของห้องสมุดแห่งนี้ ว่าประกอบด้วย
– บริการที่นั่งอ่านหนังสือ
– บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
– บริการตอบคำถามและช่วยการสืบค้น


นอกจากนี้ห้องสมุดยังมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ ด้วย
เช่น
– การสอนวาดภาพ และระบายสี
– การเล่านิทาน
– การประกวดคำขวัญ

หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดแห่งนี้ ส่วนหนึ่งจะเน้นไปทางหนังสือเด็ก
และหนังสืออีกส่วนหนึ่งจะถูกหมุนเวียนจากห้องสมุดประชาชนหลัก

ซึ่งที่นี่มีหนังสือที่น่าสนใจ และหนังสือใหม่เวียนกันมาให้อ่านกันเต็มที่

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ไม่ได้ให้บริการยืมคืน
ทางบรรณารักษ์จะแนะนำว่าถ้าต้องการหนังสือเล่มไหน
ให้ผู้ใช้ติดต่อกับห้องสมุดประชาชนสาขาหลักเพื่อการยืมคืนจะดีกว่านะครับ

(ห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักก็อยู่บริเวณที่ไม่ไกลจากที่นี่สักเท่าไหร่หรอกครับ
สามารถที่จะเดินข้ามถนน และเข้ามาใช้บริการห้องสมุดประชาชนที่เป็นสาขาหลักได้)

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นไอเดียนึงที่ห้องสมุดประชาชนหลายๆ ที่ น่าจะเลียนแบบดู
เผื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้ประทับใจต่อการบริการของห้องสมุดมากยิ่งขึ้นนะครับ

รวมภาพบรรยากาศ “กาดสวนแก้ว Living Library”

[nggallery id=12]

แวะมาดูศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ ใน ม.พายัพ

วันก่อนได้เล่าเรื่อง “ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ” ไปแล้ว
วันนี้ผมขอนำเสนอผลของการไปเยี่ยม ม.พายัพ อีกสักหน่อยแล้วกัน
ซึ่งหน่วยงานที่ผมได้ไปชมก็คือ “ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดห้องสมุดนั่นเอง

ntic-payap Read more

พาเที่ยวพี่น้องของห้องสมุด : มิวเซียมสยาม

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ห้องสมุดแต่อย่างน้อยที่ๆ ผมจะพาไปเที่ยววันนี้ก็เป็นพี่น้องของห้องสมุดอยู่ดี
สถานที่แห่งนั้น นั่นก็คือ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า มิวเซียมสยาม

siam-museum

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมิวเซียมสยาม
ที่ตั้ง เลขที่ 4 ถนนสนามไชย พระนคร กรุงเทพฯ 10200
ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ : 02 225 2777
เว็บไซต์ : http://www.ndmi.or.th
เปิดทำการ : วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น.

เริ่มจากการเดินทางมาที่มิวเซียมสยาม
ผมเลือกใช้การเดินทางด้วยเรือเจ้าพระยา โดยขึ้นจากท่าสะพานตากสินแล้วมาขึ้นที่ท่าราชินี
เดินออกจากท่าราชินีตรงออกมาจะพบกับสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังเดิน
เดินผ่านสถานีตำรวจมานิดเดียวก็ถึงมิวเซียมสยามแล้ว (สะดวกดีจัง)

ภายในอาคารนิทรรศการถาวรมี 3 ชั้น และแบ่งออกเป็นส่วนๆ
แนะนำว่าให้เดินชมตามลำดับที่ทางมิวเซียมสยามจัดไว้
เพราะว่าจะเข้าใจเรื่องราวได้เป็นลำดับๆ ต่อไป

เรื่องราวในมิวเซียมสยามแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้ (ให้เดินชมตามลำดับดังนี้)
1. เบิกโรง – ชั้น 1 (ส่วนนี้จะฉายหนังสั้นประมาณ 7 นาที เพื่อแนะนำตัวละครต่างๆ ในมิวเซียมสยาม)
2. ไทยแท้ – ชั้น 1 (รู้ได้ยังไงว่าคนไหนไทยแท้)
3. เปิดตำนานสุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ตำนานของสุวรรณภูมิ อาณาจักรมีมาเมื่อประมาณ 3000 ปีก่อน)
4. สุวรรณภูมิ – ชั้น 3 (ความเป็นอยู่ของผู้คนในสุวรรณภูมิ)
5. พุทธิปัญญา – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา)
6. กำเนิดสยามประเทศ – ชั้น 3 (เล่าเรื่องอาณาจักรต่างๆ รวมถึงตำนานท้าวอู่ทอง)
7. สยามประเทศ – ชั้น 3 (ความรุ่งเรือง และความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงศรีอยุธยา)
8. สยามยุทธ์ – ชั้น 3 (นำเสนอเรื่องราวการรบ ทหาร และการทำสงคราม)
9. แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ – ชั้น 2 (การทำแผนที่ทางภูมิศาตร์ต่างๆ)
10. กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา – ชั้น 2 (เป็นการเปรียบเทียบสถานที่่ต่างๆ ที่มีเหมือนกันในกรุงศรีอยุธยา และกรุงเทพ)
11. ชีวิตนอกกรุงเทพฯ – ชั้น 2 (วิถีชีวิตของเกษตรกร การละเล่นแบบไทยๆ)
12. แปลงโฉมสยามประเทศ – ชั้น 2 (การเข้ามาของประเทศทางตะวันตก นำวิถีชีวิตเข้ามาที่สยามประเทศ)
13. กำเนิดประเทศไทย – ชั้น 2 (ห้องที่เราสามารถเป็นนักข่าวยุคอดีตได้ น่าสนใจมาๆ เลย)
14. สีสันตะวันตก – ชั้น 2 (อยากรู้ว่าสถานบันเทิงที่ชาวตะวันตกเอาเข้ามาแบบไหน ลองดูห้องนี้สุดยอดอีกห้อง)
15. เมืองไทยวันนี้ – ชั้น 2 (เป็นห้องที่รวมภาพต่างๆ ของไทยมากมายผ่านจอทีวีมากมาย)
16. มองไปข้างหน้า – ชั้น 2 (เป็นห้องที่ย้ำว่าอนาคตของไทยจะเป็นยังไงก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะทำอะไร)

นี่คือส่วนของอาคานิทรรศการถาวรทั้งหมด เห็นหัวข้อแล้วเป็นยังไงกันบ้างครับ
น่าสนใจใช่มั้ยหล่ะครับ ผมบอกได้คำเดียวว่า ?ที่นี่ลบภาพพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ ที่ผมรู้จักเลยก็ว่าได้?
เห็นแล้วก็อยากประกาศให้ทุกคนมาดูมากๆ เลย แล้วคุณจะรู้จักเมืองไทยของพวกคุณมากขึ้น

วันนี้ผมก็ขอพาชมแค่นี้ก่อนนะครับ ไว้วันหลังผมจะพาไปเจอะลึกพิพิธภัณฑ์ที่อื่นๆ อีก

ปล. จริงๆ แล้วนอกจากอาคารนิทรรศการถาวรแล้วยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
เช่น นิทรรศการชั่วคราว ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ร้านอาหาร ลานกิจกรรม ฯลฯ
แต่เนื่องจากเวลาของผมมีจำกัด จึงขอยกยอดอาไว้ไปใหม่คราวหน้าแล้วกันนะครับ

ชมภาพมิวเซียมสยามทั้งหมด

[nggallery id=9]

ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ

วันนี้ผมพาเพื่อนๆ กลับมาเที่ยวที่เชียงใหม่กันอีกรอบนะครับ
แต่ก่อนที่ผมจะพาไปเที่ยวห้องสมุด ผมขอแนะนำหอจดหมายเหตุก่อนนะครับ
หอจดหมายเหตุที่ผมจะพาไปเที่ยว คือ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ นะครับ

archives-payap

ข้อมูลทั่วไปของหอจดหมายเหตุแห่งนี้
สถานที่ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3
เว็บไซต์ : http://archives.payap.ac.th

การดูงานของผมเริ่มจากการฟังคำอธิบายประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
ซึ่งทำให้รู้ว่าเดิมทีแล้ว หอจดหมายเหตุแห่งนี้เน้นการจัดเก็บเอกสารของสภาคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์
รวมถึงมีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยด้วย

เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า จดหมายเหตุคืออะไร
ผมจึงขอนำความหมายและคำอธิบายของ จดหมายเหตุ มาลงให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

?เอกสารจดหมายเหตุ? หมายถึง เอกสารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนใด ๆ ซึ่งถูกประเมินแล้วว่ามีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้อย่างถาวร เพื่อการอ้างอิงและวิจัย และถูกเก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานจดหมายเหตุ

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับคำว่า ?เอกสารจดหมายเหตุ? แล้ว
ผมก้อยากให้เพื่อนๆ ลองอ่านปณิธานของหอจดหมายเหตุแห่งนี้ดูนะครับ

“มุ่งสู่ความเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนโดยเน้น ข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัยพายัพ และคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดรวมทั้ง ความเป็นผู้นำในงานจดหมายเหตุเอกชนของประเทศ”

เห็นหรือยังครับว่า เขาเป็นที่หนึ่งในเรื่องของเอกสารจดหมายเหตุด้านศาสนาคริสต์ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด

ารจัดการส่วนงานต่างๆ ในหอจดหมายเหตุ แบ่งการดูแลเป็น 5 ส่วนงาน คือ
– งานบริหารสำนักงาน
– งานจัดเก็บเอกสาร
– งานให้บริการ
– งานอนุรักษ์ และบำรุงรักษา
– งานพิพิธภัณฑ์

archives01 archives11 archives12

นอกจากนี้ผมยังได้ถามขึ้นขั้นตอนในการให้บริการกับผู้ใช้บริการอีกด้วย โดยขั้นตอนมีดังนี้
1. ผู้ใช้มาขอใช้บริการ
2. เจ้าหน้าที่จะมาให้คำแนะนำในการใช้ศูนย์
3. เลือกหัวข้อได้จากเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น บัตรรายการ, แฟ้มหัวเรื่อง
4. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการในหัวเรื่องที่สนใจ
5. บรรณารักษ์ขึ้นไปหยิบแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุ
6. ก่อนจะหยิบลงมาให้ผู้ใช้บรรณารักษ์ต้องตรวจสอบจำนวนหน้า และความสมบูรณ์ของเอกสาร
7. นำลงมาให้ผู้ใช้บริการ
8. ผู้ใช้บริการใช้เสร็จก็แจ้งเจ้าหน้าที่
9. บรรณารักษืตรวจสอบจำนวนหน้า และตรวจสอบสภาพ
10. นำขึ้นไปเก็บเข้าที่เดิม

นี่ก็เป็นขั้นตอนแบบคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ

ส่วนต่อมาคือการนำชมห้องที่เก็บเอกสารจดหมายเหตุ โดยภายในแบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ คือ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภาคริสตจักร
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภามหาวิทยาลัยพายัพ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุทั่วไป

archives05 archives04 archives06

หลังจากนั้นก็ได้ไปชมวิธีการอนุรักษ์และการบำรุงรักษาเอกสารจดหมายเหตุ

archives14 archives15 archives16

เสียดายที่เวลาเรามีจำกัดเลยได้ดูเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การเดินทางมาดูงานในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์แก่ผมอย่างมาก
เนื่องจากตอนเรียนเรื่องจดหมายเหตุผมก็รู้ในเรื่องที่เป็นทฤษฎีเท่านั้น
แต่พอมาดูที่นี่มันต่างจากที่เรียนไปบ้าง เพราะทฤษฎีเป็นข้อมูลที่ใช้เพียงแค่การทำงานเบื้องต้น
แต่เวลาทำงานจริงๆ มันมีองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างที่ไม่อยู่ในทฤษฎีนั่นเอง

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ว่างหรือต้องการศึกษาข้อมูลด้านจดหมายเหตุ
ผมก็ขอแนะนำที่นี่นะครับ ลองทำเรื่องมาดูงานกัน
แล้วจะรู้ว่าเรื่องของการดูแลรักษาจดหมายเหตุไม่ได้ง่ายเหมือนที่ทุกคนคิด

ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของหอจดหมายเหตุ

[nggallery id=8]

พาชมห้องสมุดสวนหนังสือเจริญกรุง

ห้องสมุดแห่งหนึ่งที่ผมอยากแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จัก คือ “สวนหนังสือเจริญกรุง”
จุดประสงค์การก่อตั้ง และการบริการในห้องสมุดแห่งนี้ ดึงดูดให้ผมต้องไปเยี่ยมชม

bookgarden1

ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุดแห่งนี้
สถานที่ : สวนหนังสือเจริญกรุง
ที่อยู่ : 2074/17-18 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กทม 10120
เบอร์โทรศัพท์ : 0-2688-2883
เว็บไซต์ : http://www.thaibookgarden.org

สวนหนังสือเจริญกรุง เป็นห้องสมุดที่ให้บริการแก่คนในชุมชน
ก่อตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่านพุทธทาส
ด้วยความคิดริเริ่มของ คุณพิชัย ตั้งสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พริสแอนด์พีช จำกัด
ซึ่งได้ระดมบุคคล และองค์กรที่เห็นความสำคัญของห้องสมุด มาร่วมกันก่อตั้งห้องสมุดเพื่อชุมชน

รายชื่อคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุด สวนหนังสือเจริญกรุง ประจำปี 2551
1.? พระมหาหนึ่งฤทัย นิพพโย? วัดราชสิงขร
2.? คุณพิชัย ตั้งสิน?????????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
3.? คุณปริศนา ตั้งสิน??????????? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
4.? คุณลัดดา วิวัฒน์สุระเวช??? สถาบันสันติประชาธรรม
5.? คุณยาซิน มันตะพงศ์??????? สนง.คุมประพฤติฯ พระนครใต้
6.? จ.ส.ต.นวพล งามคงคา???? สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร
7.? คุณอุดมลักษณ์ จันทร์มา?? ชุมชนสวนหลวง
8.? คุณกิตติ ลิมปกาญจน์เวช? ชุมชนศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง
9.? คุณอรสา มัศยมาส????????? ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เขตบางคอแหลม
10. คุณอนุสรณ์ องอาจ??????? โรงเรียนศาสนศึกษาบางอุทิศ
11. คุณไพศาล สมานพงษ์???? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด
12. คุณกุลวรางขค์ ฤทธิเดช? บริษิท พริสแอนด์พีช จำกัด

ความร่วมมือของบุคคลต่างๆ เช่น
อาคารสถานที่ ได้รับการสนับสนุนจาก คุณพิชัย ตั้งสิน
ค่าใช้จ่ายบุคคลากรในการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พริส แอนด์ พีช จำกัด
ค่าหนังสือ และวัสดุอุปกรณ์ ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้อุปถัมภ์ระดับต่างๆ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็ได้รับการบริจาค จากบุคคลต่างๆ ในชุมชน

ความร่วมมือกันก่อนตั้งห้องสมุดของคนในชุมชน นำมาซึ่งการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชนด้วย

ห้องสมุดแห่งนี้มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเสวนาซึ่งมีจัดทุกเดือน เช่น
– การดำเนินชีวิต…เข็มทิศสุขภาพ
– หนังสือเดซี อ่านด้วยตาให้ด้วยใจ
– เรื่องของเด็ก…ไม่เล็กอย่างที่คิด
– อ่านเอาเรื่อง…เขียนเอาความ เคล็ดไม่ลับในการอ่านหนังสือ
– ย้อนอดีตภาพยนต์ไทย..กับหอภาพยนต์แห่งชาติ

งานกิจกรรมที่ผมยกมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

ห้องสมุดแห่งนี้การบริการต่างๆ ก็มีเหมือนกับห้องสมุดทั่วๆ ไปนะครับ
อาจจะขาดเรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปบ้าง แต่หนังสือที่นี่มีให้เลือกอ่านพอสมควรเลย

bookgarden3 bookgarden4

การสมัครสมาชิกของที่นี่ ผมชอบมากเลยครับ เพราะว่าไม่ต้องเสียเงินสมัครสมาชิกหรอกนะครับ
เพียงแค่เพื่อนๆ มาใช้บริการที่นี่แล้วเซ็นต์ชื่อไว้
เมื่อครบ 6 ครั้งเพื่อนๆ ก็จะสามารถทำบัตรและยืมหนังสือได้ตามปกติ

บรรยากาศภายในห้องสมุดก็ตกแต่งด้วยสีสันที่สะดุดตา น่าใช้บริการ
ในอาคารแบ่งออกเป็นสองชั้น เลือกนั่งได้ตามสบายเลยครับ

bookgarden7 bookgarden6

ห้องสมุดที่ผมนำมาแนะนำวันนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอย่างหนึ่งให้สังคมได้คิด
แม้ว่าบริษัทเอกชนทุกที่จะต้องการผลกำไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่ละเลยคือการให้สิ่งดีๆ กับสังคม

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ดีกว่า ถ้าอยากรู้ว่าห้องสมุดนี้เป็นยังไง
ผมว่าเพื่อนๆ ลองมาสักครั้งนะครับ แล้วจะเข้าใจมากกว่านี้

สำหรับใครที่อยากมาที่นี่ก็ไม่ยากครับ ทำได้ดังนี้
รถไฟฟ้า : ลงที่สถานีสะพานตากสิน แล้วต่อด้วยรถประจำทาง
รถประจำทาง : สายรถประจำทางที่ผ่านคือ 1, 15, 75, 163, 544, ปอ.22, ปอ.504, ปอ.547
เรือด่วนเจ้าพระยา : ขึ้นเรือที่ท่าวัดราชสิงขร, ท่าเรือวัดจรรยาวาส

ภาพด้านบนเป็นภาพจากในเว็บไซต์ของสวนหนังสือเจริญกรุงนะครับ ด้านล่างนี้เป็นรูปที่ผมถ่าย

รวมภาพบรรยากาศในสวนหนังสือเจริญกรุง

[nggallery id=7]