การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)

วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้
บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละ
นั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง

อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ

ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น
– man is power
– money is power
– technology is power
– data is power
– information is power
– knowledge is power

และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน
แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing)

การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น
– การแบ่งปันข้อมูล (Share data)
– การแบ่งปันข่าวสาร (Share news)
– การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information)
– การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge)
– การแบ่งปันความคิด (Share idea)

เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป
จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย
ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน หรือหน่วยงานทั่วไป
บุคคลที่เชียวชาญในการทำงานต่างๆ ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ เมื่อบุคคลผู้นั้นลาออก
ก็จะไม่มีใครที่เข้ามาทำงานแทนคนผู้นั้นได้ (ทำงานได้ แต่ความเชียวชาญและเทคนิคอาจจะต่างกัน)

ดังนั้นการแบ่งปัน หรือการถ่ายทอดความรู้ ผมจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ

ยกตัวอย่างอีกกรณีก็แล้วกัน

หากเมืองๆ หนึ่งประกอบด้วยคนที่มีอำนาจต่างๆ ทั้งการเงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ แต่คนเหล่านั้นเก็บสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้กับตัวเอง ไม่มีการแบ่งปันให้ผู้อื่นเมืองๆ นั้นก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน คือ พอคนเหล่านี้เสียชีวิตไปความรู้ หรือทรัพย์สินต่างๆ ก็สูญหายไป

และเทียบกับ

อีกเมืองหนึ่งซึ่งสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ต่างๆ ถูกถ่ายทอดกันในสังคม ใครมีเทคนิคในการทำงานใหม่ๆ ก็ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ลองใช้ด้วย ผมเชื่อว่าเมืองๆ นี้ถึงแม้ว่าคนเก่าแก่จะตายไป แต่เมืองนี้ยังคงมีความเจริญต่อไปอย่างแน่นอน เพราะทุกคนต่างแบ่งปันความรู้ ความคิดและเทคนิคในสิ่งต่างๆ

ย้อนกลับมาถามอีกข้อ เพื่อนๆ คิดว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างเมืองที่ 1 กับเมืองที่ 2 เมืองไหนจะชนะ

หนทางในการแบ่งปันความรู้มีหลายวิธี เช่น

1. การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

2. การนำหลักการของ การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในองค์กร หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Knowledge management

3. การถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวด้วยเว็บไซต์ หรือบล็อก จริงๆ ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมทำอยู่นะ อิอิ

4. หัดรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการคิดให้กับทุกๆ คน

5. ในแง่การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ครู อาจารย์ควรรับฟังแง่คิดของเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาบ้าง บ่อยให้เด็กๆ คิดอะไรก็ได้ ไม่ใช่ว่าจำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในตำราเรียน

เอาเป็นว่าอ่านแล้วก็เอามาคิดกันนะครับ และขอย้ำขั้นสุดท้ายว่าหากเราไม่รู้จักแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น เราก็จะไม่ได้ความรู้หรือความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ เช่นกัน ในฐานะบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ผมขอสนับสนุนการแบ่งปัน idea

ปล. การแบ่งปันความรู้ กับ การ copy เรื่องของคนอื่นไปโพสไม่เหมือนกันนะ? บางครั้งเอาไอเดียกันไปแล้วรู้จักการอ้างอิงมันจะดีมากๆ และถือว่าเป็นการให้กำลังใจผู้คิดไอเดียด้วยครับ

จะเกิดอะไรขึ้น…สงครามห้องสมุด (Library War)

“สงครามห้องสมุด” ชื่อเรื่องอาจจะดูรุนแรงเกินไปหน่อยนะ แต่ไม่ใช่สงครามจริงๆ หรอกครับ
มันเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีชื่อเรื่องว่า Toshokan sensou หรือที่แปลว่า “สงครามห้องสมุด” นั่นเอง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : สงครามห้องสมุด
ชื่อเรื่องภาษาญี่ปุ่น : Toshoukan Sensou
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Library war
ชื่อผู้แต่ง : Hiro Arikawa (คนคิดเรื่อง)
ชื่อคนวาดการ์ตูน : Sukumo Adabana, Kiiro Yumi, Yayoi Furudori
ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ : การ์ตูน, นิตยสาร LaLa, นิตยสาร Dengeki Daioh
การ์ตูนแนว : Action, Comedy, Social sci-fi

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านในเว็บที่ผมทำ link ไว้ด้านล่างดูนะครับ
เพราะว่าจะได้ข้อมูลและรายละเอียดแบบครบสมบูรณ์เลย

อ่านเรื่องราวของสงครามห้องสมุดในวิกีพีเดีย(อย่างละเอียด)
ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Toshokan_Sens%C5%8D

เว็บไซต์ทางการของการ์ตูนเรื่องนี้ http://www.toshokan-sensou.com
ดูตัวอย่างการ์ตูนที่ http://www.toshokan-sensou.com/gallery_pv1.html

บทความรีวิวการ์ตูนเรื่องนี้ http://bekung.exteen.com/20080605/toshokan-sensou

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เห็นหรือยังครับอย่างน้อย
มุมมองของห้องสมุดในรูปแบบบันเทิงก็มี (การ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุด)
แม้ว่าจะดูดุเดือดไปหน่อยแต่ก็มองในรูปแบบบันเทิงก็ดีครับ

โฆษณาอินเทลยังใช้ Lucy Liu กับ ห้องสมุดเลย

วันนี้ผมเจอโฆษณาตัวนึงน่าสนใจดีเลยเอามาฝาก เป็นใบโฆษณาของบริษัท intel
ซึ่งในใบโฆษณานี้ใช้นางแบบชื่อดังและห้องสมุด (เป็นไงครับเกี่ยวกับห้องสมุดแล้ว) อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/megancohen/61472927/

นักแสดงคนนี้ที่ผมชอบมากครับ เธอคือ 1 ในนางฟ้าชาร์ลี ไงครับ เธอคือ? Lucy Liu
วันนี้มาในรูปลักษณ์ของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ
ฉากในรูปดูคุ้นตา ประกอบกับกลิ่นไอของหนังสือ บ่งบอกสถานที่ชัดเจนว่า ฉากนี้คือ ห้องสมุด

นักแสดงคนนี้ ผมตามดูหนังที่เธอแสดงหลายๆ เรื่อง เช่น Shanghai Noon, Charlie?s Angels, Kill Bill และผลงานอีกหลายๆ เรื่องที่ผมยังไม่ได้ดู

เอาเป็นว่าผมประทับใจกับภาพโฆษณานี้
และ
ถ้าห้องสมุดหลายๆ ที่ดึงดารามาเป็นนางแบบ คงจะดีไม่น้อยเลย เพื่อนๆ คิดอย่างผมหรือปล่าว

สำหรับใครที่อยากรู้ประวัติและผลงานของเธอเพิ่มเติม ดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Lucy_Liu

คำคมจาก 3 ผู้นำด้านระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า
คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ
ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds

หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว
เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS)

Bill Gates ? Microsoft
Steve Jobs ? Apple
Linus Torvalds ? Linux

เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft

– 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง)

– 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ)

– 2004 : Spam will be a thing of the past in two years? time. (สแปมมากๆ ก็ไม่ดีนะ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Steve Jobs ? Apple

– 1991 : What a computer is to me is the most remarkable tool that we have ever come up with. It?s the equivalent of a bicycle for our minds. (เทคโนโลยี คือ อนาคต)

– 1997 : The products suck! There?s no sex in them anymore! (เหอๆๆๆๆ)

– 2006 : Our friends up north spend over five billion dollars on research and development and all they seem to do is copy Google and Apple. (จริงดิ โฮ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Linus Torvalds ? Linux

– 1991 : I?m doing a (free) operating system (just a hobby, won?t be big and professional like gnu) for 386(486) AT clones. (นี่แหละอำนาจแห่งการแบ่งปัน)

– 1998 : My name is Linus Torvalds and I am your god. (มีงี้ด้วย)

– 2007 : I have an ego the size of a small planet. (ครับต้องทำภายใต้โลกใบนี้ด้วย)

??????????????????????-

เป็นไงบ้างครับ ขั้นเทพจริงๆ เลยปล่าว แต่ที่ผมนำมาให้อ่านแค่ตัวอย่างเท่านั้นเองนะครับ
ถ้าใครอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็เข้าไปดูได้ที่ http://royal.pingdom.com/?p=325

Sources:
Images from Wikimedia Commons: Bill Gates, Steve Jobs, Linus Torvalds.
Quotes found on Wikiquote.org.

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ไอเดียในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด

เรื่องเก่าเล่าใหม่ที่จะเขียนถึงในวันนี้ คือ เรื่องการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด
สืบเนื่องจากมีเพื่อนๆ ส่งเมล์มาขอกันมากมาย ผมจึงขอหยิบเรื่องนี้มาตอบ
พร้อมกับเปิดรับไอเดียเก๋ๆ ในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุดของเพื่อนๆ กัน

board-library

ก่อนที่เราจะจัดป้ายนิเทศเราจะต้องพิจารณาในหัวข้อต่างๆ
เช่น วัตถุประสงค์ของการจัด, กลุ่มเป้าหมายที่เข้าชม, สถานที่ที่ใช้แสดงป้ายนิเทศ

ขั้นตอนในการจัดป้ายนิเทศ
1. เลือกเรื่องที่จะจัดแสดงให้ได้ โดยทั่วไปแล้วควรในป้ายนิเทศ 1 ป้ายควรมีเรื่องเดียว
2. หาข้อมูลของเรื่องๆ นั้น พร้อมรูปภาพ และอุปกรณ์ตกแต่ง
3. ลองนำมาร่างดูในกระดาษก่อนจะจัดจริง เพื่อช่วยให้วางรูปแบบได้ง่ายขึ้น
4. ลงมือจัดกันได้เลย

ภาพรูปแบบการวางป้ายนิเทศด้วยครับ น่าสนใจดี เช่น

poster1

สำหรับเรื่องเทคนิคการจัด หรือความรู้สำหรับการจัดลองดูที่เว็บไซต์ต่อไปนี้นะครับ

http://banktechno7.blogspot.com/2008/01/blog-post_29.html

http://hnung6.blogspot.com/ *** แนะนำครับ เพราะว่าทำให้เห็นภาพดี ***

หลังจากเขียนเรื่องนี้เสร็จ ก็ได้มีเพื่อนๆ เสนอไอเดียเข้ามามากมาย เช่น
– คุณ pp กล่าวว่า “ป้ายจะสวยหรือใช้คำสละสลวยหรือเปล่าไม่สำคัญ ที่สำคัญคือเขาได้อ่านและได้สาระกลับไป”
– คุณ nana ให้ตัวอย่างภาพการจัดป้ายนิทรรศการแบบเก๋ๆ ให้เราได้ชม สามารถดูได้จาก http://gotoknow.org/file/nareejuti/view/139530 , http://gotoknow.org/file/nareejuti/IMG0188A.jpg

เป็นยังไงบ้างครับ ข้อมูลเพียงพอสำหรับการจัดป้ายนิเทศแล้วหรือยัง
ยังไงพอจัดเสร็จส่งรูปมาให้ดูบ้างนะครับ บรรณารักษ์ สู้ๆ ครับ

ภาพช็อตเด็ด ?คนดังแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์?

เรื่องเก่าเล่าใหม่ เอามาให้ดูแบบขำขำ นะครับ

วันนี้ผมของเอาภาพผู้นำแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์มาฝากเพื่อนๆ นะครับ

photo-ceo-it-website

เป็นภาพปัจจุบัน และ ภาพช็อตเด็ด ที่เพื่อนๆ อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่จะเด็ดสักแค่ไหนไปดูกันเลย ดีกว่า

หมายเหตุ รูปด้านซ้าย คือ รูปในปัจจุบัน ส่วนรูปทางขวาดูเอาเอง

????????????????????????

1. Linus Torvalds, Linux

linus-torvalds

ขอแซว Linus Torvalds, Linux ? เวลาท่านใส่เสื้อเชิ้ตนี่ไม่เหมาะเลย ใส่เสื้อโปโลแหละครับดีแล้ว

????????????????????????

2. Bill Gates, Microsoft

bill-gates

ขอแซว Bill Gates, Microsoft ? แหมรูปตอนสมัยวัยรุ่นนี้จ๊าบไปเลยท่าน

????????????????????????

3. Steve Jobs, Apple

steve-jobs

ขอแซว Steve Jobs, Apple ? ท่านเป็นสุดยอดแห่งความฮิปปี้มากๆ หน้าของท่านเปลี่ยนตลอดเลยนะครับ แต่ผมว่าทรงผมปัจจุบันเท่ห์สุดๆ

????????????????????????

4. Jeff Bezos, Amazon

jeff-bezos

ขอแซว Jeff Bezos ? ผมว่าเวลาท่านขรึมนี่ดูดีนะครับ แต่เวลาท่านอยู่ข้างผู้หญิงท่านน่าจะเก็บอารมณ์หน่อยนะครับ อิอิ

????????????????????????

5. Sergey Brin, Google

sergey-brin

ขอแซว Sergey Brin ? ใครบังอาจตัดต่อ หน้าของท่านนี่ รับไม่ได้ ว๊ากกกกกก

????????????????????????

6. Jakob Nielsen, Useit.com

jakob-nielsen

ขอแซว Jakob Nielsen ? โหท่านสมัยหนุ่มๆ แว่นหนาขนาดนั้นเลยหรือ สุดยอดมาเป็นบรรณารักษ์ดีกว่ามา?.

????????????????????????

7. Kevin Rose, Digg

kevin-rose

ขอแซว Kevin Rose ? ท่านเป็นผู้ชายจริงๆ ช่ายมั้ยครับ ทำไมคนแซวเค้าบอกว่ารูปนี้อยู่ในอ้อมแขนแห่งรักแท้?. เอ๊ะ หมายความว่าไงเนี้ย

????????????????????????

8. Steve Ballmer, Microsoft

steve-ballmer

คนนี้ผมไม่แซวอะไนมากดีกว่า เอาเป็นว่าขอมอบคลิปวีดีโอนี้ให้ดูแทน

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tGvHNNOLnCk[/youtube]

????????????????????????

เป็นไงบ้างครับแบบว่าหลายๆ คนเปลี่ยนลุคกันไปเลยก็ว่าได้
จริงๆ ผมอยากเห็น CEO ด้านไอทีของเมืองไทยบ้างนะครับ อิอิ

ที่มา จากเรื่อง IT bigshots as you?re not used to seeing them จากเว็บ Pingdom

My Slide : การแบ่งปันความรู้ คือ พลังอันยิ่งใหญ่

วันนี้ผมขอนำสไลด์ชุดนี้ มาโพสเก็บไว้ในบล็อกใหม่ของผมหน่อยนะครับ
ซึ่งสไลด์ชุดนี้ผมเคยนำไปใช้บรรยายในงาน ?3S กับการจัดการความรู้ของ วศ.? มาแล้ว
โดยเนื้อหาในสไลด์ชุดนี้ผมได้กล่าวถึงความสำคัญของการแบ่งปันความรู้สู่สังคมในรูปแบบต่างๆ

my-slide-library

ลองดูสไลด์ที่ชมใช้บรรยายได้เลยครับ

เนื้อหาในสไลด์ผมได้แบ่งเป็นส่วนๆ ดังนี้

1. การแบ่งปันความรู้เบื้องต้น

1.1 การแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในอดีต
1.2 การแบ่งปันความรู้เบื้องต้นในปัจจุบัน และอนาคต
1.3 รูปแบบของการแบ่งปันความรู้

2. การแบ่งปันความรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทย

2.1 การแบ่งปันความรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยโดย projectlib
2.2 ข้อมูลทั่วไป และสถิติของบล็อก Projectlib
2.3 จุดประสงค์ของการสร้าง Projectlib

3. เครื่องมือในการแบ่งปันความรู้แบบฟรีๆ

– Blog
– Forum
– IM
– E-Mail
– Social Network
– Social Bookmark
– Micro blogging

4. ข้อเสนอแนะเรื่องการแบ่งปันความรู้

เป็นไงบ้างครับ พออ่านแล้วรู้เรื่องบ้างปล่าว
งั้นผมขอแนะนำบล็อกของ วิทยากรท่านนึงที่ท่านได้ lecture การบรรยายของผมทั้งหมด
ขนาดผมเป็นคนพูดเองยังสรุปไม่ดีเท่ากับท่านเลย ลองอ่านดูนะครับที่
http://gotoknow.org/blog/kmanamai-nonta/193381

ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

ปลุกใจบรรณารักษ์ให้ฮึกเฮิมในการทำงาน

รูปที่ท่านกำลังจะได้ชมต่อจากนี้ เป็นภาพของหุ่นบรรณารักษ์ที่ยืนเรียงกันเป็นแถว
โดยหุ่นบรรณารักษ์เหล่านี้ผมขอเปรียบเทียบให้เหมือนการตั้งแถวของทหารก็แล้วกัน

librarian-army

ซึ่งจากภาพเราคงจะเห็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเหล่ากองทัพบรรณารักษ์แล้วนะครับ
“เอาพวกเราเข้าแถว เตรียมตัวออกไปให้บริการกัน พร้อมแล้วใช่มั้ย เอ๊าบุกกกกก!!!!!!…..”

ยิ่งดูก็ยิ่งหึกเหิมในการให้บริการใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้ายังไม่หึกเหิมแนะนำว่าให้ลองไปสูดกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดได้ที่ชั้นหนังสือเดี๋ยวนี้

สังเกตุดูนะครับว่าบรรณารักษ์อย่างพวกเราไม่ใช้ความรุนแรงเหมือนใคร
อาวุธที่พวกเรามี คือ หนังสือ (อาวุธทางปัญญา)

ใครก็ตามที่เข้ามาที่ห้องสมุดพวกเราสัญญาครับว่าจะให้อาวุธทางปัญญากับคนๆ นั้น อิอิ สู้ๆ ครับ

อ้างอิงรูปจาก http://www.flickr.com/photos/laurak/104736630/

ขอแทรกเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนจบนะครับ

คำว่า “bibliotecaria” ที่อยู่ที่ฐานของหุ่นบรรณารักษ์ แปลว่าอะไร

คำว่า? “bibliotecaria” เป็นคำ Noun เอกพจน์เพศหญิง “bibliotecaria” ถ้าพหูพจน์ ใช้ “bibliotecarias”
“bibliotecaria” หมายถึง A female professional librarian. ถ้าเป็นเพศชายจะใช้ “bibliotecario”
ข้อมูลจาก http://en.wiktionary.org/wiki/bibliotecaria